พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการถอดถอนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด: หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีสิทธิโดยตรง
คดีนี้โจทก์จำเลยท้ากันให้ศาลชี้ข้อกฎหมายประเด็นเดียวว่าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะมีสิทธิร่วมประชุมถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการหรือไม่เท่ากับโจทก์จำเลยยอมสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้วโจทก์จะยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1032ขึ้นตั้งเป็นประเด็นใหม่อีกหาได้ไม่ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อโต้แย้งของโจทก์ข้อนี้อยู่นอกคำท้าไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาไดมีสิทธิและความรับผิดเท่าเทียมกันไม่การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้นหากห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวผู้นั้นก็เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโดยลำพังหากมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหลายคนต่างคนต่างก็มีสิทธิเข้าจัดการห้างหุ้นส่วนหรืออาจตกลงระหว่างกันเองให้ใครเป็นผู้จัดการก็ได้และเมื่อจะถอดถอนผู้จัดการก็จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอนทำนองเดียวกับกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนี้มีสิทธิและความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนั่นเองส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดหาได้มีสิทธิและความรับผิดอย่างผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นการนำมาตรา1036ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองของห้างหุ้นส่วนสามัญใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องใช้เฉพาะกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้นและที่มาตรา1088วรรคสองมิให้ถือว่าการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดออกความเห็นแนะนำหรือออกเสียงลงคะแนนในการตั้งและถอดถอนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของหุ้นส่วนนั้นก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาหุ้นส่วนเท่านั้นซึ่งเป็นข้อยกเว้นหาใช่กรณีทั่วไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
ป.พ.พ.หมวดว่าด้วยห้างหุ้นส่วนจำกัดหาได้บัญญัติถึงการถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการไม่จึงต้องนำมาตรา1036ในบทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับแต่จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอน จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัด: บทบัญญัติมาตรา 1036 ใช้กับหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
ป.พ.พ. หมวดว่าด้วยห้างหุ้นส่วนจำกัดหาได้บัญญัติถึงการถอดถอน หุ้นส่วนผู้จัดการไม่ จึงต้องนำมาตรา 1036 ในบทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับ แต่จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอน จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอน ผู้จัดการซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่ เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินตามเช็คโดยไม่ต้องอาศัยความผิดอาญา ผู้ครอบครองเช็คมีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คอันเป็นสิทธิเรียกร้องโดยไม่ต้องอาศัยมูลความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 จึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ข้อที่จำเลยอ้างว่าศาลต้องฟังข้อเท็จจริงคดีนี้ตามคำพิพากษาส่วนอาญาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าลูกวงแชร์เป็นผู้ทรงเช็คจึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเช็คโดยไม่ต้องอาศัยมูลความผิดอาญา ศาลไม่ต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คอันเป็นสิทธิเรียกร้องโดยไม่ต้องอาศัยมูลความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497จึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาข้อที่จำเลยอ้างว่าศาลต้องฟังข้อเท็จจริงคดีนี้ตามคำพิพากษาส่วนอาญาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าลูกวงแชร์เป็นผู้ทรงเช็คจึงฟังไม่ขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามเช็ค - ผู้ทรงเช็ค - คดีแพ่งแยกจากคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คอันเป็นสิทธิเรียกร้องโดยไม่ต้องอาศัยมูลความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 จึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ข้อที่จำเลยอ้างว่าศาลต้องฟังข้อเท็จจริงคดีนี้ตามคำพิพากษาส่วนอาญาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าลูกวงแชร์เป็นผู้ทรงเช็คจึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่ออายัดและจ่ายเงิน: ตาราง 5 ข้อ 2 vs. ข้อ 4
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่นมาจำนวนหนึ่งในเงินจำนวนนี้ได้จ่ายให้โจทก์เพียงบางส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายให้โจทก์นี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ3ครึ่งตามตาราง5ข้อ2ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีตามตาราง5ข้อ2ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของและเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงินแม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตามแต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัดเป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว กรณีตามตาราง5ข้อ4หมายถึงเมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายการขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัดจึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี: การอายัดเงินและการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่นมาจำนวนหนึ่งในเงินจำนวนนี้ได้จ่ายให้โจทก์เพียงบางส่วน เฉพาะส่วนที่จ่ายให้โจทก์นี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งตามตาราง 5 ข้อ 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 2 ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของ และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงิน แม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด เป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 4 หมายถึง เมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด จึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 2 ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของ และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงิน แม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด เป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 4 หมายถึง เมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด จึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี: การอายัดเงินและการจ่ายให้เจ้าหนี้ การตีความตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่นมาจำนวนหนึ่งในเงินจำนวนนี้ได้จ่ายให้โจทก์เพียงบางส่วน เฉพาะส่วนที่จ่ายให้โจทก์นี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งตามตาราง 5 ข้อ 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 2 ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของ และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงิน แม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตามแต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด เป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 4 หมายถึง เมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด จึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 2 ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของ และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงิน แม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตามแต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด เป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 4 หมายถึง เมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด จึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการสาขาธนาคารต่อการอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจ และอายุความฟ้องคดี
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ได้อนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดต่อระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์การที่จำเลยรายงานยอดบัญชีไปให้โจทก์ทราบทุกสิ้นเดือนทุกหกเดือนและทุกสิ้นปีโดยแจ้งชื่อลูกหนี้และประเภทหนี้รวมทั้งการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีด้วยนั้นการรายงานดังกล่าวเป็นเพียงการรายงานตามที่โจทก์วางระเบียบไว้เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนรายงานกิจการที่ได้กระทำไปต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการแม้โจทก์ทราบการกระทำของจำเลยที่ผิดระเบียบแล้วไม่ทักท้วงคัดค้านก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ให้สัตยาบันในการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดต่อระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์ ฟ้องโจทก์ที่กล่าวว่าจำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์จำเลยกระทำการเกินอำนาจของผู้จัดการสาขามิได้ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์โดยเคร่งครัดเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการในการที่จำเลยกระทำการนอกเหนืออำนาจที่โจทก์มอบหมายตามป.พ.พ.มาตรา812มีอายุความ10ปี.