คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม การปลื้มจิตต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 367 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายและการคิดดอกเบี้ยหลังบอกกล่าวบังคับจำนอง
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามป.พ.พ. มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องและการขยายเวลาชำระค่าฤชาธรรมเนียม: การเพิกเฉยต่อการดำเนินการตามคำสั่งศาลถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ให้โจทก์ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งคำร้อง จำเลยมิได้นำส่ง เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดถือได้ว่าจำเลยทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) แม้จำเลยจะมิได้จงใจทิ้งคำร้องก็ไม่มีกฎหมายให้ศาลยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้
จำเลยกล่าวในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินและในฎีกาว่าขอให้ศาลกรุณาสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินที่จำเลยต้องเสียแทนโจทก์และค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ต่อไป ดังนี้ หาใช่คำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษไม่ แต่เป็นเรื่องขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมให้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องจากความไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และการขยายเวลาชำระค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ให้โจทก์ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งคำร้อง จำเลยมิได้นำส่ง เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดถือได้ว่าจำเลยทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) แม้จำเลยจะมิได้จงใจทิ้งคำร้องก็ไม่มีกฎหมายให้ศาลยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้
จำเลยกล่าวในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินและในฎีกาว่าขอให้ศาลกรุณาสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินที่จำเลยต้องเสียแทนโจทก์และค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ต่อไป ดังนี้ หาใช่คำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษไม่ แต่เป็นเรื่องขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมให้ใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องคดีแพ่งจากความไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และการขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ให้โจทก์ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งคำร้องจำเลยมิได้นำส่ง เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดถือได้ว่าจำเลยทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) แม้จำเลยจะมิได้จงใจทิ้งคำร้องก็ไม่มีกฎหมายให้ศาลยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ จำเลยกล่าวในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินและในฎีกาว่าขอให้ศาลกรุณาสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินที่จำเลยต้องเสียแทนโจทก์และค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ต่อไป ดังนี้ หาใช่คำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษไม่ แต่เป็นเรื่องขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมให้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด ศาลอนุญาตได้หากไม่มีการคัดค้าน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา341 จำเลยที่ 3 หลบหนี ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 ชั่วคราว โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นอนุญาต ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่คัดค้าน เมื่อเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวและไม่มีการคัดค้านศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้และให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและการพิจารณาคำพิพากษาคดีอาญาเป็นหลักฐานในคดีแพ่ง
โจทก์เบิกความในคดีแพ่งว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นคดีอาญา ข้อหาหมิ่นประมาทและความผิดต่อเจ้าพนักงานต่อศาลชั้นต้นข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกับปัญหาในคดีนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและเสียค่าอ้างเอกสารครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์ไม่ได้เรียกสำนวนนั้นมาประกอบการพิจารณาแต่จำเลยได้ส่งคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวต่อศาลก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา สำนวนคดีอาญาจึงเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)ศาลรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนนั้นประกอบการพิจารณาได้ เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า ศาลฎีกาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนอาญาแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นจำเลยรายเดียวกับจำเลยในคดีส่วนอาญา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็เป็นอย่างเดียวกัน ดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46โดยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เป็นพนักงานโรงพยาบาลที่โจทก์เป็นผู้อำนวยการได้ทำบันทึกและให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาคและคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยไปตามที่จำเลยได้รู้เห็นในฐานะที่ทำงานร่วมโรงพยาบาลเดียวกับโจทก์หรือเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยด้วยตนเองว่าโจทก์ทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการซึ่งต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 ได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความจริงโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือตามวิสัยของการติชม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานจากสำนวนคดีอาญาในคดีแพ่ง และการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตโดยไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์เบิกความในคดีแพ่งว่า โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่7 เป็นคดีอาญา ข้อหาหมิ่นประมาทและความผิดต่อเจ้าพนักงานต่อศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกับปัญหาในคดีนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและเสียค่าอ้างเอกสารครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์ไม่ได้เรียกสำนวนนั้นมาประกอบการพิจารณา แต่จำเลยได้ส่งคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวต่อศาลก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา สำนวนคดีอาญาจึงเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2) ศาลรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนนั้นประกอบการพิจารณาได้
เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า ศาลฎีกาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนอาญาแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่7 ซึ่งเป็นจำเลยรายเดียวกับจำเลยในคดีส่วนอาญา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็เป็นอย่างเดียวกันดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เป็นพนักงานโรงพยาบาลที่โจทก์เป็นผู้อำนวยการได้ทำบันทึกและให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาค และคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยไปตามที่จำเลยได้รู้เห็นในฐานะที่ทำงานร่วมโรงพยาบาลเดียวกับโจทก์หรือเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยด้วยตนเองว่าโจทก์ทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการ ซึ่งต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 ได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความจริงโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือตามวิสัยของการติชม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลซื้อที่ดินแพงกว่าปกติ ศาลสั่งชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะส่วนต่างราคา
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 โดยโจทก์ที่ 4 ซื้อที่ดินตามโฉนดที่พิพาทโดยหลงเชื่อตามที่จำเลยฉ้อฉลว่าที่ดินดังกล่าวติดแม่น้ำ ไม่มีที่ดินแปลงอื่นคั่นอยู่ ซึ่งเป็นกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ กล่าวคือ เพียงจูงใจให้โจทก์ยอมรับเอาซึ่งราคาที่ดินอันแพงกว่าที่จะยอมรับโดยปกติ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉล ส่วนที่โจทก์ต้องเสียค่าทำภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะปรากฏว่าก่อนซื้อที่ดินโจทก์ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่มีถนนออกสู่ทางสาธารณะจึงมิใช่ผลโดยตรงจากกลฉ้อฉลของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในส่วนนี้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่นายทะเบียนในการจดทะเบียนสัญชาติและการมีอำนาจฟ้องของโจทก์
จำเลยเป็นนายทะเบียนอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 5, 35 ในการจัดทำทะเบียนคนทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอ และแก้ทะเบียนคนให้ถูกต้องเมื่อมีการเพิ่มลดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าในกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้านเกี่ยวกับสัญชาติ จะให้นายทะเบียนอำเภอสอบสวนพยานหลักฐานแล้วเสนอตามลำดับชั้น เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติตามกฎกระทรวงก็ตาม แต่การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรดังกล่าว อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะดำเนินการไป ดังนี้การที่จำเลยปฏิเสธไม่ดำเนินการจดทะเบียนราษฎรให้โจทก์มีสัญชาติไทยตามที่โจทก์ร้องขอ จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่นายทะเบียนและการฟ้องร้องกรณีปฏิเสธจดทะเบียนสัญชาติ
จำเลยเป็นนายทะเบียนอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 5,35 ในการจัดทำทะเบียนคนทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอ และแก้ทะเบียนคนให้ถูกต้องเมื่อมีการเพิ่มลดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าในกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้านเกี่ยวกับสัญชาติ จะให้นายทะเบียนอำเภอสอบสวนพยานหลักฐานแล้วเสนอตามลำดับชั้น เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติตามกฎกระทรวงก็ตาม แต่การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรดังกล่าว อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะดำเนินการไป ดังนี้การที่จำเลยปฏิเสธไม่ดำเนินการจดทะเบียนราษฎรให้โจทก์มีสัญชาติไทยตามที่โจทก์ร้องขอ จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย.
of 37