คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพรัช วงศ์วัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีและเหตุอันควรปราณี ลดโทษอาญาได้
คดีไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุฆ่าผู้ตาย แต่จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพและนำชี้ที่เกิดเหตุ จึงทำให้พนักงานสอบสวนสามารถรวบรวมพยานหลักฐาน เช่น อาวุธปืนที่ใช้ยิงผู้ตายและรถจักรยานยนต์ที่จำเลยใช้เป็นพาหนะในการกระทำผิดได้คำรับสารภาพของจำเลยทั้งสามจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอย่างมาก นับว่าเป็นเหตุอันควรปราณีแก่จำเลยทั้งสามได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าเดิมเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ และการงดสืบพยานหลักฐาน
คำฟ้องแย้งของจำเลยเพียงแต่ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าตึก พิพาทกับจำเลยอีก 13 ปี นับแต่วันครบกำหนดสัญญาเช่าเดิม ตามที่จำเลยอ้างว่ามีข้อตกลงกันเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนด 12 ปี จำเลยจะนำสืบว่ามีข้อตกลงกับผู้ให้เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นการขอสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในประเด็นข้อนี้ แล้วศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในตึก พิพาทเช่นนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ทำให้คดีเสร็จไปเฉพาะ แต่ประเด็นบางข้อ เป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา228(3) หาใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย และต่อสู้ว่าการเช่า ตึก พิพาทมีข้อตกลงให้จำเลยออกค่าก่อสร้างโดยผู้ให้เช่าจะให้จำเลยเช่า ตึก พิพาทมีกำหนดไม่น้อยกว่า25 ปี เพียงแต่ทำสัญญาเช่าไว้มีกำหนด 12 ปีก่อน จำเลยชอบที่จะนำสืบถึงเหตุที่จำเลยมีสิทธิเช่า ต่ออีกเพราะได้ออกเงินค่าก่อสร้างเป็นการตอบ แทนเท่ากับเป็นการนำสืบหักล้างสัญญานั้นว่าไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าต่างตอบแทน: การนำสืบเพื่อหักล้างสัญญาเช่าเดิม
คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าให้จำเลย เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
จำเลยให้การต่อสู้ว่าการเช่าตึกพิพาทมีข้อตกลงให้จำเลยออกค่าก่อสร้างตึกพิพาทโดยโจทก์จะให้จำเลยเช่าตึกพิพาทมีกำหนด25 ปี เพียงแต่ทำสัญญาเช่าไว้มีกำหนด 12 ปีก่อน จำเลยมีสิทธินำสืบถึงเหตุที่จำเลยมีสิทธิเช่าต่อได้ เพราะเป็นการนำสืบหักล้างสัญญาที่ทำไว้ว่าไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์นำส่งหมายนัด – เพิกเฉยไม่ดำเนินคดี – ศาลสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว
แม้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 184 บัญญัติให้ศาลออกหมายกำหนดวันนัดสืบพยานส่งให้แก่คู่ความ แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายนัด และโจทก์ทราบคำสั่งแล้ว ก็มิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งนั้น ทั้ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 ก็ให้อำนาจศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่งหมายนัดได้ คำสั่งศาลดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 18 เมษายน 2527 โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลย หมายนัดออกวันที่ 15 มีนาคม2527 และส่งไปถึงงานเดินหมายและประกาศ กรมบังคับคดีเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2527 โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนกระทั่งวันที่ 12เมษายน 2527 จึงได้ไปติดต่อที่งานเดินหมายแต่โจทก์ไม่นำส่งทั้งที่ศาลออกหมายนัดถึงทนายจำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์นำส่งหมายนัดและการเพิกเฉยคดี ศาลจำหน่ายคดีชอบแล้ว
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 184 บัญญัติให้ศาลออกหมายกำหนดวันนัดสืบพยานส่งให้แก่คู่ความ แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายนัด และโจทก์ทราบคำสั่งแล้ว ก็มิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งนั้น ทั้ง ป.วิ.พ. มาตรา 70ก็ให้อำนาจศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่งหมายนัดได้คำสั่งศาลดังกล่าวจึงชอบแล้ว ศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 18 เมษายน 2527 โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลย หมายนัดออกวันที่ 15 มีนาคม2527 และส่งไปถึงงานเดินหมายและประกาศ กรมบังคับคดีเมื่อวันที่19 มีนาคม 2527 โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนกระทั่งวันที่ 12เมษายน 2527 จึงได้ไปติดต่อที่งานเดินหมาย แต่โจทก์ไม่นำส่งทั้งที่ศาลออกหมายนัดถึงทนายจำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: เอกสารประกอบฟ้อง, การจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก, และคุณสมบัติผู้จัดการ
บัญชีเครือญาติและมรณบัตร ไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาพร้อมคำฟ้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดก
บัญชีทรัพย์มรดกในคดีที่จำเลยร้องขอให้เป็นผู้จัดการมรดกไม่ถือเป็นบัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำหลังจากรับหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728และ 1729
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก โดยมิได้ให้การต่อสู้แต่ในศาลชั้นต้นว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นบุคคลที่ต้องห้ามตามกฎหมาย มิให้เป็นผู้จัดการมรดก และไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด ข้อฎีกาของจำเลยที่ 4 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องโจทก์และสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ ซึ่งถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงว่าได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 2แล้วแต่ส่งไม่ได้ขอให้จัดส่งใหม่ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบถึงผลการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องว่าส่งไม่ได้แล้ว เมื่อนับจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้จนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 นั้นเกิน 15 วันแล้วการที่โจทก์ไม่แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบเป็นการทิ้งฟ้อง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2ออกจากสารบบความได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ทำให้คดีเสร็จทั้งเรื่องแต่เป็นเหตุให้คดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เสร็จสิ้นไปจึงไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2มีผลทำให้คดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เสร็จสิ้นไป จึงไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ทันที ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องว่า ให้โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้จำเลย ถ้า ส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ปรากฏว่าส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2527 โจทก์ยื่นคำแถลงเมื่อวันที่ 12พฤศจิกายน 2527 ขอให้จัดส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ใหม่ ในคำแถลงดังกล่าวมีข้อความชัด ว่าโจทก์ได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ดังนั้นต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบถึงผลของการการส่งหมายว่าส่งไม่ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2527 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ส่งหมายไม่ได้จนถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2527 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 นั้นเกิน 15 วันแล้ว การที่โจทก์ไม่แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2)จึงเป็นการที่โจทก์ทิ้งฟ้องแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมสั่งจำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ดำเนินการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนดเวลา และสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องโจทก์และสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ ซึ่งถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงว่าได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 2 แล้วแต่ส่งไม่ได้ขอให้จัดส่งใหม่ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบถึงผลการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องว่าส่งไม่ได้แล้ว เมื่อนับจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้ จนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับ จำเลยที่ 2 นั้นเกิน 15 วัน แล้วการที่โจทก์ไม่แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบเป็นการทิ้งฟ้อง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2ออกจากสารบบความได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ทำให้คดีเสร็จทั้งเรื่องแต่เป็นเหตุให้คดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เสร็จสิ้นไปจึงไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 69 พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ กรณีครอบครองฝิ่น ปริมาณน้อยกว่า 100 กรัม
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 69 วรรคสามขยายความมาตรา 69 วรรคสอง เฉพาะความผิดฐานจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 2 อันเป็น มอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีนที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม มิได้ขยายความมาตรา 69 วรรคหนึ่งด้วย
จำเลยมีฝิ่นไว้ในครอบครองหนัก 7.7 กรัม จึงต้องวางอัตราโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง.
of 46