พบผลลัพธ์ทั้งหมด 371 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในคดีอนาถา: ศาลอนุญาตได้หากเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและยื่นก่อนกำหนด
โจทก์ฟ้องและร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เมื่อปรากฏในระหว่างดำเนินการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์อยู่นั้นว่า ฟ้องของโจทก์ไม่บริบูรณ์ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 179 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในคดีอนาถา: ศาลอนุญาตได้หากฟ้องเดิมยังอยู่และเกี่ยวข้องกับฟ้องใหม่
ในระหว่างที่ศาลไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ได้เพราะไม่มีกฎหมายห้ามกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179และมาตรา 180 มาใช้บังคับ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยอ้างเหตุว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องและมีคำสั่งต่อไปอีกว่าหากโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายใน 7 วันเช่นนี้เห็นได้ว่าศาลชั้นต้นเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เสียเท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแต่ประการใด ดังนั้นคำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์และกรณีเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 และมาตรา 180 โดยถูกต้อง ก็ชอบที่ศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้นได้ และชอบที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา156.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอด กรณีสินค้าสูญหาย และข้อยกเว้นความรับผิดที่ไม่ชัดเจน
ก่อนที่เรือบรรทุกสินค้าจะมาถึงประเทศไทย จำเลยได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่า ทำการติดต่อกับกรมเจ้าท่า ติดต่อกรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ครั้นเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยได้ติดต่อว่าจ้างขนถ่ายสินค้าลงจากเรือสินค้าแจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบว่าสินค้าได้มาถึงประเทศไทยแล้ว และรับใบตราส่งจากผู้ซื้อ แล้วออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อเพื่อนำไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในกรณีที่จะมีการส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยเรือของบริษัทเจ้าของเรือจำเลยจะเป็นผู้ออกใบตราส่งให้ โดยใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับใบตราส่งของบริษัทดังกล่าว ในการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวนี้จำเลยได้รับประโยชน์ตอบ แทนโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ จากค่าระวางการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวแม้บางอย่างจะกระทำการแทนผู้ขนส่งต่างประเทศ แต่ก็เป็นการเข้าลักษณะร่วมกันทำการขนส่งกับผู้ขนส่งต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของเรือ และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา618 ลักษณะ 8 เรื่องรับขนในฐานะที่เป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสาม การที่ผู้ส่งสินค้ายอมรับใบตราส่งไปจากผู้ขนส่งนั้นจะถือว่าผู้ส่งได้ตกลงด้วยชัดแจ้งกับข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบตราส่งไม่ได้ ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงตก เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าสูญหาย แม้มีข้อจำกัดความรับผิดในใบตราส่ง
ก่อนที่เรือบรรทุกสินค้าจะมาถึงประเทศไทย จำเลยได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่าทำการติดต่อกับกรมเจ้าท่า ติดต่อกรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ครั้นเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยได้ติดต่อว่าจ้างขนถ่ายสินค้าลงจากเรือสินค้า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบว่าสินค้าได้มาถึงประเทศไทยแล้ว และรับใบตราส่งจากผู้ซื้อ แล้วออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อเพื่อนำไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในกรณีที่จะมีการส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยเรือของบริษัทเจ้าของเรือ จำเลยจะเป็นผู้ออกใบตราส่งให้ โดยใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับใบตราส่งของบริษัทดังกล่าว ในการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวนี้จำเลยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากค่าระวางการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวแม้บางอย่างจะกระทำการแทนผู้ขนส่งต่างประเทศ แต่ก็เป็นการเข้าลักษณะร่วมกันทำการขนส่งกับผู้ขนส่งต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของเรือ และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ซึ่งต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 618 ลักษณะ 8 เรื่องรับขนในฐานะที่เป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสาม
การที่ผู้ส่งสินค้ายอมรับใบตราส่งไปจากผู้ขนส่งนั้นจะถือว่า ผู้ส่งได้ตกลงด้วยชัดแจ้งกับข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบตราส่งไม่ได้ ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625.
การที่ผู้ส่งสินค้ายอมรับใบตราส่งไปจากผู้ขนส่งนั้นจะถือว่า ผู้ส่งได้ตกลงด้วยชัดแจ้งกับข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบตราส่งไม่ได้ ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: เกณฑ์เงินสด vs. เกณฑ์สิทธิ การประเมินรายได้จากค่าเช่าและทรัพย์สิน
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ (พ.ศ.2518-2519) มิได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่ารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะจัดทำกันโดยใช้ระบบเกณฑ์สิทธิหรือเกณฑ์เงินสด จึงต้องนำมาตรา 39 ว่าด้วยข้อความทั่วไปของภาษีเงินได้มาใช้บังคับ ซึ่งเห็นได้ว่าเงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นจะเป็นเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ดีต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในภายหน้า ฉะนั้นการที่โจทก์จัดทำบัญชีค่าเช่าเป็นรายได้โดยใช้ระบบเกณฑ์เงินสดคือนำค่าเช่าที่ได้รับมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณกำไรสุทธิจึงเป็นการชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: เกณฑ์เงินสด vs. เกณฑ์สิทธิ และการประเมินรายได้จากการขายที่ดิน
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ (พ.ศ.2518-2519) มิได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่ารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะจัดทำกันโดยใช้ระบบเกณฑ์สิทธิหรือเกณฑ์เงินสด จึงต้องนำมาตรา 39 ว่าด้วยข้อความทั่วไปของภาษีเงินได้มาใช้บังคับ ซึ่งเห็นได้ว่าเงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นจะเป็นเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ดีต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในภายหน้า ฉะนั้นการที่โจทก์จัดทำบัญชีค่าเช่าเป็นรายได้โดยใช้ระบบเกณฑ์เงินสดคือนำค่าเช่าที่ได้รับมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณกำไรสุทธิจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินร่วมกัน การสละสิทธิครอบครอง และผลของการทำนิติกรรมโดยไม่ได้รับความยินยอม
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำกินในที่พิพาทมาด้วยกันมาเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ต่อมาโจทก์หยุดทำกินเพราะป่วย จำเลยที่ 1 กับสามีทำกินต่อโดยแบ่งผลประโยชน์ให้โจทก์ แสดงว่าโจทก์มิได้สละการครอบครองที่พิพาทในส่วนของโจทก์ จำเลยที่ 1 คงครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์อยู่ การที่จำเลยที่ 1 นำที่พิพาทส่วนของโจทก์ไปแลกเปลี่ยนกับ ฮ.ก็ดี หรือยกส่วนของโจทก์ให้จำเลยที่ 2 ไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) ก็ดี เมื่อโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย นิติกรรมดังกล่าวหาผูกพันโจทก์ไม่ โจทก์ยังมีสิทธิครอบครองที่พิพาทในส่วนของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล: เหตุผลพิเศษต้องเกิดจากเหตุการณ์นอกเหนือการควบคุมของจำเลย
การที่จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลออกไปอีกสิบวันโดยอ้างว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินต้องเดินทางไปต่างประเทศกะทันหันเกี่ยวกับธุรกิจสำคัญของบริษัทก่อนครบกำหนดยื่นอุทธรณ์สองวัน ทนายจำเลยที่ 2 มิได้เตรียมเบิกเงินค่าธรรมเนียมศาลไว้ก่อน จึงไม่อาจชำระค่าธรรมเนียมศาลในวันยื่นอุทธรณ์ได้นั้นถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของจำเลยที่ 2 เองมิใช่มีพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงมีคำสั่งขยายเวลาการชำระค่าธรรมเนียมศาลให้จำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล: เหตุผลจากความผิดพลาดของจำเลย ไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
คำร้อง ของ จำเลยขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์อ้างเหตุว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินต้องเดินทางไปต่างประเทศกะทันหันเกี่ยวกับธุรกิจสำคัญของบริษัททนายจำเลยมิได้เตรียมเบิกเงินค่าธรรมเนียมศาลไว้ก่อนเนื่องจากไม่คาดคิดว่ากรรมการผู้จัดการจะต้องเดินทางกะทันหัน จึงไม่อาจชำระค่าธรรมเนียมศาลในกำหนดนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเพราะความผิดหรือบกพร่องของจำเลยเอง ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงมีคำสั่งขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมศาลให้จำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล: เหตุผลความผิดพลาดของจำเลยไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษ
การที่จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลออกไปอีกสิบวันโดยอ้างว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินต้องเดินทางไปต่างประเทศกะทันหันเกี่ยวกับธุรกิจสำคัญของบริษัทก่อนครบกำหนดยื่นอุทธรณ์สองวัน ทนายจำเลยที่ 2 มิได้เตรียมเบิกเงินค่าธรรมเนียมศาลไว้ก่อน จึงไม่อาจชำระค่าธรรมเนียมศาลในวันยื่นอุทธรณ์ได้นั้นถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของจำเลยที่ 2 เองมิใช่มีพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงมีคำสั่งขยายเวลาการชำระค่าธรรมเนียมศาลให้จำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23