คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพรัช วงศ์วัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบของโจทก์: การพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง
เมื่อศาลกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่โจทก์ส่งเพียงเอกสารที่แนบท้ายคำฟ้องโดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสิบห้าคนดำเนินการเลือกกำนันโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่อาจชนะคดีได้
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันพ.ศ. 2524 เป็นระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา30 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ศาลรู้เองนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบในประเด็นที่ตนมีหน้าที่นำสืบข้างต้นฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือชิงทรัพย์และพยายามฆ่า: จำเลยต้องรับผิดชอบการกระทำของพวกด้วย
จำเลยกับพวกอีก 1 คน ชิงรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดยจำเลยเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ขวางหน้ารถผู้เสียหาย พวกของจำเลยซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจำเลยชักอาวุธปืนออกมาและบอกให้ผู้เสียหายหยุด เมื่อผู้เสียหายขัดขวางมิให้จำเลยขับรถของผู้เสียหายไปพวกของจำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทันทีและยิงซ้ำอีกแต่กระสุนไม่ลั่น แล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไปด้วยกัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยต้องทราบดีว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืนติดตัวมา โดยจำเลยกับพวกตั้งใจที่จะใช้อาวุธปืนที่เตรียมมานั้นประหัตประหารผู้ที่ต่อสู้ขัดขืนในการที่จำเลยกับพวกทำการชิงทรัพย์ การที่พวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ และเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นความผิดอาญา จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายด้วย.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบของโจทก์: การส่งเอกสารไม่อาจทดแทนการสืบพยานหลักฐานในประเด็นที่ฟ้อง
เมื่อศาลกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่โจทก์ส่งเพียงเอกสารที่แนบท้ายคำฟ้องโดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสิบห้าคนดำเนินการเลือกกำนันโดยมิชอบด้วยกฎหมายดัง ที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่อาจชนะคดีได้ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ. 2524 เป็นระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ศาลรู้เองนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบในประเด็นที่ตนมีหน้าที่นำสืบข้างต้นฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาหารผิดมาตรฐาน: การผลิตนมข้นหวานที่มีจุลินทรีย์เกินค่ากำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
นมข้นหวานที่จำเลยผลิตขึ้นมีจุลินทรีย์หรือบักเตรี เกินกว่าจำนวนตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข จึงเป็นอาหารที่ผลิตขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐาน ส่วนจะถึงขั้นเป็นอาหารปลอมหรือไม่ต้องเป็นอาหารที่ทำให้เกิดโทษหรือเป็นอันตราย จุลินทรีย์หรือบักเตรีนั้นมีทั้งชนิดที่ทำให้เกิดโทษและชนิดที่ไม่เป็นโทษ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่า การมีจุลินทรีย์หรือบักเตรีเกินจำนวนที่ระบุไว้เป็นโทษหรือเป็นอันตรายนมข้นหวานดังกล่าวจึงมิใช่อาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25(2) ประกอบด้วยมาตรา 27(5)แต่การมีจุลินทรีย์หรือบักเตรีเกินจำนวนดังกล่าวเป็นอาหารผิดมาตรฐานตามมาตรา 25(3) ประกอบด้วยมาตรา 28 ศาลจึงมีอำนาจลงโทษฐานนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192เพราะเป็นบทที่มีโทษเบากว่าที่โจทก์ฟ้อง
นิติบุคคลจะดำเนินงานหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ด้วยตนเองไม่ได้ต้องกระทำโดยผู้แทน จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิด ก็ได้ชื่อว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่2ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาหารผิดมาตรฐาน vs. อาหารปลอม: การพิสูจน์โทษต่อสุขภาพและการรับผิดชอบของกรรมการบริษัท
อาหารที่ผลิตขึ้นตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(2)ประกอบกับมาตรา 27(5) จะถึงขั้นเป็นอาหารปลอมต่อเมื่ออาหารที่ผลิตขึ้นนั้นแตก ต่างไปจากคุณภาพ หรือมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขจนทำให้เกิดโทษหรือเป็นอันตรายเมื่อพยานโจทก์ไม่ยืนยันว่าอาหารที่จำเลยผลิตขึ้นจะเป็นโทษต่อร่างกายหรือจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาหารดังกล่าวจึงมิใช่อาหารปลอม เป็นแต่เพียงอาหารผิดมาตรฐาน ตามมาตรา 25(3)ประกอบกับมาตรา 28 เท่านั้น ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษตามมาตรานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 นิติบุคคลจะดำเนินงานหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของตนด้วยตนเองมิได้ต้องกระทำโดยผู้แทน จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลย ที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดก็ได้ชื่อ ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปล้นทรัพย์: การพิสูจน์การกระทำร่วมและการรับฟังพยานหลักฐานที่ขัดแย้ง
การที่จำเลยที่ 1 ขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายพร้อมกับคนร้ายโดยยืนเอามือล้วงกระเป๋ากางเกงอยู่ที่ชาน บ้านในลักษณะคุมเชิงส่วนคนร้ายเข้าไปคว้าปืนลูกซองยาวของผู้เสียหายที่แขวนไว้ข้างฝาและเกิดแย่งปืนกันกับภริยาของผู้เสียหายคนร้ายจึงได้ใช้เท้าแตะและชักมีดออกมาขู่ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 และคนร้ายวิ่งหลบหนีไปพร้อมกัน พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับคนร้ายทำการปล้นทรัพย์ คำให้การชั้นสอบสวนของประจักษ์พยานแตก ต่างจากคำเบิกความชั้นศาลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับคนร้ายปล้นทรัพย์หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าคำให้การชั้นสอบสวนเจือสมกับพยานโจทก์ปากอื่นที่ว่า ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 อยู่นอกบ้านและวิ่งตามหลังภริยาของผู้เสียหายออกมาหลังจากคนร้ายวิ่งหลบหนีไปแล้ว ดังนั้น จะฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมปล้นทรัพย์ด้วยไม่ได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ศาลสั่งริบมีดของกลาง แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม่ได้ของกลางจากจำเลย จึงไม่มีของกลางที่จะริบต้องยกคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมปล้นทรัพย์: พยานหลักฐานสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และความไม่ชัดเจนของบทบาทจำเลยที่ 2
การที่จำเลยที่ 1 ขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายพร้อมกับคนร้ายโดยยืนเอามือล้วงกระเป๋ากางเกงอยู่ที่ชานบ้านในลักษณะคุมเชิง ส่วนคนร้ายเข้าไปคว้าปืนลูกซองยาวของผู้เสียหายที่แขวนไว้ข้างฝาและเกิดแย่งปืนกันกับภริยาของผู้เสียหายคนร้ายจึงได้ใช้เท้าเตะและชักมีดออกมาขู่หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 และคนร้ายวิ่งหลบหนีไปพร้อมกันพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับคนร้ายทำการปล้นทรัพย์
คำให้การชั้นสอบสวนของประจักษ์พยานแตกต่างจากคำเบิกความชั้นศาลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับคนร้ายปล้นทรัพย์หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าคำให้การชั้นสอบสวนเจือสมกับพยานโจทก์ปากอื่นที่ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 อยู่นอกบ้านและวิ่งตามหลังภริยาของผู้เสียหายออกมาหลังจากคนร้ายวิ่งหลบหนีไปแล้ว ดังนั้น จะฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมปล้นทรัพย์ด้วยไม่ได้
แม้โจทก์จะมีคำขอให้ศาลสั่งริบมีดของกลาง แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม่ได้ของกลางจากจำเลย จึงไม่มีของกลางที่จะริบ ต้องยกคำขอ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทน: การมอบอำนาจเฉพาะการเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่ถือเป็นการมอบอำนาจติดตามทวงถามหนี้
โจทก์เพียงแต่มอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเก็บรักษาซ่อมแซม แจ้งความ กล่าวโทษ แจ้งราคาค่าเสียหายของทรัพย์และรับชำระหนี้ที่ผู้ละเมิดยอมชดใช้ให้ในชั้นแจ้งความที่สถานีตำรวจ ส่วนการติดตามทวงถามเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดซึ่งไม่ยอมชดใช้ โจทก์จะเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยขอให้การไฟฟ้านครหลวงแจ้งเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมกับรวบรวมหลักฐานส่งไปให้โจทก์ ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นตัวแทนโจทก์ในการติดตามทวงถามเรียกร้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เหตุละเมิดเกิดขึ้นวันที่ 22 สิงหาคม 2524 ครั้นวันที่16 กุมภาพันธ์ 2525 การไฟฟ้านครหลวงแจ้งเรื่องการละเมิดและผู้ทำละเมิดให้โจทก์ทราบโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2525 คดีจึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการมอบอำนาจ และการเริ่มต้นระยะเวลาอายุความคดีละเมิด เมื่อผู้รับมอบอำนาจแจ้งเหตุให้ผู้มอบอำนาจทราบ
โจทก์มีหนังสือมอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเก็บรักษาซ่อมแซม แจ้งความ กล่าวโทษ และแจ้งราคาค่าเสียหายของทรัพย์ และรับชำระหนี้ที่ผู้ละเมิดยอมชดใช้ให้ในชั้นแจ้งความที่สถานีตำรวจเท่านั้น ส่วนการติดตามทวงถามเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดซึ่งไม่ยอมชดใช้ โจทก์จะดำเนินการเองโดยขอให้การไฟฟ้านครหลวงแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นให้โจทก์ทราบ ดังนี้ถือไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นตัวแทนโจทก์ในการติดตามทวงถามเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยผู้ทำละเมิด เมื่อเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่22 สิงหาคม 2524 จำเลยไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหาย ครั้นวันที่ 16กุมภาพันธ์ 2525 การไฟฟ้านครหลวงแจ้งเรื่องการละเมิดและผู้ทำละเมิดให้โจทก์ทราบ ต่อมาโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2525นับแต่วันที่การไฟฟ้านครหลวงแจ้งให้โจทก์ทราบจนถึงวันฟ้องเป็นเวลายังไม่เกิน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนและการเริ่มนับอายุความคดีละเมิด กรณีการไฟฟ้านครหลวงได้รับมอบหมายเฉพาะการดำเนินการเบื้องต้น
โจทก์เพียงแต่มอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเก็บรักษา ซ่อมแซม แจ้งความ กล่าวโทษ แจ้งราคาค่าเสียหายของทรัพย์และรับชำระหนี้ที่ผู้ละเมิดยอมชดใช้ให้ในชั้นแจ้งความที่สถานีตำรวจ ส่วนการติดตามทวงถามเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดซึ่งไม่ยอมชดใช้ โจทก์จะเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยขอให้การไฟฟ้านครหลวงแจ้งเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมกับรวบรวมหลักฐานส่งไปให้โจทก์ ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นตัวแทนโจทก์ในการติดตามทวงถามเรียกร้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เหตุละเมิดเกิดขึ้นวันที่ 22 สิงหาคม 2524 ครั้น วันที่16 กุมภาพันธ์ 2525 การไฟฟ้านครหลวงแจ้งเรื่องการละเมิดและผู้ทำละเมิดให้โจทก์ทราบโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2525 คดีจึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
of 46