คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เปล่งวิทยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4054/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีของหญิงมีสามีและประเด็นความสมบูรณ์ของฟ้องที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์เป็นหญิงมีสามีแต่โจทก์ไม่ได้แนบหนังสือให้ความยินยอมมาท้ายคำฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยมิได้อ้างเหตุแห่งการนี้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรส จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479 จำเลยจะอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1475 วรรคท้ายมาใช้โดยจำเลยมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งหาได้ไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 มิได้บังคับให้มีการชี้สองสถานทุกคดีไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วก็ย่อมมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรับมรดกเป็นทายาทโดยธรรมมีผลเหนือพินัยกรรม และถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินจำนวน 5 ไร่ ให้แก่จำเลยและจำเลยก็ทราบดีเพราะได้เซ็นชื่อเป็นผู้รับทรัพย์ในพินัยกรรมด้วย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยไปยื่นคำร้องขอรับมรดกที่ดินนั้นปรากฏว่ามีบันทึกข้อตกลงของทายาทว่าโจทก์และจำเลยมิได้ขอรับมรดกตามพินัยกรรม แต่ขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมและมีทายาทของผู้ตายอีก 2 คนขอสละมรดกเจ้าพนักงานที่ดินจึงได้จดทะเบียนลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท โดยมีโจทก์และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกัน ในกรณีเช่นนี้ถือว่าตามคำร้องขอรับมรดกและบันทึกข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์จำเลยซึ่งขอรับมรดกอย่างทายาทโดยธรรมเพียง 2 คนย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละครึ่งหนึ่งและต่างก็ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันและแทนกัน จำเลยจึงต้องแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ผิดกฎหมาย: กฎหมายใช้ย้อนหลังไม่ได้กับผู้ซื้อทรัพย์สิน
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แล้วไม่รื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจนถูกดำเนินคดีและ เปรียบเทียบปรับไปแล้ว โจทก์ก็มิใช้อำนาจรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้าง ผิดแบบนั้นตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 มาตรา 11 ทวิให้อำนาจไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายอาคารนั้นให้แก่จำเลยที่1 โจทก์ก็ยังมิได้รื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบนั้นแต่ประการใด คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ถูกยกเลิกและใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับซึ่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้แม้มาตรา 40 และ มาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารส่วนที่สร้างผิดแบบนั้นได้ก็จะมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารส่วนที่ผิดแบบนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 อนึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วย การชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผิดแบบและการใช้กฎหมายย้อนหลัง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แล้วไม่รื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจนถูกดำเนินคดีและ เปรียบเทียบปรับไปแล้ว โจทก์ก็มิใช้อำนาจรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้าง ผิดแบบนั้นตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 มาตรา11ทวิให้อำนาจไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายอาคารนั้นให้แก่จำเลยที่1 โจทก์ก็ยังมิได้รื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบนั้นแต่ประการใด คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ถูกยกเลิกและใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 บังคับซึ่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้แม้มาตรา 40 และ มาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารส่วนที่สร้างผิดแบบนั้นได้ก็จะมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารส่วนที่ผิดแบบนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 อนึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วย การชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3959/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาจำนองไม่ใช่การอำพรางสัญญาซื้อขาย หากทำตามข้อตกลงได้
โจทก์ทั้งสามทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทจากจำเลย แต่ยังจดทะเบียนโอนกันไม่ได้เพราะผู้เช่าที่ดินพิพาทคัดค้าน โจทก์จำเลย ตกลงกัน ให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่โจทก์เพื่อนำเงินไปไถ่ การขายฝากที่ดินพิพาทจาก จ. และให้จำเลยไปดำเนินการฟ้องขับไล่ ผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทก่อนแล้วจำเลยจะจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อไปเมื่อคู่กรณีเจรจาตกลงกันเช่นนี้คู่กรณี ทั้งสองฝ่ายสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงที่ตกลงกันนั้นได้ทั้งสัญญาจำนอง และสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามเจตนาที่ตกลงกัน มิใช่ไม่สามารถ ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาจำนองอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ดังนั้น สัญญาจำนองจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท สัญญาจำนองย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3959/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาจำนองไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อขาย หากสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
โจทก์ทั้งสามทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทจากจำเลย แต่ยังจดทะเบียนโอนกันไม่ได้เพราะผู้เช่าที่ดินพิพาทคัดค้าน โจทก์จำเลยตกลงกัน ให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่โจทก์เพื่อนำเงินไปไถ่ การขายฝากที่ดินพิพาทจาก จ. และให้จำเลยไปดำเนินการฟ้องขับไล่ ผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทก่อนแล้วจำเลยจะจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อไป เมื่อคู่กรณีเจรจาตกลงกันเช่นนี้คู่กรณี ทั้งสองฝ่ายสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงที่ตกลงกันนั้นได้ ทั้งสัญญาจำนอง และสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามเจตนาที่ตกลงกัน มิใช่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาจำนองอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ดังนั้น สัญญาจำนองจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท สัญญาจำนองย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อขายเงินเชื่อ: การซื้อขายโดยไม่มีใบสั่งซื้อที่ถูกต้อง และการชำระหนี้ตามงบประมาณ
โจทก์เป็นพ่อค้าเรียกค่าส่งมอบสินค้าประเภทเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ จากจำเลย ซึ่งได้รับมอบสินค้าจากโจทก์ในระหว่างเดือนตุลาคม 2519 ถึงเดือนมีนาคม 2520 โดยไม่มีใบสั่งซื้อที่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ คงมีแต่ใบยืมของชั่วคราวอันเป็นการสมัครใจของโจทก์เองโดยไม่คำนึงถึง ระเบียบของทางราชการจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 20 สิงหาคม 2520แจ้งให้ โจทก์และผู้อื่นแจ้งหนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยภายในวันที่ 25 สิงหาคม 2520 หากพ้นกำหนดแล้วจำเลยจะไม่รับผิดชอบและถือว่าเป็นหนี้สินส่วนตัว ซึ่งหมายความว่าถ้ามีการสั่งซื้อโดยถูกต้องก็จะดำเนินการให้ภายใน สิ้นเดือนกันยายน 2520 ซึ่งเป็นปีงบประมาณมิใช่เป็นการตกลงที่จะ ชำระให้ เมื่อมีงบประมาณโดยไม่มีกำหนดเวลาและการที่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 19กันยายน2521แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากำลังตรวจสอบหนี้สินรายพิพาทอยู่ หากมีหลักฐานเชื่อถือได้ก็จะพิจารณาดำเนินการต่อไปตามความเหมาะสมนั้น แปลไม่ได้ว่า เป็นการขอผัดผ่อนหรือเป็นการรับสภาพหนี้โจทก์นำคดีมาฟ้อง เมื่อวันที่11สิงหาคม 2523 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อขายเงินเชื่อภาครัฐ: การซื้อขายโดยไม่มีใบสั่งซื้อที่ถูกต้องตามระเบียบ และการชำระหนี้เมื่อมีงบประมาณ
โจทก์เป็นพ่อค้าเรียกค่าส่งมอบสินค้าประเภทเครื่องเขียนและแบบพิมพ์จากจำเลย ซึ่งได้รับมอบสินค้าจากโจทก์ในระหว่างเดือนตุลาคม 2519 ถึงเดือนมีนาคม 2520 โดยไม่มีใบสั่งซื้อที่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการคงมีแต่ใบยืมของชั่วคราว อันเป็นการสมัครใจของโจทก์เองโดยไม่คำนึงถึงระเบียบของทางราชการ จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 20 สิงหาคม 2520 แจ้งให้โจทก์และผู้อื่นแจ้งหนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยภายในวันที่ 25 สิงหาคม 2520 หาพ้นกำหนดแล้วจำเลยจะไม่รับผิดชอบและถือว่าเป็นหนี้สินส่วนตัว ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีการสั่งซื้อโดยถูกต้องก็จะดำเนินการให้ภายในสิ้นเดือนกันยายน 2520 ซึ่งเป็นปีงบประมาณมิใช่เป็นการตกลงที่จะชำระให้เมื่อมีงบประมาณโดยไม่มีกำหนดเวลา และการที่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 19 กันยายน 2521 แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากำลังตรวจสอบหนี้สินรายพิพาทอยู่ หากมีหลักฐานเชื่อถือได้ก็จะพิจารณาดำเนินการต่อไปตามความเหมาะสมนั้น แปลไม่ได้ว่าเป็นการขอผัดผ่อนหรือเป็นการรับสภาพหนี้โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2523 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่: การฟ้องขอถอนชื่อออกจากที่ดินและขอให้ใส่ชื่อใหม่ถือเป็นคดีที่สามารถคำนวณราคาเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากที่พิพาทและให้ใส่ชื่อโจทก์ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ดังเดิมจำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นที่ดินของจำเลย ดังนี้ถ้าโจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้ที่พิพาทคืนมาคดีของโจทก์จึงเป็น คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขอคืนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ถือเป็นคดีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากที่พิพาทและให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ดังเดิม จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นที่ดินของจำเลย ดังนี้ถ้าโจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้ที่พิพาทคืนมา คดีของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง
of 33