พบผลลัพธ์ทั้งหมด 367 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมและอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวน
ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) หรือไม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะไม่ใช้อำนาจนั้นก็ได้ ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเองได้ ไม่ต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระสินบนนำจับร้อยละ 30 ของราคาสินค้า ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องเฉพาะแต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2ตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบจนเป็นผลให้จำเลยที่ 2 จับกุมสินค้าหรือผู้กระทำผิดได้ จำเลยที่ 2 จะจ่ายสินบนนำจับให้โจทก์ ส่วนเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า หลังจากมีการจับกุมสินค้าหลบหนีภาษีรายนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกไปตรวจและนำสินค้าที่จับได้มอบให้กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ความตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 แต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องสินบนนำจับจากจำเลยที่ 1 ที่ 3 เพราะเหตุใด คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่ได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ก็ไม่ได้มีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นส่วนตัวอยู่แล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ประสงค์จะฎีกาในส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ส่วนที่โจทก์จะขอถือเอาอุทธรณ์ข้อ 3 (ข) เป็นส่วนหนึ่งแห่งฎีกาด้วยนั้นโจทก์หาได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ในฎีกาไม่ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระสินบนนำจับร้อยละ 30 ของราคาสินค้า ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องเฉพาะแต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2ตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบจนเป็นผลให้จำเลยที่ 2 จับกุมสินค้าหรือผู้กระทำผิดได้ จำเลยที่ 2 จะจ่ายสินบนนำจับให้โจทก์ ส่วนเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า หลังจากมีการจับกุมสินค้าหลบหนีภาษีรายนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกไปตรวจและนำสินค้าที่จับได้มอบให้กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ความตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 แต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องสินบนนำจับจากจำเลยที่ 1 ที่ 3 เพราะเหตุใด คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่ได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ก็ไม่ได้มีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นส่วนตัวอยู่แล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ประสงค์จะฎีกาในส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ส่วนที่โจทก์จะขอถือเอาอุทธรณ์ข้อ 3 (ข) เป็นส่วนหนึ่งแห่งฎีกาด้วยนั้นโจทก์หาได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ในฎีกาไม่ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4303/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครองโดยเจ้าของร่วมและการไม่ถือว่าถูกแย่งการครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสาม เมื่อมารดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดเป็นของโจทก์จำเลยทั้งสามร่วมกันและได้ร่วมกันครอบครองตลอดมาโดยโจทก์และจำเลยที่ 1ที่ 2 ต่างปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ปลูกบ้าน แต่ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 จนกระทั่งมีสามี จำเลยที่ 3 จึงแยกไปอยู่ที่อื่นกับสามีนาน 7-8 ปี พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งแทนจำเลยที่ 3 ด้วยและถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถูกแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทไปเกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยที่ 3ยังมีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่ 1 ใน 4 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4303/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครองปรปักษ์และการถือสิทธิร่วม
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสาม เมื่อมารดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดเป็นของโจทก์จำเลยทั้งสามร่วมกัน และได้ร่วมกันครอบครองตลอดมาโดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่างปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ปลูกบ้าน แต่ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 จนกระทั่งมีสามี จำเลยที่ 3 จึงแยกไปอยู่ที่อื่นกับสามีนาน 7 - 8 ปี พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งแทนจำเลยที่ 3 ด้วยและถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถูกแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทไปเกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยที่ 3 ยังมีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่ 1 ใน 4 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนและความรับผิดในหนี้จากการกระทำของตัวแทนเชิด แม้ตัวการไม่ได้รับเงิน
การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนำตั๋ว สัญญาใช้เงินของบริษัทจำเลยที่ 1 ระบุชื่อ โจทก์ เป็นผู้รับประโยชน์ ไปให้โจทก์ตรงกับคำพรรณนาของจำเลยที่ 2 ทุกประการพร้อมทั้งให้จำเลยที่ 2 มีนามบัตรซึ่งมีรูปเครื่องหมายและตัวอักษรแสดงว่าเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 เมื่อปรากฎว่าโจทก์มอบเงินจำนวนตามตั๋ว สัญญาใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2ยักยอกเงินดังกล่าวไป จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตจากการกระทำของจำเลยที่ 2 เสมือนว่าจำเลยที่ 2เป็นตัวแทน ข้อความตามตรา ประทับด้าน หลังตั๋ว สัญญาใช้เงินที่มีใจความว่าตั๋ว สัญญาใช้เงินจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเช็คเรียกเก็บเงินได้เรียบร้อยแล้วนั้นเป็นข้อความที่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 983(2) จึงไม่มีผลบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 899 ที่ว่า ข้อความอันใด ซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะตั๋ว เงิน ถ้า เขียนลงในตั๋ว เงิน ข้อความนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋ว เงินนั้นไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนและการรับผิดในตั๋วสัญญาใช้เงิน
การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนำตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทจำเลยที่ 1 ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ไปให้โจทก์ตรงกับคำพรรณนาของจำเลยที่ 2 ทุกประการพร้อมทั้งให้จำเลยที่ 2 มีนามบัตรซึ่งมีรูปเครื่องหมายและตัวอักษร แสดงว่าเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 เมื่อปรากฏว่าโจทก์มอบเงินจำนวนตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2ยักยอกเงินดังกล่าวไป จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต จากการกระทำของจำเลยที่ 2เสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน
ข้อความตามตราประทับด้านหลังตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่มีใจความว่าตั๋วสัญญาใช้เงินจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเช็คเรียกเก็บเงินได้เรียบร้อยแล้วนั้น เป็นข้อความที่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983(2) จึงไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 ที่ว่า ข้อความอันใดซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน ถ้าเขียนลงในตั๋วเงินข้อความนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่.
ข้อความตามตราประทับด้านหลังตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่มีใจความว่าตั๋วสัญญาใช้เงินจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเช็คเรียกเก็บเงินได้เรียบร้อยแล้วนั้น เป็นข้อความที่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983(2) จึงไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 ที่ว่า ข้อความอันใดซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน ถ้าเขียนลงในตั๋วเงินข้อความนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนและการรับผิดในหนี้จากการกระทำของตัวแทนที่ถูกเชิด รวมถึงข้อความที่ขัดต่อกฎหมายในตั๋วสัญญาใช้เงิน
การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนำตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทจำเลยที่ 1 ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ไปให้โจทก์ตรงกับคำพรรณนาของจำเลยที่ 2 ทุกประการพร้อมทั้งให้จำเลยที่ 2 มีนามบัตรซึ่งมีรูปเครื่องหมายและตัวอักษร แสดงว่าเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 เมื่อปรากฏว่าโจทก์มอบเงินจำนวนตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินดังกล่าวไป จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต จากการกระทำของจำเลยที่ 2 เสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน
ข้อความตามตราประทับด้านหลังตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่มีใจความว่าตั๋วสัญญาใช้เงินจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเช็คเรียกเก็บเงินได้เรียบร้อยแล้วนั้น เป็นข้อความที่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983 (2) จึงไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 ที่ว่า ข้อความอันใดซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน ถ้าเขียนลงในตั๋วเงินข้อความนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่
ข้อความตามตราประทับด้านหลังตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่มีใจความว่าตั๋วสัญญาใช้เงินจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเช็คเรียกเก็บเงินได้เรียบร้อยแล้วนั้น เป็นข้อความที่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983 (2) จึงไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 ที่ว่า ข้อความอันใดซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน ถ้าเขียนลงในตั๋วเงินข้อความนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกระทรวงเจ้าสังกัดต่อความเสียหายจากลูกจ้างของหน่วยงานในสังกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
แม้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เป็นส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังนั้นเมื่อลูกจ้างของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกระทรวงเจ้าสังกัดต่อความเสียหายจากลูกจ้างของหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล ตามมาตรา 76
แม้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เป็นส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนั้นเมื่อลูกจ้างของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่เข้าข่ายลักทรัพย์นายจ้าง แม้จะมีการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินภายในร้าน แต่ถือเป็นการเอาทรัพย์ไปจากการครอบครอง
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายเอาบุหรี่ของผู้เสียหายซึ่งเก็บไว้ที่ชั้นเก็บของบนชั้นที่ 2 ของร้าน บรรจุลงไว้ในกล่องกระดาษสำหรับบรรจุข้าวเกรียบกุ้งปิดฝากล่องใช้กระดาษกาวปิดทับแล้วนำไปวางไว้บนชั้นที่ 3 เพื่อเตรียมขนย้ายไปจากร้านผู้เสียหาย เป็นการเอาทรัพย์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายแล้วจำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2530)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์นายจ้าง: การนำทรัพย์สินของผู้เสียหายไปเตรียมขนย้ายถือเป็นการเอาทรัพย์ไปจากครอบครองแล้ว
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย เอาบุหรี่ของผู้เสียหายซึ่งเก็บไว้ที่ชั้นเก็บของบนชั้นที่ 2 ของร้าน บรรจุลงไว้ในกล่องกระดาษสำหรับบรรจุข้าวเกรียบกุ้ง ปิดฝากล่องใช้กระดาษกาวปิดทับ แล้วนำไปวางไว้บนชั้นที่ 3 เพื่อเตรียมขนย้ายไปจากร้านผู้เสียหาย เป็นการเอาทรัพย์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง.