พบผลลัพธ์ทั้งหมด 367 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4840/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำยังไม่ถึงขั้นปล้นทรัพย์ แม้จะสั่งให้หยุดรถและถือวัตถุคล้ายอาวุธ
การที่ชาย 3 คนขับรถจักรยานยนต์ตามรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปในทางเปลี่ยวในเวลากลางคืนและขณะที่รถสวนกันเพราะผู้เสียหายกลับรถแล่นย้อนไปตามทางเดิม ชายคนหนึ่งซึ่งถือวัตถุสีดำตะโกนให้ผู้เสียหายหยุดรถยังไม่อาจทราบความประสงค์อันแท้จริงของชายทั้งสามว่าประสงค์ต่อทรัพย์ หรือไม่และยังไม่เป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ การกระทำของชายทั้งสามยังห่างไกลต่อผลคือการได้ทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้เสียหายไป จึงถือไม่ได้ว่าชายทั้งสามได้ลงมือกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4731/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมางานชำรุด ผู้รับจ้างต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามส่วน เว้นแต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่สามารถคาดเห็นได้
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างแล้ว โจทก์จำเลยจำต้องกลับคืนสู่ฐานะดังเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 ดังนี้ แม้ตามสัญญาจะไม่ปรากฏว่ามีข้อกำหนดให้ใช้เงินตอบแทนในกรณีผิดสัญญาไว้ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยโดยตรงส่วนจำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ใช้เงินตามผลงานที่จำเลยทำให้โจทก์เช่นกัน ก่อนโจทก์ตกลงจ้างจำเลย จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์กำลังก่อสร้างบ้านพักให้คนงานอยู่อาศัยแทนที่พักเดิม ซึ่งพักอยู่บนชั้น 2 ของห้องเครื่อง เมื่อจำเลยรับรองว่าจะปรับปรุงซ่อมแซมอาคารโรงงานโจทก์ไม่ให้ทรุด ลงต่อไป และใช้ชั้น 2 ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องเครื่องโรงงานโจทก์เป็นที่พักคนงานได้ตามเดิม การที่โจทก์ต้องรื้อที่พักคนงานชั้น 2 ดังกล่าว เพื่อมิให้ห้องเครื่องโรงงานโจทก์ทรุด ต่อไปและรื้อบ้านพักคนงานที่กำลังก่อสร้าง ค่าเสียหายทั้งสองประการนี้เป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยย่อมคาดเห็นหรืออยู่ในฐานะควรจะได้คาดเห็นล่วงหน้าไม่ใช่เป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ แต่ค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่ากั้นห้องชั้น 2 ของโรงงานโจทก์นั้น เมื่อศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดสำหรับค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่ารื้อที่พักคนงานชั้น 2 บนห้องเครื่องของโรงงานโจทก์แล้ว ค่าเสียหายในการกั้นห้องจึงเป็นค่าใช้จ่ายในการดัด แปลงชั้น 2 ของโรงงานโจทก์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รู้หรือควรจะได้รู้อยู่แล้วว่า หากซ่อมแซม แก้ไขมิให้อาคารโรงงานโจทก์ทรุด ต่อไปแล้ว จำเลยยังจะต้องกั้นห้องชั้น 2ของโรงงานโจทก์ให้ด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4731/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างซ่อมแซม อาคารทรุด จำเลยผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญา ได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามผลงาน
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างแล้ว โจทก์จำเลยจำต้องกลับคืนสู่ฐานะดังเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ดังนี้ แม้ตามสัญญาจะไม่ปรากฏว่ามีข้อกำหนดให้ใช้เงินตอบแทนในกรณีผิดสัญญาไว้ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยโดยตรง ส่วนจำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ใช้เงินตามผลงานที่จำเลยทำให้โจทก์เช่นกัน
ก่อนโจทก์ตกลงจ้างจำเลย จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์กำลังก่อสร้างบ้านพักให้คนงานอยู่อาศัยแทนที่พักเดิม ซึ่งพักอยู่บนชั้น 2 ของห้องเครื่อง เมื่อจำเลยรับรองว่าจะปรับปรุงซ่อมแซมอาคารโรงงานโจทก์ไม่ให้ทรุดลงต่อไป และใช้ชั้น 2 ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องเครื่องโรงงานโจทก์เป็นที่พักคนงานได้ตามเดิม การที่โจทก์ต้องรื้อที่พักคนงานชั้น 2 ดังกล่าวเพื่อมิให้ห้องเครื่องโรงงานโจทก์ทรุดต่อไปและรื้อบ้านพักคนงานที่กำลังก่อสร้าง ค่าเสียหายทั้งสองประการนี้เป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยย่อมคาดเห็นหรืออยู่ในฐานะควรจะได้คาดเห็นล่วงหน้าไม่ใช่เป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ แต่ค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่ากั้นห้องชั้น 2 ของโรงงานโจทก์นั้น เมื่อศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดสำหรับค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่ารื้อที่พักคนงานชั้น 2 บนห้องเครื่องของโรงงานโจทก์แล้ว ค่าเสียหายในการกั้นห้องจึงเป็นค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงชั้น 2 ของโรงงานโจทก์และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รู้หรือควรจะได้รู้อยู่แล้วว่าหากซ่อมแซมแก้ไขมิให้อาคารโรงงานโจทก์ทรุดต่อไปแล้ว จำเลยยังจะต้องกั้นห้องชั้น 2 ของโรงงานโจทก์ให้ด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนี้
ก่อนโจทก์ตกลงจ้างจำเลย จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์กำลังก่อสร้างบ้านพักให้คนงานอยู่อาศัยแทนที่พักเดิม ซึ่งพักอยู่บนชั้น 2 ของห้องเครื่อง เมื่อจำเลยรับรองว่าจะปรับปรุงซ่อมแซมอาคารโรงงานโจทก์ไม่ให้ทรุดลงต่อไป และใช้ชั้น 2 ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องเครื่องโรงงานโจทก์เป็นที่พักคนงานได้ตามเดิม การที่โจทก์ต้องรื้อที่พักคนงานชั้น 2 ดังกล่าวเพื่อมิให้ห้องเครื่องโรงงานโจทก์ทรุดต่อไปและรื้อบ้านพักคนงานที่กำลังก่อสร้าง ค่าเสียหายทั้งสองประการนี้เป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยย่อมคาดเห็นหรืออยู่ในฐานะควรจะได้คาดเห็นล่วงหน้าไม่ใช่เป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ แต่ค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่ากั้นห้องชั้น 2 ของโรงงานโจทก์นั้น เมื่อศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดสำหรับค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่ารื้อที่พักคนงานชั้น 2 บนห้องเครื่องของโรงงานโจทก์แล้ว ค่าเสียหายในการกั้นห้องจึงเป็นค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงชั้น 2 ของโรงงานโจทก์และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รู้หรือควรจะได้รู้อยู่แล้วว่าหากซ่อมแซมแก้ไขมิให้อาคารโรงงานโจทก์ทรุดต่อไปแล้ว จำเลยยังจะต้องกั้นห้องชั้น 2 ของโรงงานโจทก์ให้ด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4731/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาจ้างซ่อมแซมอาคาร โรงงานทรุด จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายตามส่วน เว้นแต่ค่ากั้นห้องที่ไม่เกี่ยวข้อง
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างแล้ว โจทก์จำเลยจำต้องกลับคืนสู่ฐานะดังเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ดังนี้ แม้ตามสัญญาจะไม่ปรากฏว่ามีข้อกำหนดให้ใช้เงินตอบแทนในกรณีผิดสัญญาไว้ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยโดยตรง ส่วนจำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ใช้เงินตามผลงานที่จำเลยทำให้โจทก์เช่นกัน
ก่อนโจทก์ตกลงจ้างจำเลย จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์กำลังก่อสร้างบ้านพักให้คนงานอยู่อาศัยแทนที่พักเดิม ซึ่งพักอยู่บนชั้น 2 ของห้องเครื่อง เมื่อจำเลยรับรองว่าจะปรับปรุงซ่อมแซมอาคารโรงงานโจทก์ไม่ให้ทรุดลงต่อไป และใช้ชั้น 2ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องเครื่องโรงงานโจทก์เป็นที่พักคนงานได้ตามเดิม การที่โจทก์ต้องรื้อที่พักคนงานชั้น 2 ดังกล่าวเพื่อมิให้ห้องเครื่องโรงงานโจทก์ทรุดต่อไปและรื้อบ้านพักคนงานที่กำลังก่อสร้าง ค่าเสียหายทั้งสองประการนี้เป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยย่อมคาดเห็นหรืออยู่ในฐานะควรจะได้คาดเห็นล่วงหน้าไม่ใช่เป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ แต่ค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่ากั้นห้องชั้น 2 ของโรงงานโจทก์นั้น เมื่อศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดสำหรับค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่ารื้อที่พักคนงานชั้น 2 บนห้องเครื่องของโรงงานโจทก์แล้ว ค่าเสียหายในการกั้นห้องจึงเป็นค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงชั้น 2 ของโรงงานโจทก์และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รู้หรือควรจะได้รู้อยู่แล้วว่าหากซ่อมแซมแก้ไขมิให้อาคารโรงงานโจทก์ทรุดต่อไปแล้ว จำเลยยังจะต้องกั้นห้องชั้น 2 ของโรงงานโจทก์ให้ด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนี้.
ก่อนโจทก์ตกลงจ้างจำเลย จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์กำลังก่อสร้างบ้านพักให้คนงานอยู่อาศัยแทนที่พักเดิม ซึ่งพักอยู่บนชั้น 2 ของห้องเครื่อง เมื่อจำเลยรับรองว่าจะปรับปรุงซ่อมแซมอาคารโรงงานโจทก์ไม่ให้ทรุดลงต่อไป และใช้ชั้น 2ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องเครื่องโรงงานโจทก์เป็นที่พักคนงานได้ตามเดิม การที่โจทก์ต้องรื้อที่พักคนงานชั้น 2 ดังกล่าวเพื่อมิให้ห้องเครื่องโรงงานโจทก์ทรุดต่อไปและรื้อบ้านพักคนงานที่กำลังก่อสร้าง ค่าเสียหายทั้งสองประการนี้เป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยย่อมคาดเห็นหรืออยู่ในฐานะควรจะได้คาดเห็นล่วงหน้าไม่ใช่เป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ แต่ค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่ากั้นห้องชั้น 2 ของโรงงานโจทก์นั้น เมื่อศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดสำหรับค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่ารื้อที่พักคนงานชั้น 2 บนห้องเครื่องของโรงงานโจทก์แล้ว ค่าเสียหายในการกั้นห้องจึงเป็นค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงชั้น 2 ของโรงงานโจทก์และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รู้หรือควรจะได้รู้อยู่แล้วว่าหากซ่อมแซมแก้ไขมิให้อาคารโรงงานโจทก์ทรุดต่อไปแล้ว จำเลยยังจะต้องกั้นห้องชั้น 2 ของโรงงานโจทก์ให้ด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยฐานมีฝิ่นดิบและมูลฝิ่น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 10 บัญญัติให้ฝิ่นหรือมูลฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ดังนั้น การที่จำเลยมีฝิ่นดิบและมูลฝิ่นไว้ในความครอบครองจึงเป็นความผิดต่อบทกฎหมายมาตราเดียวกันตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดเพียงกรรมเดียว
ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีฝิ่นดิบและมีมูลฝิ่นเป็น 2 กรรมเป็นการไม่ชอบ แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีฝิ่นดิบและมีมูลฝิ่นเป็น 2 กรรมเป็นการไม่ชอบ แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานมีฝิ่นและมูลฝิ่นเป็นกรรมเดียวภายใต้กฎหมายยาเสพติด
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2528 มาตรา 10 บัญญัติให้ฝิ่นหรือมูลฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ดังนั้น การที่จำเลยมีฝิ่นดิบและมูลฝิ่นไว้ในความครอบครองจึงเป็นความผิดต่อบทกฎหมายมาตราเดียวกันตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดเพียงกรรมเดียว
ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีฝิ่นดิบและมีมูลฝิ่นเป็น 2กรรมเป็ฯการไม่ชอบ แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้.
ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีฝิ่นดิบและมีมูลฝิ่นเป็น 2กรรมเป็ฯการไม่ชอบ แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์โทษปรับ และการนับโทษต่อเมื่อจำเลยปฏิเสธ
ในข้อหาที่ศาลชั้นต้นลงโทษปรับ 100 บาทนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์และศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่จึงนับโทษต่อให้ไม่ได้
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์และศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่จึงนับโทษต่อให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน การครอบครองร่วมกันเป็นเจ้าของร่วม
การที่ทายาทจะขอรับมรดกของเจ้ามรดกนั้น จะต้องมีคำยินยอมของทายาททุกคนมาแสดง โจทก์กระทำฝ่าฝืนระเบียบแบบแผนของทางราชการจนเป็นเหตุให้มีชื่อ โจทก์ ในโฉนด แต่ผู้เดียว จึงเป็นเรื่องที่โจทก์มีชื่อ ในทะเบียนสิทธิโดยไม่ชอบ ต้องถือว่าที่ดินตามโฉนด ดังกล่าวยังเป็นมรดกของ ล. ผู้ตายอยู่ โดยโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองร่วมกันมา จำเลยจึงมีสิทธิในฐานะเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินด้วย ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกจากที่ดินภายในกำหนดที่ตกลงกันโดยโจทก์จะยินยอมจ่ายเงินค่ารื้อถอนให้ 12,000 บาท ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอของโจทก์ ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมระงับข้อพิพาทใด ๆ ระหว่างโจทก์จำเลย ทั้งยังไม่เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า จำเลยไม่ได้มีเจตนาจะครอบครองที่ดินมรดกอย่างเป็นเจ้าของ ดังนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านและยุ้งข้าวออกไปจากที่พิพาทได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมและการใช้อำนาจย้อนสำนวนของศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) หรือไม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะไม่ใช้อำนาจนั้นก็ได้ ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเองได้ ไม่ต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระสินบนนำจับร้อยละ 30ของราคาสินค้า ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องเฉพาะแต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2ตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบจนเป็นผลให้จำเลยที่ 2 จับกุมสินค้าหรือผู้กระทำผิดได้ จำเลยที่ 2 จะจ่ายสินบนนำจับให้โจทก์ ส่วนเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า หลังจากมีการจับกุมสินค้าหลบหนีภาษีรายนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกไปตรวจและนำสินค้าที่จับได้มอบให้กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ความตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 แต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องสินบนนำจับจากจำเลยที่ 1 ที่ 3 เพราะเหตุใด คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่ได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ก็ไม่ได้มีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นส่วนตัวอยู่แล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ประสงค์จะฎีกาในส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ส่วนที่โจทก์จะขอถือเอาอุทธรณ์ข้อ 3(ข) เป็นส่วนหนึ่งแห่งฎีกาด้วยนั้นโจทก์หาได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ในฎีกาไม่ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249.
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระสินบนนำจับร้อยละ 30ของราคาสินค้า ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องเฉพาะแต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2ตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบจนเป็นผลให้จำเลยที่ 2 จับกุมสินค้าหรือผู้กระทำผิดได้ จำเลยที่ 2 จะจ่ายสินบนนำจับให้โจทก์ ส่วนเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า หลังจากมีการจับกุมสินค้าหลบหนีภาษีรายนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกไปตรวจและนำสินค้าที่จับได้มอบให้กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ความตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 แต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องสินบนนำจับจากจำเลยที่ 1 ที่ 3 เพราะเหตุใด คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่ได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ก็ไม่ได้มีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นส่วนตัวอยู่แล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ประสงค์จะฎีกาในส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ส่วนที่โจทก์จะขอถือเอาอุทธรณ์ข้อ 3(ข) เป็นส่วนหนึ่งแห่งฎีกาด้วยนั้นโจทก์หาได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ในฎีกาไม่ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเองได้ ไม่ต้องย้อนสำนวน
ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น แล้วย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ ดัง ที่บัญญัติไว้ในป.วิ.พ. มาตรา 243(1) หรือไม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์จะไม่ใช้อำนาจนั้นก็ได้ ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเองได้ ไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระสินบนนำจับร้อยละ 30ของราคาสินค้า ปรากฏว่า โจทก์บรรยายฟ้องเฉพาะ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบจนเป็นผลให้จำเลยที่ 2จับกุมสินค้าหรือผู้กระทำผิดได้ จำเลยที่ 2 จะจ่ายสินบนนำจับให้โจทก์ ส่วนเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่าหลังจากมีการจับกุมสินค้าหลบหนีภาษีรายนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกไปตรวจและนำสินค้าที่จับได้มอบให้กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ความตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 แต่อย่างใดโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องสินบนนำจับจากจำเลยที่ 1 ที่ 3 เพราะเหตุใด คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นฟ้องเคลือบคลุม.