คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม การปลื้มจิตต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 367 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบของโจทก์: การพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง
เมื่อศาลกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่โจทก์ส่งเพียงเอกสารที่แนบท้ายคำฟ้องโดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสิบห้าคนดำเนินการเลือกกำนันโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่อาจชนะคดีได้
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันพ.ศ. 2524 เป็นระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา30 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ศาลรู้เองนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบในประเด็นที่ตนมีหน้าที่นำสืบข้างต้นฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบของโจทก์: การส่งเอกสารไม่อาจทดแทนการสืบพยานหลักฐานในประเด็นที่ฟ้อง
เมื่อศาลกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่โจทก์ส่งเพียงเอกสารที่แนบท้ายคำฟ้องโดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสิบห้าคนดำเนินการเลือกกำนันโดยมิชอบด้วยกฎหมายดัง ที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่อาจชนะคดีได้ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ. 2524 เป็นระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ศาลรู้เองนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบในประเด็นที่ตนมีหน้าที่นำสืบข้างต้นฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเฉพาะตัวในการปลูกผักบุ้งบนที่ดินของผู้อื่น สิ้นสุดเมื่อเจ้าของสิทธิเสียชีวิต ไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์จำเลยเคยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมให้ที่พิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ให้เงินแก่จำเลยจำนวนหนึ่งกับยินยอมให้จำเลยปลูกผักบุ้งชายคลองหน้าคันดินพิพาทดังนี้เป็นการยินยอมให้เฉพาะตัวจำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยตายสิทธิดังกล่าวจึงระงับไป ไม่ตกทอดแก่ทายาท.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิส่วนบุคคลจากการยินยอมให้ใช้ที่ดินไม่ตกทอดเป็นมรดกเมื่อผู้รับประโยชน์ถึงแก่กรรม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันความว่า จำเลยยินยอมให้ที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ตกลงชำระเงินแก่จำเลย 2,500 บาท และยินยอมให้จำเลยปลูกผักบุ้งชาย คลองหน้าคันดินพิพาทด้วย ศาลพิพากษาตามยอมดังนี้ เมื่อที่พิพาทเป็นที่มีโฉนด มีชื่อ โจทก์ เป็นเจ้าของ การที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยสอดเข้ามาเกี่ยวข้อง ย่อมหมายความว่า ยินยอมให้เฉพาะตัวจำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระเงิน 2,500 บาท ตอบแทนความยินยอมของจำเลยแล้ว ยังยินยอมให้จำเลยปลูกผักบุ้งที่ชาย คลองหน้าที่พิพาทอีก แสดงว่าไม่ใช่เป็นการยินยอมที่ให้ผูกพันตลอดไป ฉะนั้น เมื่อจำเลยตาย สิทธิของจำเลยย่อมระงับไปไม่ตก ทอดแก่ทายาท ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรจึงจะขอรับมรดกความต่อไปมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีทรัพย์สิน: แม้คดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 20,000 บาท หากเป็นอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่อยู่ในข้อห้ามอุทธรณ์
ทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นเรือนทรงไทย 2 หลังแฝดเป็นอสังหาริมทรัพย์แม้คดีจะมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท ก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอสังหาริมทรัพย์แม้ทุนทรัพย์น้อยกว่า 20,000 บาท ย่อมทำได้ตามกฎหมาย
ทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นเรือนทรงไทย 2 หลังแฝด เป็นอสังหาริมทรัพย์แม้คดีจะมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท ก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลตามนัดและเหตุยกฟ้องคดีอาญา: ความรับผิดของโจทก์และทนาย, การแจ้งเหตุจำเป็น
โจทก์เคยขอเลื่อนคดีหลายครั้ง โดย 3 ครั้งหลังขอเลื่อนคดีติดต่อกัน ครั้งนี้โจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้ว โจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ อ้างว่าทนายโจทก์ป่วย เช่นนี้ แม้การเจ็บป่วยจะถือเป็นเหตุอันสมควรในการมาศาลไม่ได้ แต่ก็ไม่หมายความว่า หากทนายโจทก์เจ็บป่วยแล้วจะถือเป็นเหตุให้ศาลต้องเลื่อนคดีให้โจทก์เองโดยปริยาย เป็นเรื่องที่โจทก์หรือทนายโจทก์จะต้องแจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุที่ไม่อาจดำเนินคดีตามกำหนดนัดของศาล ทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่า ตัวโจทก์ไม่สามารถมาศาลด้วย พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า โจทก์ไม่มาศาลเพราะไม่สนใจต่อเวลานัดของศาล หาใช่เพราะมีเหตุอันสมควรไม่ จึงไม่มีเหตุจะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนอาคาร: เหตุขอขยายเวลาต้องสมเหตุสมผลและไม่ใช่การจงใจชะลอการปฏิบัติตามคำพิพากษา
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำบังคับ และหมายบังคับคดีของศาล การที่จำเลยขอขยายกำหนดการบังคับคดี โดยอ้างว่าการรื้อถอนอาคารพิพาทจำต้องใช้การคำนวณของนักวิชาการและต้องใช้เวลาถึง 502 วัน และในอาคารพิพาทมีคนงานทำงานอยู่เกือบ 60 คน ต้องให้เวลาหาสถานที่ให้แก่คนงานเหล่านั้นด้วย ยังไม่เป็นเหตุพ้นวิสัยอันจะเป็นมูลให้จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้ พฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนอาคาร: เหตุขยายเวลาต้องมีเหตุพ้นวิสัย การอ้างความเดือดร้อนของคนงานไม่เพียงพอ
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำบังคับ และหมายบังคับคดีของศาล การที่จำเลยขอขยายกำหนดการบังคับคดี โดยอ้างว่าการรื้อถอนอาคารพิพาทจำต้องใช้การคำนวณของนักวิชาการและต้องใช้เวลาถึง 502 วันและในอาคารพิพาทมีคนงานทำงานอยู่เกือบ 60 คน ต้องให้เวลาหาสถานที่ให้แก่คนงานเหล่านั้นด้วย ยังไม่เป็นเหตุพ้นวิสัยอันจะเป็นมูลให้จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้ พฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์ โดยการรับฟังพยานหลักฐานจากคำเบิกความและพฤติการณ์ที่จำเลยกระทำ
โจทก์ฟ้องว่าเกิดเหตุระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2526 ถึงวันที่19 ธันวาคม 2526 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าในวันที่ 13 ธันวาคม 2526 จำเลยลักอะไหล่รถยนต์ของผู้เสียหายรวม 5 กล่องนำไปฝากไว้กับ ม. และในวันที่ 15ธันวาคม 2526 จำเลยได้ลักเอาอะไหล่รถยนต์อีก 5 กล่องไปฝากไว้กับม. อีกเช่นกัน แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบว่า จำเลยมิได้รับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน และจำเลยไม่รู้จักกับ ม. ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยลักอะไหล่รถยนต์ของผู้เสียหายไปในวันที่ 13 และ 15 ธันวาคม2526 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงมิได้แตก ต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้อง.
of 37