คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2504

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899-1901/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ชงดื่ม: การพิจารณาว่าใบชาและชาผงเข้าข่ายได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่
ตามประมวลรัษฎากรผู้ประกอบการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้า เว้นแต่จะมีการลดอัตราหรือยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรหรือกฎหมายอื่น พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 43) พ.ศ.2516 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีการค้าสำหรับสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ของบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ฯลฯ เฉพาะที่มิได้ระบุในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เพราะที่ผลิตในราชอาณาจักร" และตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวระบุ "ผลิตภัณฑ์ชงดื่ม" ไว้ในบัญชีที่ 1 หมวด 1 อาหาร เครื่องดื่ม (3) ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เก็บใบชามาจากต้นแล้วนำไปผึ่งลม คั่ว นวดและอบตามลำดับ แล้วนำไปคัดเลือกแยกออกเป็นใบชาชนิดอ่อน ใบชาชนิดแก่และก้านชา สำหรับใบชาชนิดแก่และก้านชานี้โจทก์นำไปคั่วและบดให้เป็นผงเรียกว่าชาผง ใบชาชนิดอ่อนและชาผงโจทก์จำหน่ายให้แก่องค์การคลังสินค้า ซึ่งผู้ที่ซื้อต่อไปใช้ชงดื่มได้ทันทีแต่ไม่เป็นที่นิยมกันเพราะรสชาติไม่เป็นที่นิยมและความสะอาดไม่ดีนัก ใบชาและชาผงดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชงดื่มตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้วเพราะอยู่ในสภาพที่ใช้ชง และนำน้ำที่ชงนั้นมาดื่มหรือบริโภคได้ โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับใบชาและชาผงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี, การอุทธรณ์การประเมิน, และข้อยกเว้นภาษีการค้าสำหรับชิ้นส่วนรถยนต์
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้มีการอุทธรณ์การประเมินในบางกรณีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนแล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลได้นั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20,30(2) มิได้บัญญัติเลยว่าการอุทธรณ์ การประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีความเห็นเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานประเมินเพียงแต่ละภาษีการค้าลงบ้างเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ถูกต้องอย่างไร ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลได้ แม้จะอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ก็ตามถือว่าในการยื่นฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีการค้า (นำเข้า) สำหรับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามานั้น โจทก์ได้ดำเนินการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ารถยนต์เท่านั้น หาได้เป็นผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์ไม่ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ขายชิ้นส่วนของรถยนต์ หากแต่เป็นเพียงผู้นำชิ้นส่วนของรถยนต์เข้ามาประกอบหรือผลิตเป็นรถยนต์แล้วจำหน่ายรถยนต์ที่ประกอบหรือผลิตนั้นเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์
ที่จะถือว่าเป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ(1)ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนี้นั้น จะต้องเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (ที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร) หรือเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิดอื่น โดยมิใช่นำมาขายหรือโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขาย (อ้างฎีกาที่ 1606/2512)เมื่อโจทก์สั่งชิ้นส่วนของรถยนต์ เข้ามาเพื่อผลิตรถยนต์ขาย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขายสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 ทวิ(1)
ตามมาตรา 79 ทวิ(3) ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนั้น จะถือเป็นการขายสินค้า ก็ต่อเมื่ออัตราภาษีการค้าไปใช้หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือโอนการครอบครองซึ่งสินค้าดังกล่าวโดยมิใช่เพื่อขาย แต่เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์เสียแล้ว กรณีจึงไม่เข้าอยู่ในบังคับของมาตรา 79 ทวิ(3) อันจะถือเป็นการขายสินค้า
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504 มาตรา 3(4)บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะ ในกรณีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ได้รับยกเว้นภาษีศุลกากรเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหากผู้ใดจะต้องเสียภาษีการค้าในการนำของเจ้ามาในราชอาณาจักร แต่ถ้าของนั้นเป็นของที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร ผู้นั้นก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับของนั้น เมื่อของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ มิใช่รถยนต์หากโจทก์จะได้รับการยกเว้นภาษีการค้าโจทก์ก็คงได้รับการยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะแต่ชิ้นส่วนของรถยนต์เท่านั้นซึ่งโจทก์ไม่ต้องเสียอยู่แล้ว โจทก์หาได้รับการยกเว้นภาษีการค้าจากรายรับในการขายรถยนต์ของโจทก์ไม่ เพราะรถยนต์มิใช่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร(ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี การประเมิน การอุทธรณ์ และข้อยกเว้นภาษี กรณีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้มีการอุทธรณ์การประเมินในบางกรณีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนแล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลได้นั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20,30 (2) มิได้บัญญัติเลยว่าการอุทธรณ์ การประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีความเห็นเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานประเมิน เพียงแต่ลดภาษีการค้าลงบ้านเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ถูกต้องอย่างไร ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้นต่อศาลได้ แม้จะอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ก็ตาม ถือว่าการยื่นฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีการค้า(นำเข้า) สำหรับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามานั้น โจทก์ได้ดำเนินการตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงผู้ประกอบการค้ารถยนต์เท่านั้น หาได้เป็นผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์ไม่ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ขายชิ้นส่วนรถยนต์ หากแก่เป็นเพียงผู้นำชิ้นส่วนของรถยนต์เข้ามาประกอบหรือผลิตเป็นรถยนต์แล้วจำหน่ายรถยนต์ที่ประกอบหรือผลิตนั้นเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์
ที่จะถือว่าเป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ(1) ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนี้นั้น จะต้องเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (ที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควรหรือเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิดอื่น โดยมิใช่นำมาขายหรือโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขาย(อ้างฎีกาที่ 1606/2512) เมื่อโจทก์สั่งชิ้นส่วนของรถยนต์เข้ามาเพื่อผลิตรถยนต์ขาย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขายสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 ทวิ(1)
ตามมาตรา 79 ทวิ(3) ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนี้ จะถือเป็นการขายสินค้าก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการค้านำสินค้าของตนตามประเภทการค้าทุกชนิด และประเภทการค้า 2 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าไปใช้หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือโอนการครอบครองซึ่งสินค้าดังกล่าวโดยมิใช่เพื่อขาย แต่เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์เสียแล้ว กรณีจึงไม่เข้าอยู่ในบังคับของมาตรา 79 ทวิ(3) อันจะถือเป็นการขายสินค้า
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504 มาตรา 3(4) บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะในกรณีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหากผู้ใดจะต้องเสียภาษีการค้าในการนำของเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ถ้าของนั้นเป็นของที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร ผู้นั้นก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับของนั้น เมื่อของโจทก์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ มิใช่รถยนต์ หากโจทก์จะได้รับการยกเว้นภาษีการค้า โจทก์ก็คงได้รับการยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะแต่ชิ้นส่วนของรถยนต์เท่านั้น ซึ่งโจทก์ก็ไม่ต้องเสียอยู่แล้ว โจทก์หาได้รับการยกเว้นภาษีการค้าจากรายรับในการขายรถยนต์ของโจทก์ไม่ เพราะรถยนต์มิใช่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เชวิงบอร์ดเป็นไม้อัดประเภทหนึ่ง ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราเดียวกับไม้อัดตามกฎหมาย
เชวิงบอร์ด (SHAVINGBOARD) มีกรรมวิธีในการผลิตโดยนำเอาเศษไม้ชิ้นเล็กๆ หรือที่เรียกว่าขี้กบ มาผสมกับกาวและขี้ผึ้ง แล้วเข้าเครื่องอัดร้อนทำให้เป็นแผ่นมีความกว้างยาวตามมาตรฐานด้านละ 4 ฟุต ความหนา 6 มิลลิเมตรขึ้นไป ชื่อภาษาไทยเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่าแผ่นขี้กบอัด ในทางวิชาการถือว่าเป็นแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดหนึ่ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาโดยสภาพของสินค้าสำเร็จรูปหรือโดยหลักวิชาการ แผ่นเชวิงบอร์ดย่อมจัดเข้าเป็นสินค้าไม้อัดชนิดหนึ่ง ดุจเดียวกับไม้อัดชนิดพลายวูด (PLYWOOD) ซึ่งใช้ไม้เป็นวัตถุดิบด้วยการผลิตจากการฝานท่อนซุงเป็นแผ่นบางๆ แล้วเข้าเครื่องจักรอัดด้วยกาวเป็นแผ่นเช่นเดียวกัน การตั้งชื่อสินค้าให้แตกต่างกันออกไปย่อมเป็นเรื่องของวิธีการผลิตเท่านั้น แม้เดิมตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2504 บัญชีที่ 1สินค้าอันดับ 37 จะระบุว่า "ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือแอสเบสต๊อสเชวิงบอร์ด" ซึ่งต้องพิกัดอัตราภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตที่มิได้เป็นผู้ส่งออกไว้อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ และต่อมาตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 บัญชีที่ 1 หมวด 4 ว่าด้วยวัสดุก่อสร้างและเครื่องเรือน (1. จะระบุไว้เพียงสั้นๆ ว่า"ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือใยหิน" โดยไม่มีชื่อสินค้าเชวิงบอร์ดเหมือนเดิมก็ตาม แต่เมื่อเชวิงบอร์ดมีคุณลักษณะเป็นไม้อัด ก็ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกับไม้อัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เชวิงบอร์ดเป็นไม้อัดเสียภาษีการค้าอัตราเดิม แม้ชื่อสินค้าเปลี่ยนไป
เชวิงบอร์ด (SHAVING BOARD) มีกรรมวิธีในการผลิตโดยนำเอาเศษไม้ชิ้นเล็ก ๆ หรือที่เรียกว่าขี้กบ มาผสมกับกาวและขี้ผึ้งแล้วเข้าเครื่องอัดร้อนทำให้เป็นแผ่นมีความกว้างยาวตามมาตรฐานด้านละ 4 ฟุต ความหนา 6 มิลลิเมตรขึ้นไป ชื่อภาษาไทยเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่าแผ่นขี้กบอัด ในทางวิชาการถือว่าเป็นแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดหนึ่ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาโดยสภาพของสินค้าสำเร็จรูปหรือโดยหลักวิชาการ แผ่นเชวิงบอร์ดย่อมจัดเข้าเป็นสินค้าไม้อัดชนิดหนึ่ง ดุจเดียวกับไม้อัดชนิดพลายวูด (PLYWOOD) ซึ่งใช้ไม้เป็นวัตถุดิบด้วยการผลิตจากการฝานท่อนซุงเป็นแผ่นบางๆแล้วเข้าเครื่องจักรอัดด้วยกาวเป็นแผ่นเช่นเดียวกัน การตั้งชื่อสินค้าให้แตกต่างกันออกไปย่อมเป็นเรื่องของวิธีการผลิตเท่านั้น แม้เดิมตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504 บัญชีที่ 1 สินค้าอันดับ 37 จะระบุว่า "ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือแอสเบสต๊อสเชวิงบอร์ด" ซึ่งต้องพิกัดอัตราภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตที่มิได้เป็นผู้ส่งออกไว้อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ และต่อมาตามพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 บัญชีที่ 1 หมวด 4 ว่าด้วยวัสดุก่อสร้างและเครื่องเรือน (1) จะระบุไว้เพียงสั้น ๆ ว่า "ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือใยหิน" โดยไม่มีชื่อสินค้าเชวิงบอร์ดเหมือนเดิมก็ตาม แต่เมื่อเชวิงบอร์ดมีคุณลักษณะเป็นไม้อัด ก็ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกับไม้อัด