คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพรัช วงศ์วัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นอันสิ้นสุดเมื่อคู่กรณีตกลงยกเลิกโดยชัดแจ้ง แม้ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรใหม่
โจทก์เช่าสถานที่จากจำเลยโดยจำเลยเรียกเงินกินเปล่าจำนวน220,000 บาท โจทก์ชำระให้ไปก่อน 110,000 บาท ต่อมาเจ้าของที่ดินที่แท้จริงให้โจทก์ออกจากที่เช่า โจทก์จึงบอกเลิกสัญญากับจำเลยและไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจกล่าวหาว่า จำเลยฉ้อโกงเงินจำนวน 110,000 บาทจำเลยจึงตกลงจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์โดยแบ่งชำระเป็นงวด หากผิดสัญญาจำเลยยินดีให้โจทก์ฟ้องบังคับคดีได้ พนักงานสอบสวนได้ทำบันทึกและให้โจทก์จำเลยลงชื่อไว้ บันทึกนี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในทางแพ่ง ต่อมาถึงวันที่จำเลยต้องชำระเงินงวดแรก โจทก์จำเลยไปพบพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจแต่ตกลงกันไม่ได้ โจทก์แจ้งให้ดำเนินคดีกับจำเลยและขอถอนข้อตกลงทั้งหมดโดยพนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ส่วนจำเลยก็ขอให้บันทึกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นกันตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า คู่กรณีมีเจตนายกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชัดแจ้งแล้ว แม้โจทก์จำเลยต่างลงลายมือชื่อเฉพาะในบันทึกของตนแยกจากกันก็ตาม ความผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยก็เป็นอันสิ้นไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036-4037/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด และการยกฟ้องคดีไม่มีมูลตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 535(4)
ในชั้นไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โจทก์และจำเลยต่างระบุสำนวนคดีที่เคยฟ้องร้องกันมาก่อนเป็นพยาน โดยจำเลยขอให้ศาลนำคดีดังกล่าวมารวมกับคดีนี้เพื่อประกอบการซักค้านด้วย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว และได้นำข้อเท็จจริงตามสำนวนคดีดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยและยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ดังนี้ เห็นได้ว่าสำนวนคดีก่อนนั้นได้เข้าสู่สำนวนคดีนี้ตั้งแต่ชั้นไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลจึงงดชี้สองสถานและงดสืบพยาน แล้วหยิบยกเอาข้อเท็จจริงในสำนวนคดีก่อนมาประกอบการวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ในชั้นพิจารณาได้ไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานนอกสำนวน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุว่า ฝากไว้กับจำเลยเป็นการชั่วคราว คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังว่าโจทก์โอนทรัพย์พิพาทให้จำเลยเนื่องในการสมรสคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวนี้ ย่อมผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนนั้นแม้คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทคืนจากจำเลยโดยอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า ยกให้โดยเสน่หา และขอถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณคดีก็ต้องฟังตามคำพิพากษาคดีก่อนว่า โจทก์ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยเนื่องในการสมรส เพิกถอนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4)โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลจึงชอบที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายได้ โดยไม่จำต้องชี้สองสถานและสืบพยานต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036-4037/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด และการยกฟ้องคดีที่ไม่มีมูลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในชั้นไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โจทก์และจำเลยต่างระบุสำนวนคดีที่เคยฟ้องร้องกันมาก่อนเป็นพยาน โดยจำเลยขอให้ศาลนำคดีดังกล่าวมารวมกับคดีนี้เพื่อประกอบการซักค้านด้วย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว และได้นำข้อเท็จจริงตามสำนวนคดีดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยและยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ดังนี้ เห็นได้ว่าสำนวนคดีก่อนนั้นได้เข้าสู่สำนวนคดีนี้ตั้งแต่ชั้นไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลจึงงดชี้สองสถานและงดสืบพยาน แล้วหยิบยกเอาข้อเท็จจริงในสำนวนคดีก่อนมาประกอบการวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ในชั้นพิจารณาได้ไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานนอกสำนวน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุว่า ฝากไว้กับจำเลยเป็นการชั่วคราว คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังว่าโจทก์โอนทรัพย์พิพาทให้จำเลยเนื่องในการสมรสคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวนี้ ย่อมผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนนั้นแม้คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทคืนจากจำเลยโดยอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า ยกให้โดยเสน่หา และขอถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณคดีก็ต้องฟังตามคำพิพากษาคดีก่อนว่า โจทก์ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยเนื่องในการสมรส เพิกถอนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535 (4) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลจึงชอบที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายได้ โดยไม่จำต้องชี้สองสถานและสืบพยานต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เกินกฎหมายกำหนด สัญญาดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม รับจำนอง เดิม ชื่อ บริษัท ท. จำกัดต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อ เป็นบริษัทเงินทุน ท. จำกัดโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาปรับแก่คดี โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตก เป็นโมฆะ โจทก์ย่อมหมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สิทธิเรียกดอกเบี้ยของบริษัทเงินทุนที่ไม่ได้รับการระบุเป็นสถาบันการเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม รับจำนอง เดิมชื่อบริษัท ท.จำกัดต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นบริษัทเงินทุน ท.จำกัด มีรายละเอียดตามหนังสือรับรองท้ายฟ้องดังนี้ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตามพ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาปรับแก่คดี
โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โมฆะ แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม รับจำนอง เดิมชื่อบริษัท ท.จำกัดต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นบริษัทเงินทุน ท.จำกัด มีรายละเอียดตามหนังสือรับรองท้ายฟ้องดังนี้ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาปรับแก่คดี
โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-อำนาจฟ้อง: การพิพาทสิทธิที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาดและขัดขวางการครอบครอง
คดีแรก พ.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินกับโจทก์และส. ได้เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเสียหายจำเลยในคดีนี้ได้เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าว โดยถูกศาลเรียกให้เข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมด้วยคนหนึ่งฟ้องว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ได้มาโดยซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขัดขวางไม่ให้โจทก์เก็บค่าเช่าห้องแถวพิพาทขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับในคดีทั้งสองแตก ต่างกัน จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันฟ้องโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 173(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-อำนาจฟ้อง: การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด, การโต้แย้งสิทธิ, และการครอบครองปรปักษ์
คดีแรก พ.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินกับโจทก์และส. ได้เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเสียหายจำเลยในคดีนี้ได้เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าวโดยถูกศาลเรียกให้เข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมด้วยคนหนึ่งฟ้องว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ได้มาโดยซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขัดขวางไม่ให้โจทก์เก็บค่าเช่าห้องแถวพิพาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์สภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับในคดีทั้งสองแตกต่างกันจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 173(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการใช้อำนาจในตำแหน่งเรียกรับเงินจากผู้รับเหมาเพื่อผ่านงานก่อสร้าง
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดมหาวิทยาลัย ร. มีหน้าที่ปฏิบัติงานช่าง เขียนแบบและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจำเลยได้รับแต่ง ตั้งจากมหาวิทยาลัยให้มีหน้าที่ควบคุมและตรวจงานก่อสร้างที่พักสำหรับนักศึกษา แล้วรายงานผลให้ประธานกรรมการตรวจการจ้างทราบ ซึ่งจำเลยอาจรายงานในทางให้คุณหรือให้โทษโดยเกี่ยงงอน ว่างานงวดสุดท้ายที่จำเลยเรียกร้องเงินจาก พ. ตัวแทนของผู้รับจ้างในการที่จำเลยจะลงนามตรวจผ่านให้นั้นยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาจ้างก็ได้จึงถือได้ว่า จำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบจูงใจเพื่อให้ พ. ให้เงินดังกล่าวแก่จำเลย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148 แล้ว แม้จำเลยจะอ้างว่าเรียกร้องให้ผู้อื่นและได้มีการส่งมอบเงินให้จำเลยหลังจากที่คณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานไว้แล้วก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบธรรม: ภยันตรายใกล้ถึง การใช้สิทธิป้องกันตนเองด้วยอาวุธ
เวลาประมาณ 23 นาฬิกาของคืนเกิดเหตุผู้ตายพกมีดปลายแหลมตัวมีดยาวคืบเศษ และเพื่อนผู้ตายถืออาวุธปืนมาร้องเรียกจำเลยให้ออกไปนอกบ้าน ถ้าไม่ออกไปจะเข้ามาฆ่าจำเลย เมื่อจำเลยไม่ยอมออกไป ผู้ตายถีบประตูระเบียงบ้านจำเลยอยู่ประมาณ 10 นาทีเพื่อจะพังเข้ามาทำร้ายจำเลย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย1 นัดในระยะห่างกันเพียง 3 วา พฤติการณ์ฟังได้ว่าผู้ตายกับพวกมีเจตนาจะเข้ามาทำร้ายจำเลย นับว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงจำเลยชอบที่จะใช้สิทธิป้องกันตัวได้ และการที่จำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงเพียง 1 นัดในทันทีนั้น เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ.
of 46