พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นคดีมีทุนทรัพย์/ไม่มีทุนทรัพย์ หลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้ว
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้แล้วอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ก่อนส่งสำนวนมายังศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ประสงค์จะขอให้ศาลวินิจฉัยเป็นแบบอย่างว่าคดีทำนองเดียวกันนี้ควรจะเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่มีทุนทรัพย์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับการใดที่เป็นปัญหาในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา143จำต้องขอต่อศาลที่มีอำนาจซึ่งกรณีนี้หากศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งในเรื่องนี้ย่อมจะต้องขอต่อศาลชั้นต้นแต่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งกรณีนี้ไปแล้วจึงชอบที่จะขอต่อศาลฎีกา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาเพื่อขอให้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาเสียแล้วจึงไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อีกต่อไปฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นฎีกาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ในราชอาณาจักรไม่มีสิทธิได้รับขยายเวลาเกิน 2 เดือน
โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา2เดือนอ้างว่าไม่ทราบการโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือพิมพ์ดังนี้เท่ากับเป็นการขยายเวลาตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา91ออกไปเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรจึงไม่มีเหตุที่จะขยายเวลาให้โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา2เดือน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับจากสัญญาจ้างเหมา vs. ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา: การตีความขอบเขตความรับผิด
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 8 ที่ระบุว่า 'ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดชอบค่าปรับอันเนื่องจากเหตุแห่งความล่าช้าจาก กำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 3 (168 วัน) โดยคิดตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดกับอัตราค่าปรับที่โรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย คิดปรับจากผู้ว่าจ้าง' นั้นหมายความว่า โจทก์ยินยอมรับผิดชอบค่าปรับตามอัตราค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 3 มิใช่โจทก์ยินยอมเสียค่าปรับตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าจำนวนหนึ่ง กับค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยอีกจำนวนหนึ่ง
ค่าปรับก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดจำนวนกันไว้ล่วงหน้า เมื่อกำหนดค่าปรับกันแล้วก็ไม่สมควรที่จะให้ได้รับค่าเสียหายจากกันอีก ในกรณีค่าปรับกับค่าเสียหายใกล้เคียงกันศาลกำหนดให้จำเลยได้รับค่าเสียหายเท่ากับค่าปรับได้
ค่าปรับก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดจำนวนกันไว้ล่วงหน้า เมื่อกำหนดค่าปรับกันแล้วก็ไม่สมควรที่จะให้ได้รับค่าเสียหายจากกันอีก ในกรณีค่าปรับกับค่าเสียหายใกล้เคียงกันศาลกำหนดให้จำเลยได้รับค่าเสียหายเท่ากับค่าปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับจากสัญญาจ้างเหมา ความรับผิดชอบค่าปรับที่เกิดจากความล่าช้า และการหักกลบลบหนี้
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 8 ที่ระบุว่า 'ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดชอบค่าปรับอันเนื่องจากเหตุแห่งความล่าช้าจากกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 3(168วัน) โดยคิดตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดกับอัตราค่าปรับที่โรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย คิดปรับจากผู้ว่าจ้าง'นั้นหมายความว่าโจทก์ยินยอมรับผิดชอบค่าปรับตามอัตราค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 3 มิใช่โจทก์ยินยอมเสียค่าปรับตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าจำนวนหนึ่งกับค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยอีกจำนวนหนึ่ง
ค่าปรับก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดจำนวนกันไว้ ล่วงหน้า เมื่อกำหนดค่าปรับกันแล้วก็ไม่สมควรที่จะให้ได้รับค่าเสียหายจากกันอีก ในกรณีค่าปรับกับค่าเสียหายใกล้เคียงกันศาลกำหนดให้จำเลยได้รับค่าเสียหายเท่ากับค่าปรับ ได้
ค่าปรับก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดจำนวนกันไว้ ล่วงหน้า เมื่อกำหนดค่าปรับกันแล้วก็ไม่สมควรที่จะให้ได้รับค่าเสียหายจากกันอีก ในกรณีค่าปรับกับค่าเสียหายใกล้เคียงกันศาลกำหนดให้จำเลยได้รับค่าเสียหายเท่ากับค่าปรับ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับตามสัญญาจ้างเหมาและการชดใช้ค่าเสียหาย กรณีงานล่าช้า และการหักกลบลบหนี้
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยข้อ8ที่ระบุว่า'ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดชอบค่าปรับอันเนื่องจากเหตุแห่งความล่าช้าจากกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ3(168วัน)โดยคิดตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดกับอัตราค่าปรับที่โรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากผู้ว่าจ้าง.....'นั้นหมายความว่าโจทก์ยินยอมรับผิดชอบค่าปรับตามอัตราค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ3มิใช่โจทก์ยินยอมเสียค่าปรับตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าจำนวนหนึ่งกับค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยอีกจำนวนหนึ่ง ค่าปรับก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดจำนวนกันไว้ล่วงหน้าเมื่อกำหนดค่าปรับกันแล้วก็ไม่สมควรที่จะให้ได้รับค่าเสียหายจากกันอีกในกรณีค่าปรับกับค่าเสียหายใกล้เคียงกันศาลกำหนดให้จำเลยได้รับค่าเสียหายเท่ากับค่าปรับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดโดยใช้ยานพาหนะ
จำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดแม้จำเลยที่1คนเดียวมีอาวุธปืนการกระทำของจำเลยทั้งสามก็เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา340ประกอบด้วยมาตรา340ตรี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นเจ้าของและแสดงเจตนาชัดเจน คำสั่งศาลถึงที่สุดไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
แม้คดีก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์และคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุด จึงไม่อาจเพิกถอนได้แต่เมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกคดีซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์: การครอบครองทรัพย์สินของผู้เสียหายยังไม่สิ้นสุด แม้ทรัพย์สินตกหล่น การยักยอกทรัพย์ และการรับของโจร
ผู้เสียหายทำธนบัตรของกลางตกที่หน้าแผงลอยของพ. ขณะที่ล้วงกระเป๋าหยิบเงินมาชำระให้แก่พ. จำเลยมาพบก้มลงหยิบธนบัตรดังกล่าวไปหลังจากที่จำเลยเดินจากไปแล้วผู้เสียหายจึงรู้ตัวว่าธนบัตรของกลางหายไปดังนี้การที่จำเลยเอาธนบัตรของกลางไปในขณะที่ผู้เสียหายยังยืนอยู่ในบริเวณที่ทำธนบัตรตกและในเวลาใกล้เคียงกันนั้นเองผู้เสียหายก็รู้ทันทีว่าธนบัตรของตนหายไปถือได้ว่านับแต่เวลาที่ธนบัตรของกลางหลนลงไปที่พื้นจนถึงเวลาที่จำเลยหยิบเอาไปผู้เสียหายยังคงยึดถือธนบัตรนั้นอยู่การครอบครองธนบัตรยังอยู่กับผู้เสียหายเมื่อจำเลยเอาธนบัตรของกลางไปจากความครอบครองของผู้เสียหายเพื่อจะเอาไปเป็นของตนเองจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ vs ลักทรัพย์: การครอบครองทรัพย์สินของผู้เสียหายเป็นสำคัญ
ในวันเกิดเหตุผู้เสียหายทำธนบัตรของกลางตกที่หน้าแผงลอยของนางสาว พ. ขณะที่ล้วงกระเป๋าหยิบเงินมาชำระค่าปลาหมึกให้แก่นางสาว พ. จำเลยที่ 1 มาพบก้มลงหยิบธนบัตรดังกล่าวไปหลังจากที่จำเลยที่ 1 เดินจากไปแล้ว ผู้เสียหายจึงรู้ตัวว่าธนบัตรของกลางหายไป สอบถามนางสาว พ. ได้ความว่า จำเลยที่ 1 เก็บเอาไป ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 เอาธนบัตรของกลางไปในขณะที่ผู้เสียหายยังยืนอยู่ในบริเวณที่ทำธนบัตรตก และในเวลาใกล้เคียงกันนั้นเอง ผู้เสียหายก็รู้ทันทีว่าธนบัตรของตนหายไป ถือได้ว่านับแต่เวลาที่ธนบัตรของกลางหล่นลงไปที่พื้น จนถึงเวลาที่จำเลยที่ 1 หยิบเอาไป ผู้เสียหายยังคงยึดถือธนบัตรนั้นอยู่ การครอบครองธนบัตรยังอยู่กับผู้เสียหาย เมื่อจำเลยที่ 1 เอาธนบัตรของกลางไปจากความครอบครองของผู้เสียหายเพื่อจะเอาไปเป็นของตนเอง จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ vs. ยักยอกทรัพย์: การครอบครองทรัพย์สินของผู้เสียหายมีผลต่อการพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์
ในวันเกิดเหตุผู้เสียหายทำธนบัตรของกลางตกที่หน้าแผงลอยของนางสาวพ.ขณะที่ล้วงกระเป๋าหยิบเงินมาชำระค่าปลาหมึกให้แก่นางสาวพ.จำเลยที่1มาพบก้มลงหยิบธนบัตรดังกล่าวไปหลังจากที่จำเลยที่1เดินจากไปแล้วผู้เสียหายจึงรู้ตัวว่าธนบัตรของกลางหายไปสอบถามนางสาวพ.ได้ความว่าจำเลยที่1เก็บเอาไปดังนี้การที่จำเลยที่1เอาธนบัตรของกลางไปในขณะที่ผู้เสียหายยังยืนอยู่ในบริเวณที่ทำธนบัตรตกและในเวลาใกล้เคียงกันนั้นเองผู้เสียหายก็รู้ทันทีว่าธนบัตรของตนหายไปถือได้ว่านับแต่เวลาที่ธนบัตรของกลางหล่นลงไปที่พื้นจนถึงเวลาที่จำเลยที่1หยิบเอาไปผู้เสียหายยังคงยึดถือธนบัตรนั้นอยู่การครอบครองธนบัตรยังอยู่กับผู้เสียหายเมื่อจำเลยที่1เอาธนบัตรของกลางไปจากความครอบครองของผู้เสียหายเพื่อจะเอาไปเป็นของตนเองจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์.