พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารเกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
อาคารของจำเลยมีพื้นที่ทั้งหมดของห้องที่มีชั้นลอย 48 ตารางเมตรมีชั้นลอยพื้นที่ 16 ตารางเมตรอยู่แล้ว จำเลยก่อสร้างเพิ่มเติมชั้นลอยอีกเท่าหนึ่งรวมเป็นเนื้อที่ 32 ตารางเมตร จึงเกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้องนั้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 35 แล้ว
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงต่อเติมฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้
การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใด จำเลยจึงจะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารหาได้ไม่
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงต่อเติมฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้
การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใด จำเลยจึงจะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารเกินร้อยละที่กฎหมายกำหนด และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
อาคารของจำเลยมีพื้นที่ทั้งหมดของห้องที่มีชั้นลอย 48ตารางเมตรมีชั้นลอยพื้นที่ 16 ตารางเมตรอยู่แล้ว จำเลยก่อสร้างเพิ่มเติมชั้นลอยอีกเท่าหนึ่งรวมเป็นเนื้อที่ 32 ตารางเมตรจึงเกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้องนั้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ35 แล้ว
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงต่อเติมฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้
การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใด จำเลยจึงจะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารหาได้ไม่.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงต่อเติมฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้
การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใด จำเลยจึงจะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: ครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย แม้มอบให้ผู้อื่นยังไม่สำเร็จ
จำเลยซุกซ่อนเฮโรอีนไว้ในขนมปัง แล้วนำไปมอบให้สิบเวร เพื่อมอบให้แก่ จ.ซึ่งถูกควบคุมอยู่ที่ห้องควบคุม สิบเวรได้ตรวจค้นขนมปังพบเฮโรอีนของกลางเสียก่อนยังไม่ทันได้ส่งมอบขนมปังนั้นให้แก่ จ.ดังนี้จำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยมุ่งประสงค์จะให้แก่ จ. เป็นข้อสำคัญ และเฮโรอีนของกลางมีจำนวนเดียว มิใช่มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายขาดตอนจากการพยายามจำหน่ายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกกรณีผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นปฏิปักษ์: เลือกผู้จัดการมรดกเหมาะสม
ในกรณีที่มีแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้นขอเป็นผู้จัดการมรดก และมีพฤติการณ์ว่าคนทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน การจัดการมรดกคงจะไม่อาจถือเอาเสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ได้หากให้คนทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันย่อมจะไม่เป็นผลดีแก่กองมรดกและแก่ทายาทของผู้ตาย โดยเหตุนี้ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยพิจารณาตั้งผู้ที่มีความเหมาะสมมากกว่า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาความเหมาะสมจากประสบการณ์และความเป็นกลางเพื่อประโยชน์สูงสุดของกองมรดก
กองมรดกมีแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้นที่ขอเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านมีพฤติการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันหากให้ร่วมกันจัดการมรดกคงไม่อาจถือเอาเสียงข้างมากได้และไม่เป็นผลดีแก่กองมรดก จึงสมควรตั้งผู้จัดการมรดกเพียงคนเดียว ผู้ร้องเป็นบุตรคนโต ของผู้ตายและเป็นพี่ของทายาททุกคน มีอายุ47 ปี เคยช่วยเหลือผู้ตายดูแล กิจการโรงแรมซึ่งเป็นทรัพย์มรดกอยู่นานประมาณ 10 ปี เคยเป็นเทศมนตรี สมาชิกสภาจังหวัด ประธานสภาจังหวัดและเคยดำเนินธุรกิจโดยเป็นผู้จัดการบริษัทเงินทุนนานประมาณ 8 ปีทั้งบรรดาทายาทส่วนมากของผู้ตายต่างยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้คัดค้านแม้จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแต่อายุเพียง 26 ปี เมื่อเทียบกับผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องมีประสบการณ์ในชีวิต และการทำงานมากกว่าผู้คัดค้าน และตามข้อนำสืบของผู้คัดค้านยังฟังไม่ชัดแจ้งว่า ผู้ร้องมีเจตนาที่จะเบียดบังและยักย้ายทรัพย์มรดกหรือมีความประพฤติไม่ดีต่อกองมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกมากกว่าผู้คัดค้าน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกกรณีผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นปฏิปักษ์กัน ศาลเลือกผู้จัดการมรดกที่เหมาะสม
ในกรณีที่มีแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้น ขอเป็นผู้จัดการมรดก และมีพฤติการณ์ว่าคนทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน การจัดการมรดกคงจะไม่อาจถือเอาเสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ได้หากให้คนทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันย่อมจะไม่เป็นผลดีแก่กองมรดกและแก่ทายาทของผู้ตาย โดยเหตุนี้ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยพิจารณาตั้งผู้ที่มีความเหมาะสมมากกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้างจ่ายในศาล: สิทธิเรียกรับเงินภายใน 5 ปี หากเลยกำหนดตกเป็นของแผ่นดิน
จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์เป็นงวด ๆ ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิมารับเงินแต่ละงวดได้ทันทีหลังจากจำเลยนำเงินมาวาง เมื่อโจทก์ไม่มารับเงินงวดใดเงินงวดนั้น ๆ ก็เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล การที่โจทก์เพิกเฉยไม่เรียกเอาเสียภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางศาล เงินงวดนั้น ๆ จึงตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางศาลค้างจ่าย ผู้มีสิทธิไม่เรียกภายใน 5 ปี ตกเป็นของแผ่นดิน
จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์เป็นงวด ๆ ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิมารับเงินแต่ละงวดได้ทันทีหลังจากจำเลยนำเงินมาวาง เมื่อโจทก์ไม่มารับเงินงวดใดเงินงวดนั้น ๆ ก็เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล การที่โจทก์เพิกเฉยไม่เรียกเอาเสียภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางศาลเงินงวดนั้น ๆ จึงตกเป็นของแผ่นดิน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีไม่มีทุนทรัพย์: การคืนค่าใช้จ่ายที่เสียเกินเมื่อมีการดำเนินการเสมือนคดีมีทุนทรัพย์
คดีที่โจทก์ขอให้อายัดเงินของจำเลยต่อผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และมีการโต้แย้งระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ว่าเงินที่ขออายัดดังกล่าวอยู่ที่ผู้ร้องหรือไม่ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และโจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาในชั้นอุทธรณ์และฎีกาแก่ผู้ร้องและโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีไม่มีทุนทรัพย์: การคืนค่าใช้จ่ายที่เสียเกินมา
คดีที่โจทก์ขอให้อายัดเงินของจำเลยต่อผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และมีการโต้แย้งระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ว่าเงินที่ขออายัดดังกล่าวอยู่ที่ผู้ร้องหรือไม่ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และโจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาในชั้นอุทธรณ์และฎีกาแก่ผู้ร้องและโจทก์