คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม การปลื้มจิตต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 367 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องห้าม: ศาลฎีกาชี้ว่าการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล (นำเงินมาชำระหนี้/หาประกัน) ทำให้คำอุทธรณ์ไม่รับพิจารณา แม้จะขอขยายเวลา
จำเลยอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับโดยวินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายและยื่นคำร้องขอเลื่อนการนำหลักประกันมาวางศาลศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยไม่ได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด10วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและสั่งในคำร้องขอเลื่อนการนำหลักประกันมาวางศาลในทำนองยกคำขอจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์โดยวินิจฉัยในเนื้อหาของอุทธรณ์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามแต่ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องจำเลยขอขยายกำหนดเวลานำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลเป็นเหตุให้จำเลยฎีกาต่อมาได้แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นบางข้อเป็นข้อที่จำเลยจะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้อยู่แล้วข้ออื่นนอกนั้นก็ล้วนแต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลจะอนุญาตคำขอของจำเลยก็ไม่มีประโยชน์แก่คดีของจำเลยเพราะในที่สุดจะไม่ทำให้อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ต้องห้ามไปได้ศาลฎีกาย่อมพิพากษายืนให้ขยายระยะเวลาให้ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3079/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: การได้มาซึ่งทรัพย์ที่รู้ว่าเป็นผลจากการกระทำความผิด
จำเลยสวมเสื้อของผู้เสียหายในเวลาใกล้ชิดกับที่เสื้อถูกคนร้ายลักไป บ้านจำเลยอยู่ใกล้สถานที่ที่ทรัพย์ถูกลัก ดังนี้ แสดงว่าจำเลยได้รับเสื้อของผู้เสียหายซึ่งเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยมีความผิดฐานรับของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การลงวันที่เช็คไม่สมบูรณ์ ผู้สั่งจ่ายยินยอมให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองได้
เช็คพิพาทผู้สั่งจ่ายออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือโดยผู้สั่งจ่ายได้ลงวันที่ในช่องวันที่ออกเช็คและลงชื่อกำกับไว้ใต้ช่องวันที่ออกเช็คดังนี้แม้ผู้สั่งจ่ายจะมิได้ลงเดือนและปีไว้ในช่องวันที่ออกเช็คก็ต้องถือว่าผู้สั่งจ่ายเจตนาให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่ในเช็คเอาเองในภายหลังผู้ทรงเช็คย่อมลงวันที่ในเช็คเป็นวันไหนก็ได้ผู้สั่งจ่ายจะโต้แย้งว่าผู้ทรงเช็คกระทำการโดยไม่สุจริตและเช็คนั้นไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายหาได้ไม่ เช็คพิพาทเป็นเช็คออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งโอนเปลี่ยนมือกันได้เพียงด้วยการส่งมอบให้กันเมื่อโจทก์มีเช็คไว้ในครอบครองนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา989ประกอบมาตรา967 อายุความที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คเรียกเงินตามเช็คห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา1ปีนับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1002.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่ายลงชื่อใต้ช่องวันที่ ถือเจตนาให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองภายหลังได้ ไม่ถือว่าเช็คไม่สมบูรณ์
เช็คพิพาทผู้สั่งจ่ายออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือโดยผู้สั่งจ่ายได้ลงวันที่ในช่องวันที่ออกเช็คและลงชื่อกำกับไว้ใต้ช่องวันที่ออกเช็คดังนี้แม้ผู้สั่งจ่ายจะมิได้ลงเดือนและปีไว้ในช่องวันที่ออกเช็คก็ต้องถือว่าผู้สั่งจ่ายเจตนาให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่ในเช็คเอาเองในภายหลังผู้ทรงเช็คย่อมลงวันที่ในเช็คเป็นวันไหนก็ได้ผู้สั่งจ่ายจะโต้แย้งว่าผู้ทรงเช็คกระทำการโดยไม่สุจริตและเช็คนั้นไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายหาได้ไม่
เช็คพิพาทเป็นเช็คออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งโอนเปลี่ยนมือกันได้เพียงด้วยการส่งมอบให้กันเมื่อโจทก์มีเช็คไว้ในครอบครองนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989ประกอบมาตรา 967
อายุความที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คเรียกเงินตามเช็คห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงวันที่ไม่ครบถ้วน ผู้สั่งจ่ายยินยอมให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองได้ ไม่ถือว่าเช็คไม่สมบูรณ์ ฟ้องได้ภายในอายุความ
เช็คพิพาทผู้สั่งจ่ายออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือโดยผู้สั่งจ่ายได้ลงวันที่ในช่องวันที่ออกเช็คและลงชื่อกำกับไว้ใต้ช่องวันที่ออกเช็ค ดังนี้แม้ผู้สั่งจ่ายจะมิได้ลงเดือนและปีไว้ในช่องวันที่ออกเช็คก็ต้องถือว่า ผู้สั่งจ่ายเจตนาให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่ในเช็คเอาเองในภายหลังผู้ทรงเช็คย่อมลงวันที่ในเช็คเป็นวันไหนก็ได้ผู้สั่งจ่ายจะโต้แย้งว่า ผู้ทรงเช็คกระทำการโดยไม่สุจริตและเช็คนั้นไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายหาได้ไม่
เช็คพิพาทเป็นเช็คออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งโอนเปลี่ยนมือกันได้เพียงด้วยการส่งมอบให้กัน เมื่อโจทก์มีเช็คไว้ในครอบครองนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989 ประกอบมาตรา 967
อายุความที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คเรียกเงินตามเช็ค ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการรับผิดตามเช็ค: การที่จำเลยให้คำรับรองว่ารอฟังคำสั่งศาลถือว่าทราบคำสั่งแล้ว
หลังจากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแล้ว จำเลยไม่ได้อยู่รอฟังคำสั่งแต่ได้ให้คำรับรองไว้ว่า ตนรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอก็ให้ถือว่าทราบแล้ว ศาลชั้นต้นได้เกษียนสั่งในคำให้การของจำเลยในวันเดียวกันนั้นเองให้รับคำให้การจำเลยสำเนาให้โจทก์นัดพร้อมตัวความและสืบพยานโจทก์ ฯลฯ แม้เจ้าหน้าที่ศาลได้กำหนดวันสืบพยานโจทก์โดยไม่มีลายมือชื่อฝ่ายจำเลยทราบวันสืบพยานโจทก์ในบัญชีนัดพิจารณาคดีของศาลก็ตาม แต่การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศาลที่กำหนดวันสืบพยานโจทก์นั้น ถือว่าได้กระทำหรือปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแลหรือตามคำสั่งศาล คดีจึงถือว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลในวันที่จำเลยยื่นคำให้การ ที่จำเลยอ้างว่าป่วยไม่ได้มาศาลก่อนที่จำเลยทราบก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่จำเลยทราบคำสั่งแล้ว และถือว่าจำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์เป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา
ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จะต้องกล่าวในคำขอให้พิจารณาใหม่โดยชัดแจ้งให้เห็นว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไร คำขอให้พิจารณาใหม่ตลอดจนคำให้การของจำเลยไม่ได้กล่าวว่าโจทก์ได้รู้ความจริงว่า เช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ตามเช็ค หรือโจทก์รับโอนเช็คด้วยการคบคิดกับผู้ที่รับเช็คไว้จากจำเลยเพื่อฉ้อฉลจำเลย ไม่ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์รับมอบเช็คนั้นไว้ โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและมีคำสั่งห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้น คดีจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบหรือรับเช็คนั้นไว้โดยสุจริต จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น แม้จะพิจารณาใหม่ จำเลยก็ไม่อาจชนะคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการรับผิดตามเช็ค: การที่จำเลยให้คำรับรองรอฟังคำสั่งถือว่าทราบคำสั่งศาล แม้ไม่มีลายมือชื่อในบัญชีนัด
หลังจากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแล้ว จำเลยไม่ได้อยู่รอฟังคำสั่งแต่ได้ให้คำรับรองไว้ว่า ตนรอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอก็ให้ถือว่าทราบแล้วศาลชั้นต้นได้เกษียนสั่งในคำให้การของจำเลยในวันเดียวกันนั้นเองให้รับคำให้การจำเลยสำเนาให้โจทก์นัดพร้อมตัวความและสืบพยานโจทก์ฯลฯแม้เจ้าหน้าที่ศาลได้กำหนดวันสืบพยานโจทก์โดยไม่มีลายมือชื่อฝ่ายจำเลยทราบวันสืบพยานโจทก์ในบัญชีนัดพิจารณาคดีของศาลก็ตามแต่การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศาลที่กำหนดวันสืบพยานโจทก์นั้นถือว่าได้กระทำหรือปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแลหรือตามคำสั่งศาลคดีจึงถือว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลในวันที่จำเลยยื่นคำให้การที่จำเลยอ้างว่าป่วยไม่ได้มาศาลก่อนที่จำเลยทราบก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่จำเลยทราบคำสั่งแล้ว และถือว่าจำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์เป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา
ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จะต้องกล่าวในคำขอให้พิจารณาใหม่โดยชัดแจ้งให้เห็นว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรคำขอให้พิจารณาใหม่ตลอดจนคำให้การของจำเลยไม่ได้กล่าวว่าโจทก์ได้รู้ความจริงว่า เช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ตามเช็คหรือโจทก์รับโอนเช็คด้วยการคบคิดกับผู้ที่รับเช็คไว้จากจำเลยเพื่อฉ้อฉลจำเลยไม่ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์รับมอบเช็คนั้นไว้ โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและมีคำสั่งห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นคดีจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบหรือรับเช็คนั้นไว้โดยสุจริตจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแม้จะพิจารณาใหม่ จำเลยก็ไม่อาจชนะคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการรับผิดตามเช็ค: ผลของการให้คำรับรองและการทราบคำสั่งศาล
หลังจากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแล้วจำเลยไม่ได้อยู่รอฟังคำสั่งแต่ได้ให้คำรับรองไว้ว่าตนรอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอก็ให้ถือว่าทราบแล้วศาลชั้นต้นได้เกษียนสั่งในคำให้การของจำเลยในวันเดียวกันนั้นเองให้รับคำให้การจำเลยสำเนาให้โจทก์นัดพร้อมตัวความและสืบพยานโจทก์ฯลฯแม้เจ้าหน้าที่ศาลได้กำหนดวันสืบพยานโจทก์โดยไม่มีลายมือชื่อฝ่ายจำเลยทราบวันสืบพยานโจทก์ในบัญชีนัดพิจารณาคดีของศาลก็ตามแต่การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศาลที่กำหนดวันสืบพยานโจทก์นั้นถือว่าได้กระทำหรือปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแลหรือตามคำสั่งศาลคดีจึงถือว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลในวันที่จำเลยยื่นคำให้การที่จำเลยอ้างว่าป่วยไม่ได้มาศาลก่อนที่จำเลยทราบก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่จำเลยทราบคำสั่งแล้วและถือว่าจำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์เป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208จะต้องกล่าวในคำขอให้พิจารณาใหม่โดยชัดแจ้งให้เห็นว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรคำขอให้พิจารณาใหม่ตลอดจนคำให้การของจำเลยไม่ได้กล่าวว่าโจทก์ได้รู้ความจริงว่าเช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ตามเช็คหรือโจทก์รับโอนเช็คด้วยการคบคิดกับผู้ที่รับเช็คไว้จากจำเลยเพื่อฉ้อฉลจำเลยไม่ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์รับมอบเช็คนั้นไว้โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและมีคำสั่งห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นคดีจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบหรือรับเช็คนั้นไว้โดยสุจริตจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแม้จะพิจารณาใหม่จำเลยก็ไม่อาจชนะคดีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานีขนส่ง, การใช้ประกาศกระทรวงเดิม, ความผิดพ.ร.บ.ขนส่งทางบก, การแก้ฟ้อง
เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 19 ยังไม่ได้กำหนดให้สถานีขนส่งสายเหนือเป็นสถานที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสารไว้เป็นการต่างหาก จึงต้องนำประกาศของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง ซึ่งประกาศโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาใช้ตามมาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 จึงมิใช่การนำกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้วมาใช้บังคับและลงโทษแก่จำเลย
รถประจำทางปรับอากาศต้องหยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร ณ สถานที่ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดหรือสถานที่หยุดหรือจอดรถตามที่มาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้เท่านั้น การที่จำเลยหยุดหรือจอดรถรับส่งผู้โดยสารที่ศูนย์รถแห่งอื่นจึงเป็นความผิดตามมาตรา 156 แล้ว แม้จำเลยจะนำรถเข้าหยุดหรือจอดรับผู้โดยสารที่สถานีขนส่งสายเหนือซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดในภายหลัง ก็ตามก็ไม่เป็นการลบล้างการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งได้กระทำมาแล้วให้หมดสิ้นไป
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 156 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ครบถ้วนแล้ว แต่เนื่องจากสถานที่หยุดหรือจอดรถยังคงเป็นไปตามประกาศกระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2503 ตามที่มาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ได้บัญญัติไว้ว่าให้นำมาใช้ได้ การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องระบุว่าสถานีขนส่งสายเหนือเป็นสถานีขนส่งตามที่กำหนดไว้และขอระบุประกาศดังกล่าวเป็นพยานเพิ่มเติม ภายหลังจากที่โจทก์สืบพยานหมดไปแล้ว แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดี จึงกระทำได้ตาม มาตรา 163 และมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวไม่ได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้เพราะจำเลยก็ทราบว่า จำเลยจะต้องหยุดหรือจอดรถรับส่งคนโดยสารที่สถานีขนส่งอยู่แล้ว และการที่โจทก์นำพยานมาสืบเพิ่มเติมภายหลังที่โจทก์ได้แถลงหมดพยานแล้วนั้นก็เป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะสืบพยาน จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดสถานที่หยุดรถโดยสาร: การใช้ประกาศกระทรวงฯ เดิมควบคู่กฎหมายใหม่ และการแก้ไขฟ้อง
เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522มาตรา19ยังไม่ได้กำหนดให้สถานีขนส่งสายเหนือเป็นสถานที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสารไว้เป็นการต่างหากจึงต้องนำประกาศของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่งซึ่งประกาศโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา49แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ2497มาใช้ตามมาตรา164แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522จึงมิใช่การนำกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้วมาใช้บังคับและลงโทษแก่จำเลย รถประจำทางปรับอากาศต้องหยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสารณสถานที่ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดหรือสถานที่หยุดหรือจอดรถตามที่มาตรา164แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522บัญญัติไว้เท่านั้นการที่จำเลยหยุดหรือจอดรถรับส่งผู้โดยสารที่ศูนย์รถแห่งอื่นจึงเป็นความผิดตามมาตรา156แล้วแม้จำเลยจะนำรถเข้าหยุดหรือจอดรับผู้โดยสารที่สถานีขนส่งสายเหนือซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดในภายหลังก็ตามก็ไม่เป็นการลบล้างการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งได้กระทำมาแล้วให้หมดสิ้นไป คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา156แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522ครบถ้วนแล้วแต่เนื่องจากสถานที่หยุดหรือจอดรถยังคงเป็นไปตามประกาศกระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่งซึ่งประกาศเมื่อวันที่26มกราคม2503ตามที่มาตรา164แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522ได้บัญญัติไว้ว่าให้นำมาใช้ได้การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องระบุว่าสถานีขนส่งสายเหนือเป็นสถานีขนส่งตามที่กำหนดไว้และขอระบุประกาศดังกล่าวเป็นพยานเพ่ิมเติมภายหลังจากที่โจทก์สืบพยานหมดไปแล้วแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีจึงกระทำได้ตามมาตรา163และมาตรา164แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและการขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวไม่ได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้เพราะจำเลยก็ทราบว่าจำเลยจะต้องหยุดหรือจอดรถรับส่งคนโดยสารที่สถานีขนส่งอยู่แล้วและการที่โจทก์นำพยานมาสืบเพิ่มเติมภายหลังที่โจทก์ได้แถลงหมดพยานแล้วนั้นก็เป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะสืบพยานจึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี.
of 37