พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยานพาหนะที่ใช้ในการลักทรัพย์ ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยทั้งห้าใช้เรือไม้และเครื่องยนต์เป็นยานพาหนะไปลักรังนกอีแอ่นบนเกาะเมื่อลักรังนกอีแอ่นได้แล้ว ขณะกลับมาลงเรือของกลางก็ถูกจับ ดังนี้ เรือไม้และเครื่องยนต์ของกลางดังกล่าวเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งห้าใช้เดินทางไปมายังเกาะที่เกิดเหตุเพื่อลักทรัพย์เท่านั้น จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำผิดอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา33(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถยนต์ให้เช่าซื้อ ย่อมไม่มีสิทธิขอรถคืน หากรู้เห็นการใช้รถในการกระทำผิด และยินยอมรับค่าเช่าซื้อต่อ
ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลาง ได้ให้ ส. เช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวไป ต่อมาจำเลยขอยืมรถยนต์จากส.ไปใช้ในการกระทำผิด ผู้ร้องทราบจาก ส. และจำเลยว่าจำเลยนำรถยนต์ไปใช้ในการกระทำผิดแต่กลับตกลงให้จำเลย และ ส. ชำระค่าเช่าซื้อต่อมาโดยมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงที่จะได้รับค่าเช่าซื้อตามสัญญาเท่านั้น เมื่อผู้ร้องมาร้องขอรถยนต์ของกลางคืนจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าซื้อและจำเลยที่จะได้รับรถยนต์ของกลางกลับไปในภายหลัง ตามพฤติการณ์ถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดด้วย จึงไม่มีสิทธิขอของกลางคืน(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา กรณีบรรยายสถานที่เกิดเหตุชัดเจนเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทางเข้าออกหมู่บ้านอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันตั้งอยู่ที่ตำบลและอำเภอใดโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นทางเข้าออกทางทิศใดของหมู่บ้าน ย่อมชัดเจนเพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุสถานที่บุกรุกที่ชัดเจนเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทางเข้าออกหมู่บ้านอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ตั้งอยู่ที่ตำบลและอำเภอใด โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นทางเข้าออกทางทิศใดของหมู่บ้าน ย่อมชัดเจนเพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่เข้าข่ายความร่วมมือในการพยายามฆ่า แม้จะอยู่ในเหตุการณ์
จำเลยทั้งสองอาศัยอยู่กับผู้เสียหายในห้องเกิดเหตุ ผู้เสียหายกับจำเลยที่ 2 ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน คืนเกิดเหตุในระหว่างที่ผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ทะเลาะกัน จำเลยที่ 2 ก็มิได้เป็นปากเสียงกับผู้เสียหายด้วย และขณะจำเลยที่ 1 ใช้มีดแทงผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 เพียงแต่ยืนดูอยู่เฉย ๆ หาได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายด้วยไม่ การที่จำเลยที่ 1 ถามจำเลยที่ 2 ก่อนทำร้ายผู้เสียหายว่า ออกจากบ้านผู้เสียหายแล้วรู้จักทางไหม จำเลยที่ 2 ตอบว่ารู้จักก็ดีก่อนเกิดเหตุทำร้ายกันจำเลยทั้งสองเข้าและออกจากห้องน้ำพร้อมกันก็ดี เมื่อผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 ทำร้ายแล้วผู้เสียหายขอร้องให้จำเลยที่ 2 ช่วยเหลือ จำเลยที่ 2 ตอบว่าช่วยไม่ได้ก็ดี ล้วนเป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่เพียงพอให้ฟังว่า จำเลยที่ 2 ร่วมในการพยายามฆ่าผู้เสียหายด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่ถึงขั้นเป็นตัวการร่วมในความผิดพยายามฆ่า แม้จะมีส่วนเกี่ยวข้องก่อนและหลังเหตุการณ์
การที่ก่อนเกิดเหตุทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ถาม จำเลยที่ 2ว่าออกจากบ้านผู้เสียหายแล้วรู้จักทางไหม จำเลยที่ 2 ตอบ ว่ารู้จักและจำเลยที่ 2 เข้าห้องน้ำพร้อมกับจำเลยที่ 1 แล้วออกจากห้องน้ำพร้อมกันทั้งเมื่อผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 ทำร้ายแล้วร้องขอให้จำเลยที่ 2 ช่วย จำเลยที่ 2 ตอบ ว่าช่วย ไม่ได้นั้น พฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมเป็นตัวการในการพยายามฆ่าผู้เสียหายด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงชื่อสกุลบุตรผู้เยาว์: อำนาจของนายทะเบียนและการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ชื่อบุคคล
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อสำนักงานทะเบียนท้องที่ขอแก้และเปลี่ยนชื่อสกุลของบุตรผู้เยาว์เพื่อให้ถูกต้อง แต่ทางสำนักงานทะเบียนดังกล่าว ไม่สามารถกระทำให้ได้ ผู้ร้องก็ชอบที่จะดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มิใช่กรณีจะใช้สิทธิทางศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อสกุลบุตรผู้เยาว์: การดำเนินการตาม พ.ร.บ.ชื่อบุคคล มิใช่การฟ้องร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อสำนักงานทะเบียนท้องที่ขอแก้และเปลี่ยนชื่อสกุลของบุตรผู้เยาว์เพื่อให้ถูกต้อง แต่ทางสำนักงานทะเบียนดังกล่าว ไม่สามารถกระทำให้ได้ ผู้ร้องก็ชอบที่จะดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มิใช่กรณีจะใช้สิทธิทางศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อสกุล: อำนาจหน้าที่นายทะเบียน, พ.ร.บ.ชื่อบุคคล, และขอบเขตการใช้สิทธิทางศาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ และเปลี่ยนชื่อ สกุล แต่ทางสำนักงานทะเบียนท้องที่ไม่สามารถกระทำให้ได้ ผู้ร้องชอบที่จะดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มิใช่กรณีที่จะมาใช้สิทธิทางศาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์สมบูรณ์เมื่อมีข้อตกลงและส่งมอบทรัพย์สิน แม้ยังมิได้แจ้งเปลี่ยนชื่อต่อผู้ให้เช่า
ระเบียบขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไม่มีข้อห้ามการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ เพียงแต่จะให้ไปทำการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้น เมื่อผู้เช่าสิทธิการเช่าโทรศัพท์ขายสิทธิให้แก่ผู้ร้อง การโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จึงสมบูรณ์ตั้งแต่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงซื้อขายสิทธิการเช่าและส่งมอบเครื่องโทรศัพท์ให้ฝ่ายผู้รับโอนครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดสิทธิการเช่าดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)