พบผลลัพธ์ทั้งหมด 367 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษายกฟ้องแล้วกลับคำพิพากษาในคดีลักทรัพย์ เนื่องจากพยานหลักฐานประกอบกับคำให้การในชั้นสอบสวนสอดคล้องกัน
โจทก์ฟ้องว่าเกิดเหตุระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2526 ถึงวันที่19 ธันวาคม 2526 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าในวันที่ 13 ธันวาคม 2526 จำเลยลักอะไหล่รถยนต์ของผู้เสียหายรวม 5 กล่องนำไปฝากไว้กับ ม. และในวันที่ 15ธันวาคม 2526 จำเลยได้ลักเอาอะไหล่รถยนต์อีก 5 กล่องไปฝากไว้กับ ม. อีกเช่นกัน แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบว่า จำเลยมิได้รับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน และจำเลยไม่รู้จักกับ ม. ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยลักอะไหล่รถยนต์ของผู้เสียหายไปในวันที่ 13 และ 15 ธันวาคม 2526 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงมิได้แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้แก่คู่สมรส ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัว และคู่สมรสที่ยกให้ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว ในระหว่างสมรส จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ และสัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินให้แก่โจทก์และทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินดังกล่าวได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินสมรสโดยเสน่หา และผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินหลังหย่า
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องนิติกรรมอำพรางไว้ในคำให้การ ทั้งในวันชี้สองสถานจำเลยยังแถลงรับว่าเดิม จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ณ.และต่อมาได้จดทะเบียนยกให้โจทก์โดยเสน่หา หลังจากนั้นโจทก์จำเลยจึงจดทะเบียนหย่ากัน จึงรับฟังได้ว่าจำเลยยกที่ดินดังกล่าวให้โจทก์โดยเจตนาที่แท้จริง ไม่มีปัญหาเรื่องนิติกรรมอำพราง ข้อเท็จจริงที่ศาลได้จากการตรวจคำฟ้อง คำให้การ ฟ้องแย้ง และคำให้การแก้ฟ้องแย้งรวมตลอดทั้งสอบถามคู่ความในชั้นชี้สองสถานเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลชอบที่จะงดสืบพยานโจทก์เสียได้ไม่จำต้องสืบพยานให้ได้ความว่าการยกที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่. เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์และโจทก์ได้รับทรัพย์สินมาในระหว่างสมรส ดังนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1471(3) ให้ถือว่าทรัพย์ที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว และบทบัญญัติมาตรานี้มิได้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวอีกต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินสินสมรสให้แก่คู่สมรส ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวและสิทธิในทรัพย์สินสิ้นสุดลง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว ในระหว่างสมรส จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ และสัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินให้แก่โจทก์และทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3)แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินดังกล่าวได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาหลอกลวงและไม่สุจริต ทำให้การซื้อขายเป็นโมฆะ ผู้มีสิทธิรับมรดกมีสิทธิเพิกถอนการโอน
จำเลยทั้งสองสมรู้กันแสดงเจตนาหลอกลวงโจทก์ทั้งสามหรือผู้อื่นโดยจำเลยทั้งสองมิได้ตั้งใจให้ผูกพันกันตามที่ได้จดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันจริงจัง การแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างจำเลยทั้งสองเช่นนี้ ย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์ทั้งสามเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกที่พิพาทมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนได้.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม และสิทธิทางภาระจำยอมเป็นเรื่องต่างหาก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ครอบครองที่ดินกันมาไม่ตรงตามฟ้อง และยังมีทางเดินจากที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองออกไปสู่คลองสาธารณประโยชน์ ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมใช้เดินติดต่อกันมาหลายสิบปีแล้ว ขอให้โจทก์ไปจดทะเบียนทางภาระจำยอม ดังนี้การที่จำเลยจะมีสิทธิเดินผ่านที่ดินของโจทก์หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับการแบ่งแยกที่ดิน ฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้งในคดีแบ่งแยกที่ดิน: การเรียกร้องสิทธิทางภาระจำยอมไม่เกี่ยวกับการแบ่งแยกที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ครอบครองที่ดินกันมาไม่ตรงตามฟ้อง และยังมีทางเดินจากที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองออกไปสู่คลองสาธารณประโยชน์ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม ใช้เดิน ติดต่อกันมาหลายสิบปีแล้ว ขอให้โจทก์ไปจดทะเบียนทางภารจำยอม ดังนี้การที่จำเลยจะมีสิทธิเดิน ผ่านที่ดินของโจทก์หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับการแบ่งแยกที่ดินฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม และสิทธิทางเดิน: ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ครอบครองที่ดินกันมาไม่ตรงตามฟ้อง และยังมีทางเดินจากที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองออกไปสู่คลองสาธารณประโยชน์ ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมใช้เดินติดต่อกันมาหลายสิบปีแล้ว ขอให้โจทก์ไปจดทะเบียนทางภาระจำยอม ดังนี้การที่จำเลยจะมีสิทธิเดินผ่านที่ดินของโจทก์หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับการแบ่งแยกที่ดิน ฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตประเด็นข้อพิพาท: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยทางพิพาทเป็นภาระจำยอมได้ แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเป็นทางสาธารณประโยชน์
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ และจำเลยมีสิทธิปิดกั้นทางพิพาทหรือไม่ การที่ศาลพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม จำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้น ย่อมอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด ไม่เป็นการนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ถึงทางภาระจำยอม แม้ประเด็นเดิมเป็นทางสาธารณะ
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ และจำเลยมีสิทธิปิดกั้นทางพิพาทหรือไม่ การที่ศาลพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม จำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้น ย่อมอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไม่เป็นการนอกประเด็น.