พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดนอกราชอาณาจักรและการพิสูจน์สัญชาติเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิ
บุคคลผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยส่วนบิดามิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าบิดามีสัญชาติใด บุคคลนั้นย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (2)
โจทก์ติดต่อให้จำเลยจดแจ้งชื่อโจทก์ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทยลงในทะเบียนบ้านแล้ว จำเลยปฏิเสธอ้างว่าโจทก์เป็นคนมีสัญชาติลาว ดังนี้เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว
ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 กำหนดให้ผู้ซึ่งประสงค์ขอพิสูจน์สัญชาติไทยปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน เมื่อไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะร้องขอต่อศาลให้พิจารณาก็ได้ แต่กรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ มิใช่การร้องขอต่อศาลให้พิจารณาเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติ หากแต่เป็นการฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ต่อศาล จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ดังนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ติดต่อให้จำเลยจดแจ้งชื่อโจทก์ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทยลงในทะเบียนบ้านแล้ว จำเลยปฏิเสธอ้างว่าโจทก์เป็นคนมีสัญชาติลาว ดังนี้เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว
ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 กำหนดให้ผู้ซึ่งประสงค์ขอพิสูจน์สัญชาติไทยปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน เมื่อไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะร้องขอต่อศาลให้พิจารณาก็ได้ แต่กรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ มิใช่การร้องขอต่อศาลให้พิจารณาเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติ หากแต่เป็นการฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ต่อศาล จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ดังนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการโต้แย้งสิทธิ การฟ้องจำเลยนายทะเบียนราษฎรโดยไม่ต้องพิสูจน์สัญชาติก่อน
บุคคลผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยส่วนบิดามิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ปรากฏว่าบิดามีสัญชาติใดบุคคลนั้นย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2508มาตรา7(2) โจทก์ติดต่อให้จำเลยจดแจ้งชื่อโจทก์ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทยลงในทะเบียนบ้านแล้วจำเลยปฏิเสธอ้างว่าโจทก์เป็นคนมีสัญชาติลาวดังนี้เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522มาตรา57กำหนดให้ผู้ซึ่งประสงค์ขอพิสูจน์สัญชาติไทยปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเมื่อไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะร้องขอต่อศาลให้พิจารณาก็ได้แต่กรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้มิใช่การร้องขอต่อศาลให้พิจารณาเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติหากแต่เป็นการฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ต่อศาลจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนดังนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเช็ค: ผู้สลักหลังไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คหากไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับผู้ออกเช็ค และโจทก์ต้องพิสูจน์ว่ามีเงินในบัญชี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังเช็คมิใช่ผู้ออกเช็ค โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ออกเช็คอย่างไร การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้อง เฉพาะจำเลยที่ 1 ผู้ออกเช็คส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังเช็คให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ให้ประทับฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ว่าในวันออกเช็คจำเลยที่ 1 มีเงินในบัญชีพอจ่ายตามเช็คพิพาทหรือไม่ เป็นสาระสำคัญแห่งคดีที่จะแสดงให้เห็นได้ว่าคดีโจทก์มีมูลเป็นความผิดหรือไม่ แม้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ก็ต้องนำสืบให้ปรากฏถึงความข้อนี้ เมื่อโจทก์นำสืบแต่เพียงว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการออกเช็คโดยเจตนา ที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง จำเลยที่ 1 ได้
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้อง เฉพาะจำเลยที่ 1 ผู้ออกเช็คส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังเช็คให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ให้ประทับฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ว่าในวันออกเช็คจำเลยที่ 1 มีเงินในบัญชีพอจ่ายตามเช็คพิพาทหรือไม่ เป็นสาระสำคัญแห่งคดีที่จะแสดงให้เห็นได้ว่าคดีโจทก์มีมูลเป็นความผิดหรือไม่ แม้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ก็ต้องนำสืบให้ปรากฏถึงความข้อนี้ เมื่อโจทก์นำสืบแต่เพียงว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการออกเช็คโดยเจตนา ที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจร ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อหาเดิมตามฎีกาโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพฐานรับของโจร จำเลยที่ 2ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ต้องถือว่าข้อหารับของโจรสำหรับจำเลยที่ 1ยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขอให้พิพากษายกฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานรับของโจรไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อหาฐานลักทรัพย์ตามฎีกาของโจทก์โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องลักทรัพย์-รับของโจร โดยวินิจฉัยข้อหาเดิมตามที่โจทก์ฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรจำเลยที่1ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรจำเลยที่2ให้การปฏิเสธศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่1มีความผิดฐานลักทรัพย์จำเลยที่2มีความผิดฐานรับของโจรดังนี้ถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่1ในข้อหาฐานรับของโจรเมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ต้องถือว่าข้อหารับของโจรสำหรับจำเลยที่1ยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นจำเลยที่1อุทธรณ์ขอให้พิพากษายกฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยจำเลยที่1กระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่1ฐานรับของโจรไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาเมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่1ฐานลักทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อหาฐานลักทรัพย์ตามฎีกาของโจทก์โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ใช่การยอมความ หากจำเลยไม่ชำระ ผู้เสียหายยังดำเนินคดีอาญาได้
บันทึกข้อตกลงไม่มีข้อความใดแสดงว่าฝ่ายผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยในทันที แต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อฝ่ายผู้เสียหายเสียก่อนกล่าวคือจำเลยต้องชำระเงินให้แก่ผู้เสียหายตามข้อตกลง เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระเงินให้ฝ่ายผู้เสียหาย ข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันผู้เสียหายให้เลิกคดีอาญา กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ใช่การยอมความ หากจำเลยไม่ชำระ ผู้เสียหายยังมีสิทธิฟ้องดำเนินคดีอาญา
บันทึกข้อตกลงไม่มีข้อความใดแสดงว่าฝ่ายผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยในทันที แต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อฝ่ายผู้เสียหายเสียก่อน กล่าวคือจำเลยต้องชำระเงินให้แก่ผู้เสียหายตามข้อตกลง เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระเงินให้ฝ่ายผู้เสียหาย ข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันผู้เสียหายให้เลิกคดีอาญา กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ใช่การยอมความ หากจำเลยไม่ชำระ ผู้เสียหายยังมีสิทธิฟ้องอาญา
บันทึกข้อตกลงไม่มีข้อความใดแสดงว่าฝ่ายผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยในทันทีแต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อฝ่ายผู้เสียหายเสียก่อนกล่าวคือจำเลยต้องชำระเงินให้แก่ผู้เสียหายตามข้อตกลงเมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระเงินให้ฝ่ายผู้เสียหายข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันผู้เสียหายให้เลิกคดีอาญากรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร: แม้ยินยอมให้อุปการะเลี้ยงดู มารดายังมีสิทธิเรียกบุตรคืน
บุตรโจทก์เกิดกับท. สามีซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสท.ตายแล้วแม้โจทก์ได้ตกลงยินยอมให้บุตรอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยแต่อำนาจปกครองก็ยังคงอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเมื่อโจทก์ประสงค์จะอุปการะเลี้ยงดูบุตรเองย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะโจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรกรณีไม่จำต้องพิจารณาว่าได้มีการผิดข้อตกลงกันหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับฆาตกรรม ศาลอุทธรณ์แก้ไขบทมาตราและโทษจำคุก โจทก์ฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 จำคุก 15 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 72 จำคุก 3 ปี เป็นการแก้ทั้งบทกฎหมายและกำหนดโทษที่ลงโทษจำเลย เป็นการแก้ไขมาก คู่ความไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภรรยากันมาประมาณ 7 ปีมีบุตรด้วยกัน 3 คน และมีปากเสียงทะเลาะกันเสมอ ๆ ขณะก่อนเกิดเหตุ จำเลยกับผู้ตายก็มีปากเสียงทะเลาะกันอีก การที่ผู้ตายบ่นว่ากล่าวหาจำเลยพาชายชู้มานอนที่เตียงนอนและไล่จำเลยออกจากบ้าน ทั้งขู่ว่าหากจำเลยไม่ไปจากบ้านจะฆ่าจำเลยนั้น ก็เป็นเรื่องสามีภรรยาเป็นปากเสียงทะเลาะกันตามปกติที่เคยเป็นมา จะถือว่าจำเลยถูกกดขี่ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงมิใช่เหตุบันดาลโทสะ
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภรรยากันมาประมาณ 7 ปีมีบุตรด้วยกัน 3 คน และมีปากเสียงทะเลาะกันเสมอ ๆ ขณะก่อนเกิดเหตุ จำเลยกับผู้ตายก็มีปากเสียงทะเลาะกันอีก การที่ผู้ตายบ่นว่ากล่าวหาจำเลยพาชายชู้มานอนที่เตียงนอนและไล่จำเลยออกจากบ้าน ทั้งขู่ว่าหากจำเลยไม่ไปจากบ้านจะฆ่าจำเลยนั้น ก็เป็นเรื่องสามีภรรยาเป็นปากเสียงทะเลาะกันตามปกติที่เคยเป็นมา จะถือว่าจำเลยถูกกดขี่ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงมิใช่เหตุบันดาลโทสะ