คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เปล่งวิทยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฟ้องเท็จต้องชัดเจน แม้เครื่องหมายการค้าแตกต่างเล็กน้อย หากมีเหตุผลสนับสนุนคำฟ้อง ไม่ถือเป็นความผิด
ความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 นั้น นอกจากจะต้องเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่า กระทำผิดอาญาแล้ว ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ด้วย เมื่อปรากฏว่าเหตุผลที่จำเลยกล่าวอ้างในคำฟ้องในคดีอาญาที่จำเลยฟ้องโจทก์มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สนับสนุนและเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้เพียงเล็กน้อย แม้จำเลยจะอ้างว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยประทับลงบนผ้าในผ้าและในฉลาก เป็นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้ ก็ยังไม่พอฟังว่า จำเลยมีเจตนาฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฟ้องเท็จต้องชัดเจน แม้เครื่องหมายการค้าต่างเล็กน้อย ไม่ถือเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ
ความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 นั้น นอกจากจะต้องเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่า กระทำผิดอาญาแล้ว ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ด้วย เมื่อปรากฏว่าเหตุผลที่จำเลยกล่าวอ้างในคำฟ้องในคดีอาญาที่จำเลยฟ้องโจทก์มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สนับสนุนและเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้เพียงเล็กน้อย แม้จำเลยจะอ้างว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยประทับลงบนผ้าในผ้าและในฉลาก เป็นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้ ก็ยังไม่พอฟังว่า จำเลยมีเจตนาฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอสังหาริมทรัพย์: การได้มาโดยครอบครอง vs. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและสุจริต
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและนำยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง
คดีก่อนผู้ร้องฟ้องจำเลยอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยจำเลยขายให้ คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นโมฆะ ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ คดีนี้ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์อ้างว่า ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง เหตุที่อ้างได้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคนละเหตุกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิมที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมิได้ฟ้องโจทก์ด้วยนั้นประเด็นมีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหรือไม่ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องผู้ร้องพิพาทกับโจทก์ ประเด็นมีว่าจะปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้หรือไม่ จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีเดิม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์, เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา, สิทธิโดยสุจริต, การยึดทรัพย์, การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและนำยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง
คดีก่อนผู้ร้องฟ้องจำเลยอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยจำเลยขายให้ คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นโมฆะ ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ คดีนี้ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์อ้างว่า ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง เหตุที่อ้างได้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคนละเหตุกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิมที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมิได้ฟ้องโจทก์ด้วยนั้นประเด็นมีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหรือไม่ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องผู้ร้องพิพาทกับโจทก์ ประเด็นมีว่าจะปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้หรือไม่ จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีเดิม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองปรปักษ์ vs. เจ้าหนี้ที่บังคับคดี: การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยไม่จดทะเบียนและผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสองบัญญัติว่า สิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียนสิทธิต้องห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้นำยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ที่ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิแล้วตามความในมาตราดังกล่าว โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งมีชื่อ จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม 23 โฉนด เพื่อบังคับตามคำพิพากษาระหว่างบังคับคดี ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ต่อมาผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้อ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 23 โฉนด โดยการครอบครองปรปักษ์เช่นกัน ดังนี้มิใช่เรื่องฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 เพราะคำร้องขัดทรัพย์เป็นเรื่องผู้ร้องพิพาทกับโจทก์และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จะปล่อยทรัพย์ที่ยึดหรือไม่ ส่วนคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลย มิได้ฟ้องโจทก์ด้วยทั้งมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินทั้ง 23 โฉนด เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหรือไม่ ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งงดสืบพยานของผู้ร้องแล้วพิพากษายกคำร้องเสียสมควรฟังข้อเท็จจริงต่อไปให้สิ้นกระแสความก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขมาตรา 91 ประมวลกฎหมายอาญา: โทษจำคุกตลอดชีวิตไม่เปลี่ยนเป็น 50 ปี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้ลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกที่ลงต้องไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ มิได้บัญญัติว่าให้เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปีดังมาตรา 91 เดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันและศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานแรกให้จำคุกตลอดชีวิตแล้ว จึงต้องนำโทษในความผิดฐานอื่นมารวมด้วยโดยไม่เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี แต่คงจำคุกจำเลยเพียงตลอดชีวิตตามมาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีเดิมในประเด็นที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ในคดีก่อนโจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองและ น. ว่าจำเลยที่ 2ไม่มีอำนาจประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือนจากโจทก์และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 3717/2518 ที่แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือนจากโจทก์เป็นคำสั่งที่ถูกต้องกับต้นฉบับและรับฟังได้ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้อีกโดยขอให้พิพากษาว่าคำสั่งกรุงเทพมหานครฉบับดังกล่าวใช้ไม่ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือนจำนวนเดิม ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ: ศาลยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีเดิม โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่ได้
คดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ยังไม่ได้มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทน บ. ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีเรื่องหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ให้ชำระหนี้โจทก์เหมือนคดีก่อนได้อีก ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 เพราะในคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ: ศาลวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องยังไม่ถึงประเด็นเนื้อหาของคดี ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่ได้
คดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ยังไม่ได้มอบอำนาจให้บ. ฟ้องคดีแทน บ. ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีเรื่องหนี้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ให้ชำระหนี้โจทก์เหมือนคดีก่อนได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 เพราะในคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำหลังศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีอำนาจฟ้อง มิได้วินิจฉัยเนื้อหาของคดี โจทก์มีสิทธิฟ้องใหม่ได้
คดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ยังไม่ได้มอบอำนาจให้บ. ฟ้องคดีแทน บ. ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีเรื่องหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ให้ชำระหนี้โจทก์เหมือนคดีก่อนได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 เพราะในคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี.
of 33