คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เปล่งวิทยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายต่อทันที ไม่ถือว่ามีเจตนาครอบครองเพื่อตนเอง
จำเลยเพียงแต่รับเฮโรอีนจาก ส. แล้วมาจำหน่ายต่อให้สายลับทันที มิได้ยึดถือเฮโรอีนไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน จึงไม่ผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติด: การส่งมอบทันทีไม่ถือเป็นการครอบครองเพื่อตนเอง
จำเลยเพียงแต่รับเฮโรอีนจาก ส. แล้วมาจำหน่ายต่อให้สายลับทันที มิได้ยึดถือเฮโรอีนไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน จึงไม่ผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันจำหน่ายเฮโรอีน: พฤติการณ์ร่วม, พยานหลักฐาน, และการโต้แย้งความน่าเชื่อถือ
การซื้อขายเฮโรอีนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จำเลยที่ 1 อ้างว่าเพิ่งรู้จักจำเลยที่ 2 ในวันเกิดเหตุ จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 จะกล้าบอกเรื่องการขายเฮโรอีนให้จำเลยที่ 1 ทราบและชวนจำเลยที่ 1 ไปรับเงินค่าขายเฮโรอีนด้วย การที่จำเลยที่ 1 ร่วมเดินทางไปยังจุดนัดพบซื้อขายเฮโรอีนกับจำเลยที่ 2จึงน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ต้องมีส่วนเป็นเจ้าของเฮโรอีนของกลางและต้องการไปรับเงินค่าขายเฮโรอีนตามที่โจทก์นำสืบ(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คโดยเจตนาทุจริตหรือไม่มีเงินในบัญชี และความผิดฐานห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็ค รวมถึงประเด็นอายุความ
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คว่ามีคำสั่งให้ระงับการจ่ายนั้น หาใช่ว่าจะต้องเป็นความผิดฐานห้ามธนาคารไม่ให้ใช้เงินตามเช็คโดยทุจริตเสมอไปไม่ แต่อาจเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค หรือออกเช็คโดยในขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้หรือออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้นก็ได้
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้น หากนับตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คถึงวันฟ้องยังไม่เกินสามเดือน คดีก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คโดยเจตนาทุจริตหรือไม่มีเงินในบัญชี และการระงับการจ่ายเช็ค ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คว่ามีคำสั่งให้ระงับการจ่ายนั้นหาใช่ว่าจะต้องเป็นความผิดฐานห้ามธนาคารไม่ให้ใช้เงินตามเช็คโดยทุจริตเสมอไปไม่แต่อาจเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือออกเช็คโดยในขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้หรือออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้นก็ได้
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้นหากนับตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คถึงวันฟ้องยังไม่เกินสามเดือน คดีก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คโดยเจตนาทุจริตหรือไม่มีเงินในบัญชี และการสั่งห้ามธนาคารจ่ายเช็ค ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คว่ามีคำสั่งให้ระงับการจ่ายนั้นหาใช่ว่าจะต้องเป็นความผิดฐานห้ามธนาคารไม่ให้ใช้เงินตามเช็คโดยทุจริตเสมอไปไม่แต่อาจเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือออกเช็คโดยในขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้หรือออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้นก็ได้ คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้นหากนับตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คถึงวันฟ้อง ยังไม่เกินสามเดือนคดีก็ไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: ศาลมีอำนาจปรับปรุงสัญญาและจำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยสัญญากู้ระบุว่า ดอกเบี้ยตามกฎหมาย แต่โจทก์นำสืบว่า ขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ต่อมาลดลงเหลือร้อยละ 3 ต่อเดือนจำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย จำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษ จึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้อง เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: การชำระหนี้โดยสมัครใจไม่มีสิทธิเรียกคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยสัญญากู้ระบุว่า ดอกเบี้ยตามกฎหมาย แต่โจทก์นำสืบว่า ขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ต่อมาลดลงเหลือร้อยละ 3 ต่อเดือน จำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย จำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษ จึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้อง เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเป็นโมฆะ, การชำระหนี้โดยไม่มีความผูกพัน, และการหักหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยสัญญากู้ระบุว่าดอกเบี้ยตามกฎหมายแต่โจทก์นำสืบว่าขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ5ต่อเดือนต่อมาลดลงเหลือร้อยละ3ต่อเดือนจำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายจำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษจึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้องเมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช2475มาตรา3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของกรรมการสมาคม/มูลนิธิ: ผู้มีอำนาจฟ้องคือผู้จัดการ ไม่ใช่กรรมการ
เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิของสมาคมและมูลนิธิผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนคือผู้จัดการสมาคมและมูลนิธิซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลกรรมการสมาคมและมุลนิธิไม่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดี การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรมเพราะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา112หากแต่เป็นกรณีที่ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่แล้วและถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55ดังนั้นแม้ตราสารของมูลนิธิจะให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการของมูลนิธิทำนิติกรรมของมูลนิธิได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
of 33