พบผลลัพธ์ทั้งหมด 367 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายทะเบียนและการฟ้องร้องกรณีปฏิเสธจดทะเบียนสัญชาติ
จำเลยเป็นนายทะเบียนอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 5,35 ในการจัดทำทะเบียนคนทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอ และแก้ทะเบียนคนให้ถูกต้องเมื่อมีการเพิ่มลดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าในกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้านเกี่ยวกับสัญชาติ จะให้นายทะเบียนอำเภอสอบสวนพยานหลักฐานแล้วเสนอตามลำดับชั้น เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติตามกฎกระทรวงก็ตาม แต่การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรดังกล่าว อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะดำเนินการไป ดังนี้การที่จำเลยปฏิเสธไม่ดำเนินการจดทะเบียนราษฎรให้โจทก์มีสัญชาติไทยตามที่โจทก์ร้องขอ จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าสินไหมทดแทนจากละเมิด, ข้อจำกัดการฎีกา, และขอบเขตความรับผิดชอบในกรณีบาดเจ็บ/เสียชีวิต
ในคดีฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการละเมิด โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ปรากฏว่าโจทก์ที่ 15 ที่ 17 ที่ 19 และที่ 21 แต่ละคนเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248
จำเลยอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์เคยสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ในข้อดังกล่าวมาแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยหาอาจฎีกาต่อไปได้ไม่
การทนทุกข์ทรมานบังเกิดขึ้นจากสภาพร่างกายและจิตใจผิดปกติหรือเสื่อมสุขภาพอนามัย ทำให้หย่อนสมรรถภาพในการศึกษาและในการประกอบอาชีพหรือทำให้ทางทำมาหาได้ลดน้อยลงกว่าปกติและการมีรอยแผลเป็นติดตัวหรือกรณีของโจทก์ที่ 9 ได้รับบาดเจ็บข้อเท้าขวาพิการทำให้เส้นประสาทขาขาดและขาลีบซึ่งพอถือได้ว่ามีรอยแผลเป็นติดตัวนั้น เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่เป็นตัวเงิน และไม่ซ้ำซ้อนกับค่าสินไหมทดแทนในกรณีอื่น ทั้งการทนทุกข์ทรมานหรือเสื่อมสุขภาพอนามัยและการมีรอยแผลเป็นติดตัวเป็นผลโดยตรงแห่งการละเมิดของจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยผู้กระทำละเมิดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา444 และ 446
การได้รับบาดเจ็บจนเป็นเหตุให้ต้องพักการศึกษาเล่าเรียนไม่มีกฎหมายในเรื่องละเมิดให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์เคยสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ในข้อดังกล่าวมาแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยหาอาจฎีกาต่อไปได้ไม่
การทนทุกข์ทรมานบังเกิดขึ้นจากสภาพร่างกายและจิตใจผิดปกติหรือเสื่อมสุขภาพอนามัย ทำให้หย่อนสมรรถภาพในการศึกษาและในการประกอบอาชีพหรือทำให้ทางทำมาหาได้ลดน้อยลงกว่าปกติและการมีรอยแผลเป็นติดตัวหรือกรณีของโจทก์ที่ 9 ได้รับบาดเจ็บข้อเท้าขวาพิการทำให้เส้นประสาทขาขาดและขาลีบซึ่งพอถือได้ว่ามีรอยแผลเป็นติดตัวนั้น เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่เป็นตัวเงิน และไม่ซ้ำซ้อนกับค่าสินไหมทดแทนในกรณีอื่น ทั้งการทนทุกข์ทรมานหรือเสื่อมสุขภาพอนามัยและการมีรอยแผลเป็นติดตัวเป็นผลโดยตรงแห่งการละเมิดของจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยผู้กระทำละเมิดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา444 และ 446
การได้รับบาดเจ็บจนเป็นเหตุให้ต้องพักการศึกษาเล่าเรียนไม่มีกฎหมายในเรื่องละเมิดให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่แสดงตัว-แจ้งเหตุหลังเกิดอุบัติเหตุ แม้ไม่ผิดก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายจราจร
กรณีรถสองคันแล่นสวนทางกันและเกิดชนกันได้รับความเสียหายแม้ว่าความเสียหายนั้นจะมิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของจำเลยก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เมื่อจำเลยมิได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับไว้ จำเลยจึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 วรรคแรก และมีโทษตามมาตรา 160 วรรคแรก. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่แสดงตัว-แจ้งเหตุหลังเกิดอุบัติเหตุ แม้ไม่ได้เป็นฝ่ายผิด
กรณีรถสองคันแล่นสวนทางกันและเกิดชนกันได้รับความเสียหายแม้ว่าความเสียหายนั้นจะมิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของจำเลยก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เมื่อจำเลยมิได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับไว้ จำเลยจึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 78 วรรคแรกและมีโทษตามมาตรา 160 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่แสดงตัวและแจ้งเหตุหลังเกิดอุบัติเหตุ แม้ไม่ผิดเอง ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กรณีรถสองคันแล่นสวนทางกันและเกิดชนกันได้รับความเสียหายแม้ว่าความเสียหายนั้นจะมิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของจำเลยก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เมื่อจำเลยมิได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับไว้ จำเลยจึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 วรรคแรก และมีโทษตามมาตรา 160 วรรคแรก
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2531)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาชดใช้ทุนรัฐบาล ศาลใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายตามความเสียหายที่แท้จริง
เบี้ยปรับถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายจำนวนหนึ่ง อันอาจมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ทั้งคู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญาเพื่อให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามนั้น ฉะนั้นศาลจึงอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญานั้นลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยก – มาตรา 1350 และวิธีบังคับคดีตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2527
เมื่อคดีฟังได้ว่าที่ดินแปลงเดิมมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะแต่ภายหลังถูกแบ่งแยกเป็นเหตุให้ที่ดินที่ถูกแบ่งแยกออกมาซึ่งเป็นของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินของจำเลยซึ่งเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์มาแต่เดิมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 การที่โจทก์มีคำขอว่า หากจำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างก็ขอให้บุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอน โดยให้จำเลยชดใช้้ค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2527ออกใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 12 เพิ่มเติมมาตรา 296 ทวิเปลี่ยนแปลงวิธีการดังกล่าวเป็นว่า หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามวิธีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อจำเลยโอนเงินที่รับฝากไปให้ผู้อื่น โจทก์ต้องโต้แย้งประเด็นกฎหมายด้วย
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเงินที่โจทก์ฝากไว้กับจำเลยย่อมตกเป็นของจำเลย การที่จำเลยโอนเงินที่รับฝากไว้ไปให้บุคคลอื่นจึงเป็นเรื่องที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยในทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ อันเป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมาย ดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่เมื่อฎีกาของโจทก์คงโต้เถียงเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหรือไม่เท่านั้น มิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เงินที่โจทก์ฝากไว้กับจำเลยย่อมตกเป็นของจำเลยการที่จำเลยโอนเงินที่รับฝากไว้ไปให้บุคคลอื่นจึงเป็นเรื่องที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยในทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ อันเป็นการยกฟ้องโจทก์อาศัยข้อกฎหมายดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อฎีกาของโจทก์คงโต้เถียงเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหรือไม่เท่านั้น มิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากโจทก์โต้เถียงเฉพาะข้อเท็จจริง โดยไม่คัดค้านคำวินิจฉัยข้อกฎหมายของศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเงินที่โจทก์ฝากไว้กับจำเลยย่อมตกเป็นของจำเลย การที่จำเลยโอนเงินที่รับฝากไว้ไปให้บุคคลอื่นจึงเป็นเรื่องที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยในทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ อันเป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมาย ดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่เมื่อฎีกาของโจทก์คงโต้เถียงเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหรือไม่เท่านั้น มิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย