พบผลลัพธ์ทั้งหมด 367 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2852/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย แม้ไม่ใช่เจ้าของก็ผิดได้ หากอยู่ในความยึดถือและรู้ว่าเป็นยาเสพติด
คำว่า "มีไว้ในครอบครอง" พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4มิได้บัญญัติให้มีความหมายพิเศษ จึงต้องถือว่ามีความหมายทั่วไปซึ่งตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 คำว่าครอบครองหมายถึง ยึดถือไว้ มีสิทธิถือเอาเป็นเจ้าของ มีสิทธิปกครองดังนี้ การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ จึงมีความหมายเพียงว่ายาเสพติดให้โทษนั้นอยู่ในความยึดถือหรือปกครองดูแล ของจำเลยโดยจำเลยรู้ว่าเป็นยาเสพติดให้โทษ เมื่อจำเลยรับจ้างปลิดใบกัญชาของกลาง กัญชาของกลางอยู่ในความยึดถือของจำเลยโดยจำเลยรู้ว่าเป็นกัญชา แม้กัญชาของกลางจะไม่ใช่ของจำเลย ก็ถือได้แล้วว่าจำเลยมีกัญชาของกลางไว้ในครอบครอง กัญชาของกลางมีปริมาณหนักเกินกว่า 10 กิโลกรัม ต้องถือว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา 26,76 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2852/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย แม้ไม่เป็นเจ้าของก็มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
การครอบครองโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน เป็นเรื่องการได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษเป็นเรื่องความรับผิดอาญา คำว่า มีไว้ในครอบครอง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติให้มีความหมายพิเศษ จึงต้องถือว่ามีความหมายทั่วไป ซึ่งหมายความว่ายาเสพติดให้โทษนั้นอยู่ในความยึดถือหรือปกครองดูแลของจำเลยโดยจำเลยรู้ว่าเป็นยาเสพติดให้โทษเท่านั้น ส่วนการมีเจตนายึดถือเพื่อตนหรือไม่เพียงใดนั้นไม่ใช่ข้อพิจารณาเด็ดขาดว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
จำเลยรับจ้างปลิดใบกัญชาหนักเกินกว่า 10 กิโลกรัม ที่บ้านของจำเลย แม้กัญชาดังกล่าวจะไม่ใช่ของจำเลย ก็ถือได้แล้วว่าจำเลยมีกัญชาของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้แบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุกัญชาลงในถุงพลาสติกและกระสอบ จำเลยเป็นผู้ผลิตและร่วมกับผู้อื่นผลิตกัญชา แต่ไม่ได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานผลิตกัญชา คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีกัญชาไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่เป็นการวินิจฉัยเกินคำขอ
จำเลยให้การต่อสู้คดีในแนวเดียวกันมาตลอดตั้งแต่ถูกจับกุมจนกระทั่งถึงชั้นพิจารณาคดี คำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยจึงนับว่าเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอยู่บ้างมีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78.
จำเลยรับจ้างปลิดใบกัญชาหนักเกินกว่า 10 กิโลกรัม ที่บ้านของจำเลย แม้กัญชาดังกล่าวจะไม่ใช่ของจำเลย ก็ถือได้แล้วว่าจำเลยมีกัญชาของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้แบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุกัญชาลงในถุงพลาสติกและกระสอบ จำเลยเป็นผู้ผลิตและร่วมกับผู้อื่นผลิตกัญชา แต่ไม่ได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานผลิตกัญชา คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีกัญชาไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่เป็นการวินิจฉัยเกินคำขอ
จำเลยให้การต่อสู้คดีในแนวเดียวกันมาตลอดตั้งแต่ถูกจับกุมจนกระทั่งถึงชั้นพิจารณาคดี คำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยจึงนับว่าเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอยู่บ้างมีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของคนต่างด้าว, อายุความค่าสิทธิประดิษฐ์, การบอกเลิกสัญญา, และการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ช.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลย หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้ประกอบธุรกิจบริการ โดยการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนการค้าไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 4 และตามบัญชี ก.ท้ายประกาศ หมวด 3(5)
ค่าสิทธิประดิษฐ์ในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ฝึกสอนวิธีการประดิษฐ์กระเบื้องซีรามิคตามสัญญา ซึ่งมีการตกลงจ่ายเป็นงวด ๆ โดยคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย นั้น ไม่เข้าลักษณะการเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) (7) จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
หนังสือของจำเลยตอบหนังสือของโจทก์ที่ถามความเห็นเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาว่าจำเลยตกลงใจไม่ต่อสัญญาความช่วยเหลือทางเทคนิคกับโจทก์และโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่า โจทก์ตกลงตามที่จำเลยตัดสินใจ ดังนี้ หนังสือของจำเลยดังกล่าวไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ แต่เป็นหนังสือที่มีลักษณะเป็นการสนองตอบตามที่โจทก์ขอความเห็นหรือหารือล่วงหน้าก่อนครบกำหนดต่ออายุสัญญาว่า จะมีการต่ออายุสัญญาต่อไปหรือไม่โจทก์กลับมีหนังสืออันมีข้อความในลักษณะเป็นการตกลงตามที่จำเลยสนองตอบข้อหารือของโจทก์นั้น จึงเท่ากับตกลงที่จะไม่ต่ออายุสัญญากันด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย จำเลยมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า ข้อขัดแย้งหรือข้อเรียกร้องใดซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้หรือการประพฤติปฏิบัติผิดสัญญานี้ คู่สัญญาจะทำความตกลงกันด้วยสันติวิธี ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้จะต้องชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ ดังนี้ สัญญามิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องตั้งอนุญาโตตุลาการให้ชี้ขาดข้อพิพาทเสียก่อน จึงจะฟ้องได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อน
ค่าสิทธิประดิษฐ์ในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ฝึกสอนวิธีการประดิษฐ์กระเบื้องซีรามิคตามสัญญา ซึ่งมีการตกลงจ่ายเป็นงวด ๆ โดยคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย นั้น ไม่เข้าลักษณะการเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) (7) จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
หนังสือของจำเลยตอบหนังสือของโจทก์ที่ถามความเห็นเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาว่าจำเลยตกลงใจไม่ต่อสัญญาความช่วยเหลือทางเทคนิคกับโจทก์และโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่า โจทก์ตกลงตามที่จำเลยตัดสินใจ ดังนี้ หนังสือของจำเลยดังกล่าวไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ แต่เป็นหนังสือที่มีลักษณะเป็นการสนองตอบตามที่โจทก์ขอความเห็นหรือหารือล่วงหน้าก่อนครบกำหนดต่ออายุสัญญาว่า จะมีการต่ออายุสัญญาต่อไปหรือไม่โจทก์กลับมีหนังสืออันมีข้อความในลักษณะเป็นการตกลงตามที่จำเลยสนองตอบข้อหารือของโจทก์นั้น จึงเท่ากับตกลงที่จะไม่ต่ออายุสัญญากันด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย จำเลยมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า ข้อขัดแย้งหรือข้อเรียกร้องใดซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้หรือการประพฤติปฏิบัติผิดสัญญานี้ คู่สัญญาจะทำความตกลงกันด้วยสันติวิธี ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้จะต้องชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ ดังนี้ สัญญามิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องตั้งอนุญาโตตุลาการให้ชี้ขาดข้อพิพาทเสียก่อน จึงจะฟ้องได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้บางส่วนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น
ที่ดินและตึกแถวของโจทก์จำเลยอยู่ติดกันและเดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกันโจทก์จำเลยต่างเช่าจากเจ้าของเดิม ต่อมาที่ดินและตึกแถวที่โจทก์เช่าตกเป็นของ ม. ส่วนที่ดินและตึกแถวที่จำเลยเช่าตกเป็นของ ช. แล้วต่อมาที่ดินและตึกแถวที่โจทก์เช่าได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์และส่วนที่จำเลยเช่าโอนกรรมสิทธิ์เป็นของจำเลย ระหว่างที่ดินและตึกแถวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. และ ช. นั้น จำเลยได้รื้อตึกแถวเก่าของตนแล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่ภายในเขตแนวเดิม โจทก์รื้อครัวที่อยู่ด้านหลังตึกแถวของโจทก์และติดกับผนังตึกด้านข้างตึกแถวจำเลยแล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่พร้อมกันโดยใช้ผนังด้านหลังของห้องครัวโจทก์กับผนังด้านข้างของตึกแถวจำเลยร่วมกัน และจ้างช่างปลูกสร้างคนเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์หรือ ม. ทักท้วงห้ามปราม แม้ว่าบางส่วนของที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวนั้นจะอยู่ในโฉนดที่โจทก์ซื้อ แต่จำเลยเข้าใจในขณะปลูกสร้างว่าที่ดินตรงที่ปลูกสร้างนั้นเป็นที่ดินที่อยู่ในโฉนดที่จำเลยเช่า จึงเป็นกรณีที่จำเลยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินตามสภาพที่เป็นอยู่ปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินโจทก์ที่จำเลยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิปลูกสร้างได้ เป็นการปลูกโดยสุจริต เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินในส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์สืบสิทธิของ ช. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่จำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโจทก์ส่วนที่ถูกตึกแถวจำเลยปลูกรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จะรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น โดยสุจริตและเปิดเผย
ที่ดินและตึกแถวของโจทก์จำเลยอยู่ติดกันและเดิม เป็นของเจ้าของคนเดียวกัน โจทก์จำเลยต่างเช่า จากเจ้าของเดิม ต่อมาที่ดินและตึกแถวที่โจทก์เช่า ตก เป็นของ ม. ส่วนที่ดินและตึกแถวที่จำเลยเช่าตก เป็นของ ช. แล้วต่อมาที่ดินและตึกแถวที่โจทก์เช่า ได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์และส่วนที่จำเลยเช่า โอนกรรมสิทธิ์เป็นของจำเลย ระหว่างที่ดินและตึกแถวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม.และ ช. นั้น จำเลยได้รื้อตึกแถวเก่าของตน แล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่ภายในเขตแนวเดิม โจทก์รื้อครัวที่อยู่ด้าน หลังตึกแถวของโจทก์และติดกับผนังตึกด้าน ข้างตึกแถวจำเลยแล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่พร้อมกันโดยใช้ผนังด้าน หลังของห้องครัวโจทก์กับผนังด้าน ข้างของตึกแถวจำเลยร่วมกัน และจ้างช่าง ปลูกสร้างคนเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์หรือ ม. ทักท้วงห้ามปราม แม้ว่าบางส่วนของที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวนั้นจะอยู่ในโฉนด ที่โจทก์ซื้อ แต่จำเลยเข้าใจในขณะปลูกสร้างว่า ที่ดินตรงที่ปลูกสร้างนั้นเป็นที่ดินที่อยู่ในโฉนด ที่จำเลยเช่าจึงเป็นกรณีที่จำเลยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินตามสภาพที่เป็นอยู่ปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินโจทก์ที่จำเลยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิปลูกสร้างได้ เป็นการปลูกโดยสุจริต เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินในส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์สืบสิทธิของ ช. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่จำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโจทก์ส่วนที่ถูกตึกแถวจำเลยปลูกรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับซื้อทรัพย์สินราคาถูกโดยรู้อยู่แล้วว่าได้มาจากการลักทรัพย์ มีความผิดฐานรับของโจร
การที่จำเลยซื้อรถจักรยานยนต์ราคา 10,000 กว่าบาท ด้วยราคาเพียง 5,000 บาท โดยไม่มีการโอนทะเบียนรถกันให้ถูกต้อง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยรับซื้อรถจักรยานยนต์ไว้จากคนร้ายโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการลักทรัพย์ด้วยราคาที่ต่ำกว่าตลาดอย่างผิดปกติ แสดงถึงเจตนาในการรับของโจร
การที่จำเลยซื้อรถจักรยานยนต์ราคา 10,000 กว่าบาท ด้วยราคาเพียง 5,000 บาท โดยไม่มีการโอนทะเบียนรถกันให้ถูกต้อง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยรับซื้อรถจักรยานยนต์ไว้จากคนร้ายโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์หลังมีคำสั่งงดบังคับคดี: ศาลมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่ง
ฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ประการใดเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้ถอนการยึดทรัพย์โดยวินิจฉัยว่าการยึดทรัพย์จำเลยกระทำก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งศาลที่ให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เป็นการยึดทรัพย์ที่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้ ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาแต่เป็นคำสั่งโดยทั่วไป ซึ่งคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เพราะไม่มีบทกฎหมายจำกัดห้ามไว้
ในวันที่ศาลชั้นต้นแจ้งให้ศาลซึ่งได้รับมอบหมายให้บังคับคดีแทนให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยตามคำแถลงของผู้แทนโจทก์ จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องขอให้งดหรือยกเลิกการออกหมายบังคับคดีเพราะได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นว่าให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เรื่องทุเลาการบังคับคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(2) และมีความหมายเพียงว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งดังกล่าวก็ให้งดการบังคับคดีตามคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีงดการบังคับคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมเกิดผลแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนทำการยึดทรัพย์ในภายหลัง แม้จะอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งให้งดการบังคับคดี ก็เป็นการยึดทรัพย์ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้งดการบังคับคดีของศาลชั้นต้น ศาลย่อมมีอำนาจยกเลิกเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้ถอนการยึดทรัพย์โดยวินิจฉัยว่าการยึดทรัพย์จำเลยกระทำก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งศาลที่ให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เป็นการยึดทรัพย์ที่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้ ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาแต่เป็นคำสั่งโดยทั่วไป ซึ่งคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เพราะไม่มีบทกฎหมายจำกัดห้ามไว้
ในวันที่ศาลชั้นต้นแจ้งให้ศาลซึ่งได้รับมอบหมายให้บังคับคดีแทนให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยตามคำแถลงของผู้แทนโจทก์ จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องขอให้งดหรือยกเลิกการออกหมายบังคับคดีเพราะได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นว่าให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เรื่องทุเลาการบังคับคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(2) และมีความหมายเพียงว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งดังกล่าวก็ให้งดการบังคับคดีตามคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีงดการบังคับคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมเกิดผลแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนทำการยึดทรัพย์ในภายหลัง แม้จะอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งให้งดการบังคับคดี ก็เป็นการยึดทรัพย์ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้งดการบังคับคดีของศาลชั้นต้น ศาลย่อมมีอำนาจยกเลิกเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ที่ขัดต่อคำสั่งศาล: อำนาจศาลในการแก้ไขและถอนการยึดทรัพย์ที่ไม่ถูกต้อง
ฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่า การยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย ไม่อาจเพิกถอนการยึดทรัพย์รายพิพาทได้ ดังนี้ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งโดยทั่วไปซึ่งคู่ความย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติจำกัดห้ามไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์เรื่องทุเลาการบังคับคดีนั้น เป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา292(2) แม้บทกฎหมายมาตรานี้จะใช้คำว่าให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีเมื่อศาลได้ส่งคำสั่งนั้นไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบก็ตาม แต่ก็มีความหมายเพียงว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งดังกล่าวก็ให้งดการบังคับคดีตามคำสั่ง หาได้มีความหมายว่าคำสั่งให้งดการบังคับคดีจะมีผลต่อเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทราบคำสั่งแล้วเท่านั้นไม่ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยโดยฝ่าฝืนคำสั่งให้งดการบังคับคดี ศาลย่อมมีอำนาจยกเลิกเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – การยึดทรัพย์ขัดคำสั่งศาล – อำนาจแก้ไขคำสั่ง – การบังคับคดี
ฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ประการใดเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้ถอนการยึดทรัพย์โดยวินิจฉัยว่าการยึดทรัพย์จำเลยกระทำ ก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งศาลที่ให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เป็นการยึดทรัพย์ที่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้ ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาแต่เป็นคำสั่งโดยทั่วไป ซึ่งคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เพราะไม่มีบทกฎหมายจำกัดห้ามไว้
ในวันที่ศาลชั้นต้นแจ้งให้ศาลซึ่งได้รับมอบหมายให้บังคับคดีแทนให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยตามคำแถลงของผู้แทนโจทก์ จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องขอให้งดหรือยกเลิกการออกหมายบังคับคดีเพราะได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นว่าให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เรื่องทุเลาการบังคับคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292 (2) และมีความหมายเพียงว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งดังกล่าวก็ให้งดการบังคับคดีตามคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีงดการบังคับคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมเกิดผลแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนทำการยึดทรัพย์ในภายหลัง แม้จะอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งให้งดการบังคับคดี ก็เป็นการยึดทรัพย์ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้งดการบังคับคดีของศาลชั้นต้น ศาลย่อมมีอำนาจยกเลิกเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้ถอนการยึดทรัพย์โดยวินิจฉัยว่าการยึดทรัพย์จำเลยกระทำ ก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งศาลที่ให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เป็นการยึดทรัพย์ที่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้ ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาแต่เป็นคำสั่งโดยทั่วไป ซึ่งคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เพราะไม่มีบทกฎหมายจำกัดห้ามไว้
ในวันที่ศาลชั้นต้นแจ้งให้ศาลซึ่งได้รับมอบหมายให้บังคับคดีแทนให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยตามคำแถลงของผู้แทนโจทก์ จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องขอให้งดหรือยกเลิกการออกหมายบังคับคดีเพราะได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นว่าให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เรื่องทุเลาการบังคับคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292 (2) และมีความหมายเพียงว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งดังกล่าวก็ให้งดการบังคับคดีตามคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีงดการบังคับคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมเกิดผลแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนทำการยึดทรัพย์ในภายหลัง แม้จะอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งให้งดการบังคับคดี ก็เป็นการยึดทรัพย์ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้งดการบังคับคดีของศาลชั้นต้น ศาลย่อมมีอำนาจยกเลิกเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.