คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพรัช วงศ์วัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในไทยจากบิดามารดาจดทะเบียนสมรส และการเพิกถอนสัญชาติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านและมีหนังสือแจ้งไปยังนายทะเบียนคนญวนอพยพโดยอ้างว่าโจทก์ทั้งเจ็ดถูกถอนสัญชาติไทยเป็นเหตุให้นายทะเบียนคนญวนอพยพแจ้งให้โจทก์ไปทำทะเบียนประวัติคนญวนอพยพเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย บ.บิดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทยจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตและเกิดบุตรคือโจทก์ในราชอาณาจักรไทยดังนี้โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2408มาตรา7(1)(3)และมิใช่กรณีที่โจทก์เกิดจากมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่337ลงวันที่13ธันวาคม2515ข้อ1(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญชาติไทย: การพิสูจน์สัญชาติโดยอ้างอิงที่เกิดและสัญชาติมารดา แม้บิดาเป็นชาวต่างชาติ
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะหัวหน้าสำนักกิจการญวนจังหวัดนครพนมซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ว่า โจทก์มิใช่คนสัญชาติไทยแต่เป็นคนสัญชาติญวนและสั่งให้โจทก์ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพแม้สำนักกิจการญวนจังหวัดนครพนมจะมิใช่นิติบุคคล โจทก์ก็ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ครองตำแหน่งดังกล่าวซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 เกิดในราชอาณาจักรไทยและมีมารดาคือโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7จึงเป็นคนมีสัญชาติไทย การที่ ต.คนสัญชาติญวนเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 และโจทก์ที่ 2ถึงที่ 7 แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ให้จดแจ้งชื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ในทะเบียนบ้านญวนอพยพตามคำสั่งจำเลย มิใช่หลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 มิใช่คนสัญชาติไทย การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 แจ้งชื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งในทะเบียนบ้านญวนอพยพและให้ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้บิดาเป็นชาวต่างชาติ การสั่งให้ทำบัตรคนญวนอพยพเป็นการละเมิดสิทธิ
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะหัวหน้าสำนักกิจการญวนจังหวัดนครพนมซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ว่า โจทก์มิใช่คนสัญชาติไทย แต่เป็นคนสัญชาติญวนและสั่งให้โจทก์ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แม้สำนักกิจการญวนจังหวัดนครพนมจะมิใช่นิติบุคคล โจทก์ก็ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ครองตำแหน่งดังกล่าวซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 เกิดในราชอาณาจักรไทยและมีมารดาคือโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงเป็นคนมีสัญชาติไทย การที่ ต.คนสัญชาติญวนเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ให้จดแจ้งชื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ในทะเบียนบ้านญวนอพยพตามคำสั่งจำเลย มิใช่หลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 มิใช่คนสัญชาติไทย การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 แจ้งชื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งในทะเบียนบ้านญวนอพยพและให้ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญชาติไทย: การพิสูจน์สัญชาติโดยอ้างอิงสถานะบิดามารดาและสถานที่เกิด
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะหัวหน้าสำนักกิจการญวนจังหวัดนครพนมซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ว่าโจทก์มิใช่คนสัญชาติไทยแต่เป็นคนสัญชาติญวนและสั่งให้โจทก์ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพแม้สำนักกิจการญวนจังหวัดนครพนมจะมิใช่นิติบุคคลโจทก์ก็ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ครองตำแหน่งดังกล่าวซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55 โจทก์ที่2ถึงที่7เกิดในราชอาณาจักรไทยและมีมารดาคือโจทก์ที่1ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทยโจทก์ที่2ถึงที่7จึงเป็นคนมีสัญชาติไทยการที่ต.คนสัญชาติญวนเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่2ถึงที่7และโจทก์ที่2ถึงที่7แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ให้จดแจ้งชื่อโจทก์ที่2ถึงที่7ในทะเบียนบ้านญวนอพยพตามคำสั่งจำเลยมิใช่หลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ที่2ถึงที่7มิใช่คนสัญชาติไทยการที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ที่2ถึงที่7แจ้งชื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งในทะเบียนบ้านญวนอพยพและให้ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่2ถึงที่7ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายสำหรับพนักงานที่เข้าทำงานระหว่างปี: เกณฑ์การคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับจริง
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา39เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาแล้ว. การคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้นคือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน. ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ2รายการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร โดยพิจารณาจากเงินได้ที่ได้รับจริง
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาแล้ว
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้น คือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน
ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ 2 ราย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497-3501/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับพิจารณาเรื่องคำสั่งรื้อถอนที่ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลย และการสืบพยานเพิ่มเติมที่ศาลชั้นต้นดำเนินการแล้ว
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งมิได้ถูกฟ้องด้วยเป็นการไม่ชอบ หาได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย มิได้กระทบกระเทือนสิทธิหน้าที่จำเลยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะรับไว้พิจารณา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องสืบพยานต่อไป เมื่อปรากฏว่าหลังจากมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้น และได้พิพากษาคดีใหม่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497-3501/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: จำเลยต้องโต้แย้งประเด็นที่กระทบสิทธิหน้าที่โดยตรง และการสืบพยานเพิ่มเติม
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งมิได้ถูกฟ้องด้วยเป็นการไม่ชอบหาได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วยมิได้กระทบกระเทือนสิทธิหน้าที่จำเลยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะรับไว้พิจารณา ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยานต่อไปเมื่อปรากฏว่าหลังจากมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นและได้พิพากษาคดีใหม่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยอีกต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497-3501/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับพิจารณาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยชอบแล้ว และการสืบพยานเพิ่มเติมไม่จำเป็น
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งมิได้ถูกฟ้องด้วยเป็นการไม่ชอบ หาได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วยมิได้กระทบกระเทือนสิทธิหน้าที่จำเลยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะรับไว้พิจารณา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องสืบพยานต่อไปเมื่อปรากฏว่าหลังจากมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้น และได้พิพากษาคดีใหม่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสัญญาและการเสียภาษี กรณีบริการขนส่งบุคคล ไม่ใช่การเช่า
การที่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ตกลงกันกับบริษัท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทนอาจเกิดจากสัญญาเช่ารถยนต์ สัญญาจ้างหรือสัญญาอื่นก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและข้อเท็จจริงที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกัน กรณีที่จะเป็นสัญญาเช่านั้นตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537,546และ 552 ต้องปรากฏว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ตามความพอใจเท่าที่ไม่ขัดกับสัญญาและประเพณีนิยม ซึ่งในชั่วระยะเวลานั้นคู่สัญญาฝ่ายที่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น
โจทก์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆตามที่ตกลงกันกับบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทน แต่โจทก์มิได้มอบการครอบครองรถให้คู่สัญญานำไปใช้ตามลำพัง และคู่สัญญาจะเอารถเลยไปยังสถานที่แห่งอื่นไม่ได้ โจทก์ให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไป มีคนประจำรถของโจทก์ไปด้วย คู่สัญญาของโจทก์ไม่มีอำนาจควบคุมการใช้รถ หรืออาจออกคำสั่งให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไปในเส้นทางใดตามความประสงค์ของตนได้ ดังนี้สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาเช่า แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้บริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าได้ใช้บริการในการขนส่งของโจทก์ โดยโจทก์ได้ค่าตอบแทนมากกว่า
เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าไม่เป็นสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว แม้จะมีการเรียกสัญญานั้นว่าเป็นสัญญาเช่า และเรียกค่าตอบแทนตามสัญญาว่าเป็นค่าเช่า หรือโจทก์ยอมรับกับเจ้าพนักงานประเมินว่าเป็นสัญญาเช่าก็หามีผลให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเพราะประกอบการค้าประเภทการให้เช่าทรัพย์สินแต่อย่างใด
of 46