พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถบรรทุกไม่รู้เห็นการกระทำผิดฐานขนย้ายสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต สิทธิในการขอคืนของกลาง
จำเลยว่าจ้างให้ ท. ขับรถยนต์บรรทุกของผู้ร้องบรรทุกช้าง2เชือก ผ่านบริเวณด่านกักสัตว์ จึงถูกจับกุมดำเนินคดีฐานไม่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ มาตรา 4,34,49 ในชั้นร้องขอคืนของกลางจำเลยเบิกความเป็นพยานผู้ว่า จำเลยเป็นผู้ว่าจ้าง ท. เอง ผู้ร้องมิได้รู้เห็นในการว่าจ้างบรรทุกช้างของจำเลย ซึ่งจำเลยเป็นพยานคนกลางไม่มีส่วนได้เสียกับการยึดรถยนต์บรรทุกของกลาง จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ อีกทั้งความผิดคดีนี้อยู่ที่จำเลยไม่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายช้าง หาใช่ความผิดอยู่ที่การเคลื่อนย้ายไม่ กรณีจึงเชื่อได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ต้องคืนรถยนต์บรรทุกของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเคลื่อนย้ายซากสัตว์เข้าเขตโรคระบาดที่มีใบอนุญาตแต่ขัดเงื่อนไข ศาลยกฟ้องเนื่องจากความผิดตามที่ฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำซากสัตว์เคลื่อนย้ายผ่านเข้ามาในเขตโรคระบาดสัตว์ และสงสัยว่ามีโรคระบาดสัตว์โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ มาตรา 17 และ 42 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเคลื่อนย้ายซากสัตว์ผ่านเข้ามาในเขตโรคระบาดและสงสัยว่ามีโรคระบาดสัตว์โดยมีหนังสืออนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่ใบอนุญาตดังกล่าวอนุญาตให้เคลื่อนย้ายซากสัตว์เข้าในหรือผ่านได้เฉพาะเขตปลอดโรคระบาด ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงฝ่าฝืนเงื่อนไขในใบอนุญาตอันเป็นความผิดตามมาตรา 34 วรรค 2 และ 49 ไม่เป็นความผิดตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง ศาลจะลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 3 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเคลื่อนย้ายซากสัตว์เข้าเขตโรคระบาดที่มีใบอนุญาตแต่ขัดเงื่อนไข ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์มาตรา 34 มิใช่ความผิดตามมาตราที่ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำซากสัตว์เคลื่อนย้ายผ่านเข้ามาในเขตโรคระบาดสัตว์และสงสัยว่ามีโรคระบาดสัตว์โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ มาตรา 17 และ 42 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเคลื่อนย้ายซากสัตว์ผ่านเข้ามาในเขตโรคระบาดและสงสัยว่ามีโรคระบาดสัตว์โดยมีหนังสืออนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่ใบอนุญาตดังกล่าวอนุญาตให้เคลื่อนย้ายซากสัตว์เข้าในหรือผ่านได้เฉพาะเขตปลอดโรคระบาด ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงฝ่าฝืนเงื่อนไขในใบอนุญาตอันเป็นความผิดตามมาตรา 34 วรรค 2 และ 49 ไม่เป็นความผิดตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องศาลจะลงโทษจำเลยไม่ได้เพราะข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณา ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 3 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2499 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสุกรข้ามจังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาต: ความผิดเกิดขึ้นเมื่อใด?
จำเลยนำสุกรออกจากเขตท้องที่ตำบลห้วยแก้งอำเภอกุดชุมจังหวัดยโสธร มายังเขตท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดยโสธร จะนำสุกรนั้นไปขายที่จังหวัดร้อยเอ็ดโดยมิได้นำสุกรไปให้สัตวแพทย์ประจำท้องที่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ตรวจและทำลายเชื้อโรคระบาดสัตว์ตามระเบียบของกรมปศุสัตว์และยังไม่ได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ประจำท้องที่ให้นำไปยังท้องที่ต่างจังหวัดได้ แต่ถูกจับกุมพร้อมด้วยสุกรนั้นขณะจำเลยยังอยู่ในท้องที่ของจังหวัดยโสธร ดังนี้ จำเลยยังไม่มีความผิดฐานนำสุกรไปยังท้องที่ต่างจังหวัด