พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวัน-สถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน: อำนาจนายอำเภอและหลักการแปลกฎหมาย
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457มาตรา 19ข้อ 2 ที่แก้ไขแล้ว บัญญัติว่า ถ้าผู้ใหญ่บ้านหมู่ใดว่างลงให้คัดเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบการว่างนั้น สำหรับวัน เวลาและที่เลือกผู้ใหญ่บ้านมีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวข้อ 6กำหนดให้นายอำเภอประกาศให้ราษฎรในหมู่บ้านที่จะทำการเลือกผู้ใหญ่บ้านทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก ตามกฎหมายและข้อบังคับนั้นมิได้กล่าวถึงการเลื่อนการเลือกและการเปลี่ยนที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ผิดกับการเลือกกำนันซึ่งมีระเบียบกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกกำนันต้องกระทำก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ดังนั้นการเปลี่ยนที่เลือกและการเลื่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แต่ควรประกาศล่วงหน้าให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันก่อนวันเลือก และเลือกให้ทันภายในกำหนดสิบห้าวัน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การแปลกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ออกตามกฎหมายต้องแปลให้เกิดผล โดยดูถึงเจตนาในการออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับนั้น ๆ ด้วย ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้นายอำเภอประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้ราษฎรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก จึงหมายถึงการประกาศครั้งแรก
จำเลยประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน 2526 กำหนดเลือกที่บ้านนาย ส.ในวันที่ 12เมษายน 2526เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งนับจากวันประกาศครบ 7 วันแล้วการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนที่เลือกเป็นที่โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ และในวันที่ 12 เมษายน 2526ได้ประกาศเลื่อนวันเลือกเป็นวันที่ 15 เมษายน 2526 ก็เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมและเป็นเวลาล่วงหน้าเพียงพอให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันแล้วกรณีถือได้ว่าจำเลยได้ประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนวันทำการเลือก.
จำเลยประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน 2526 กำหนดเลือกที่บ้านนาย ส.ในวันที่ 12เมษายน 2526เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งนับจากวันประกาศครบ 7 วันแล้วการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนที่เลือกเป็นที่โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ และในวันที่ 12 เมษายน 2526ได้ประกาศเลื่อนวันเลือกเป็นวันที่ 15 เมษายน 2526 ก็เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมและเป็นเวลาล่วงหน้าเพียงพอให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันแล้วกรณีถือได้ว่าจำเลยได้ประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนวันทำการเลือก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายอำเภอในการเปลี่ยนแปลงวันเวลาและสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน โดยยังคงเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พ.ร.บ. ลักษณะ ปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 19 ข้อ 2ที่แก้ไขแล้ว และข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ. 2524 ข้อ 6 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวกำหนดให้นายอำเภอประกาศกำหนดวันเวลาและที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้ราษฎรในหมู่บ้านทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือกแต่มิได้กล่าวถึงการเลื่อน การเลือกและการเปลี่ยนที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไว้ นายอำเภอจึงมีอำนาจประกาศเปลี่ยนที่เลือกผู้ใหญ่บ้านและประกาศเลื่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมดังนี้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ยกเลิกการเลือกผู้ใหญ่บ้าน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายอำเภอในการเปลี่ยนแปลงวันเวลาและสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ต้องคำนึงถึงเจตนาของกฎหมายและให้ราษฎรทราบ
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 19 ข้อ 2 ที่แก้ไขแล้ว บัญญัติว่า ถ้าผู้ใหญ่บ้านหมู่ใดว่างลงให้คัดเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบการว่างนั้น สำหรับวัน เวลาและที่เลือกผู้ใหญ่บ้านมีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวข้อ 6กำหนดให้นายอำเภอประกาศให้ราษฎรในหมู่บ้านที่จะทำการเลือกผู้ใหญ่บ้านทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก ตามกฎหมายและข้อบังคับนั้นมิได้กล่าวถึงการเลื่อนการเลือกและการเปลี่ยนที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ผิดกับการเลือกกำนันซึ่งมีระเบียบกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกกำนันต้องกระทำก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ดังนั้นการเปลี่ยนที่เลือกและการเลื่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แต่ควรประกาศล่วงหน้าให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันก่อนวันเลือก และเลือกให้ทันภายในกำหนดสิบห้าวัน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การแปลกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ออกตามกฎหมายต้องแปลให้เกิดผล โดยดูถึงเจตนาในการออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับนั้น ๆ ด้วย ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้นายอำเภอประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้ราษฎรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก จึงหมายถึงการประกาศครั้งแรก
จำเลยประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน 2526 กำหนดเลือกที่บ้านนาย ส.ในวันที่ 12เมษายน 2526 เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งนับจากวันประกาศครบ 7 วันแล้วการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนที่เลือกเป็นที่โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ และในวันที่ 12 เมษายน 2526 ได้ประกาศเลื่อนวันเลือกเป็นวันที่ 15 เมษายน 2526 ก็เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมและเป็นเวลาล่วงหน้าเพียงพอให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันแล้วกรณีถือได้ว่าจำเลยได้ประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนวันทำการเลือก.
จำเลยประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน 2526 กำหนดเลือกที่บ้านนาย ส.ในวันที่ 12เมษายน 2526 เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งนับจากวันประกาศครบ 7 วันแล้วการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนที่เลือกเป็นที่โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ และในวันที่ 12 เมษายน 2526 ได้ประกาศเลื่อนวันเลือกเป็นวันที่ 15 เมษายน 2526 ก็เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมและเป็นเวลาล่วงหน้าเพียงพอให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันแล้วกรณีถือได้ว่าจำเลยได้ประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนวันทำการเลือก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา และการกำหนดโทษกระทงความผิด
ข้อหาพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ นั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้จะมิได้กำหนดโทษไว้แต่ความผิดฐานดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ดังนี้ จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ศาลล่างพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ไม่กำหนดโทษ
ข้อหาพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ นั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้จะมิได้กำหนดโทษไว้แต่ความผิดฐานดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ดังนี้ จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการถือเอาสาระสำคัญของสัญญาเช่าซื้อ การบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า การชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญของสัญญา ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันหรือผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่สองงวดขึ้นไป ให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันยกเลิกเพิกถอนทันที แต่ในทางปฏิบัติเมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ตรงตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาตลอดมา โจทก์ก็ยอมรับชำระโดยมิได้อิดเอื้อน จึงเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลย โจทก์ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 กล่าวคือต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดที่ติดค้างอยู่ต่อเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้นโจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของคู่สัญญาสำคัญกว่าข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ แม้มีข้อกำหนดให้สัญญาเลิกได้ทันที หากมีการยอมรับชำระโดยไม่โต้แย้ง
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า การชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญของสัญญา ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันหรือผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่สองงวดขึ้นไป ให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันยกเลิกเพิกถอนทันที แต่ในทางปฏิบัติเมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ตรงตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาตลอดมา โจทก์ก็ยอมรับชำระโดยมิได้อิดเอื้อน จึงเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลย โจทก์ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 กล่าวคือต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดที่ติดค้างอยู่ต่อเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้นโจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และขอบเขตการอุทธรณ์/ฎีกาในประเด็นที่ยุติแล้ว
เดิมจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ซึ่งมีโจทก์ที่ 1 เป็นโจทก์ร่วมด้วย ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ อ.ถึงแก่ความตายคดีถึงที่สุด การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่1 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาท ส่วนจำเลยที่ 2,3 มิได้เป็นคู่ความในคดีอาญา คำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2,3 ฉะนั้นเมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2,3 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาท จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2,3 หรือไม่ โจทก์ไม่อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ประมาทหรือไม่ ประเด็นนี้จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2,3 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะรับวินิจฉัยและโจทก์ย่อมฎีกาต่อมาอีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และขอบเขตการอุทธรณ์ประเด็นความประมาท
เดิม จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ซึ่งมีโจทก์ที่ 1 เป็นโจทก์ร่วมด้วย ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ อ. ถึงแก่ความตายคดีถึงที่สุด การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาท ส่วนจำเลยที่ 2,3 มิได้เป็นคู่ความในคดีอาญา คำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2,3 ฉะนั้นเมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า พยานหลักฐานของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2,3 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2,3หรือไม่ โจทก์ไม่อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ประมาทหรือไม่ประเด็นนี้จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2,3 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะรับวินิจฉัยและโจทก์ย่อมฎีกาต่อมาอีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้เอกสารราชการหลายฉบับเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษตามความผิดแต่ละกรรม
การปลอมบัตรประจำตัวประชาชน ใบสำคัญทะเบียนทหารและสำเนาทะเบียนคนเกิดซึ่งเป็นเอกสารราชการต่างวาระกัน เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 3 กระทง เมื่อจำเลยนำเอกสารปลอมดังกล่าวไปใช้ต้องลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้แต่ละกระทงที่ปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสองแม้จำเลยจะได้ใช้เอกสารปลอมดังกล่าวในคราวเดียวกันแต่ก็เป็นการใช้เอกสารคนละประเภทกัน ต้องมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้เอกสารราชการปลอมรวม 3 กระทง
การที่จำเลยทำปลอมรอยตราของเจ้าพนักงานและประทับรอยตราปลอมในใบสำคัญทะเบียนทหารที่จำเลยปลอมและนำไปใช้เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ทำปลอมและใช้รอยตราปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,268,251,252 แต่ลงโทษจำเลยตามมาตรา251ได้เพียงกระทงเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 263
จำเลยปลอมและใช้สำเนาทะเบียนคนเกิดซึ่งประทับรอยตราปลอมเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม และใช้รอยตราปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,268,252 ต้องลงโทษตามมาตรา252ประกอบด้วยมาตรา 251 ซึ่งเป็นบทหนัก.
การที่จำเลยทำปลอมรอยตราของเจ้าพนักงานและประทับรอยตราปลอมในใบสำคัญทะเบียนทหารที่จำเลยปลอมและนำไปใช้เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ทำปลอมและใช้รอยตราปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,268,251,252 แต่ลงโทษจำเลยตามมาตรา251ได้เพียงกระทงเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 263
จำเลยปลอมและใช้สำเนาทะเบียนคนเกิดซึ่งประทับรอยตราปลอมเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม และใช้รอยตราปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,268,252 ต้องลงโทษตามมาตรา252ประกอบด้วยมาตรา 251 ซึ่งเป็นบทหนัก.