พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึด/อายัดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ศาลไม่อนุญาตหากมีกระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายแล้ว
การขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยในคดีล้มละลายในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มิใช่การขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 แต่เป็นการขอให้ศาลยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยไว้ก่อนพิพากษาตาม มาตรา 254 ซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 17 บัญญัติให้ขอพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราวไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยต้องขอก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงนำบทบัญญัติว่าด้วยการยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ศาลไม่อำนาจยึดทรัพย์ก่อนพิพากษา หากมีบทบัญญัติเฉพาะใน พ.ร.บ.ล้มละลาย
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มีบทบัญญัติเรื่องการขอให้ศาลยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 17 แล้ว โดยขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวซึ่งจะขอได้ก็แต่ในกรณีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วมาตรา 19 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตราสมุดบัญชีและเอกสารของลูกหนี้ และบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายการที่โจทก์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยึดและอายัดทรัพย์ของจำเลยไว้ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 3 แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 153พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 ก็ตาม แท้จริงก็เป็นการขอให้ศาลยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ก่อนพิพากษานั่นเอง จึงนำบทบัญญัติว่าด้วยการยึดทรัพย์ของจำเลยก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีล้มละลาย ศาลไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากมีวิธีพิจารณาเฉพาะใน พ.ร.บ.ล้มละลาย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้บัญญัติวิธีการชั่วคราวไว้โดยเฉพาะแล้วคือการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งจะขอได้ก็แต่ในกรณีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น ดังนั้น ในกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์จะขอให้ศาลอุทธรณ์ยึดทรัพย์ของจำเลยก่อนพิพากษาโดยนำบทบัญญัติว่าด้วยการยึดทรัพย์ของจำเลยก่อนพิพากษาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลายก่อนมีคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไม่อำนาจสั่งยึดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวตามมาตรา 17ซึ่งจะขอได้ก็ แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วมาตรา 19 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้ และบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและโจทก์อุทธรณ์โจทก์จะขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดรับผิดร่วมกับหนี้ห้างหุ้นส่วน: การขอให้ล้มละลายแม้การถอนตัวยังไม่จดทะเบียน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดใดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นล้มละลายได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นหนี้สินของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว และผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070, 1077
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17 ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน
ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17 ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน
ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และการขอให้ล้มละลายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดใดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นล้มละลายได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นหนี้สินของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว และผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070,1077
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวระหว่างฎีกา: ไม่อนุญาตตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 17
มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติว่า"ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวก็ได้ เมื่อศาลได้รับคำร้องนี้แล้วให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปโดยทันที ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็ให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว" คำว่าศาลตามมาตรานี้ต้องหมายความถึงศาลชั้นต้น โดยกฎหมายบัญญัติให้ศาลทำการไต่สวนฟังว่าคดีของโจทก์มีมูลหรือไม่เสียก่อนที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว เพราะถ้าได้ผ่านการพิจารณาของศาลชั้นต้นไปจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือมีคำพิพากษาแล้วกรณีก็ไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนฟังว่าคดีมีมูลหรือไม่อีก ฉะนั้น ที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ประสงค์จะให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว ได้ก็แต่ในกรณีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่มีบทบัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในระหว่างฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวระหว่างฎีกา: ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาเฉพาะก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติว่า" ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวก็ได้ เมื่อศาลได้รับคำร้องนี้แล้วให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปโดยทันทีถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็ให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว..." คำว่าศาลตามมาตรานี้ต้องหมายความถึงศาลชั้นต้น โดยกฎหมายบัญญัติให้ศาลทำการไต่สวนฟังว่าคดีของโจทก์มีมูลหรือไม่เสียก่อนที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว เพราะถ้าได้ผ่านการพิจารณาของศาลชั้นต้นไปจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือมีคำพิพากษาแล้วกรณีก็ไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนฟังว่าคดีมีมูลหรือไม่อีก ฉะนั้นที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ประสงค์จะให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว ได้ก็แต่ในกรณีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่มีบทบัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในระหว่างฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และหลักเกณฑ์ 'คดีมีมูล' ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้อง และในวันนัดได้สอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้วเห็นว่าวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป วินิจฉัยให้ยกคำร้องของจำเลยเสียนั้น ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้ว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และหลักเกณฑ์ 'คดีมีมูล' ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้อง และในวันนัดได้สอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้วเห็นว่าวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป วินิจฉัยให้ยกคำร้องของจำเลยเสียนั้น ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้ว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่