คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสวก จันทร์ผ่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 371 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและการจำนองโดยตัวแทน สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมได้รับการคุ้มครอง
ย.แบ่งขายที่ดินบางส่วนให้จำเลย แต่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งแปลงให้จำเลย และในวันเดียวกันนั่นเองจำเลยได้จำนองที่ดินแปลงดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้ การที่ ย. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งแปลงให้มีชื่อจำเลยในโฉนดแต่เพียงผู้เดียว เป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นโดยเปิดเผยว่าที่ดินทั้งหมดเป็นของจำเลยจึงเท่ากับเป็นการยอมให้จำเลยผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนตนทำการออกหน้าว่าเป็นเจ้าของที่ดินคนเดียว ถือได้ว่าจำเลยมีฐานะเป็นตัวแทนของ ย.ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของย. เมื่อจำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้แก่โจทก์ต้องถือว่า ย. ยอมให้จำเลยทำการออกหน้าเป็นตัวการในการจำนอง ย. จึงไม่อาจทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 ผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกของ ย.ซึ่งเป็นผู้รับโอน จึงไม่มีสิทธิดีกว่า ย. ผู้โอน เมื่อโจทก์บังคับจำนองนำยึดที่ดินดังกล่าว ผู้ร้องจะอ้างสิทธิของตนขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้รับทั้งหมด การโอนมรดกตามพินัยกรรมและสิทธิของทายาท
พินัยกรรมมีข้อความสำคัญว่า 'ฯลฯ ข้อ 1 เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตาย บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะพึงมีต่อไปภายหน้าข้าพเจ้าขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมฉบับนี้ ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 2. ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 10197......ตั้งอยู่ตำบลวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานครพร้อมกับสิ่งปลูกสร้างข้าพเจ้าขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ ส.(โจทก์) แต่ผู้เดียว ข้อ 3. ข้าพเจ้าขอแต่งตั้งให้ ส. (โจทก์)เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมฉบับนี้และให้เป็นผู้จัดการศพของข้าพเจ้าด้วย' ข้อความในพินัยกรรมข้อ 1. หมายความว่า เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้วให้บรรดาทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่นั้นตกเป็นของโจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับพินัยกรรมแต่ผู้เดียว รวมทั้งทรัพย์สินตามที่ได้กล่าวไว้ในพินัยกรรมข้อ 2 ด้วย ดังนั้นที่ดินมรดกจึงตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรม
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประเด็นอายุความจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์และเป็นอันยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจะยกขึ้นอ้างหรือโต้แย้งในชั้นฎีกาไม่ได้
ส่วนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าหากโอนที่ดินไม่ได้ ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนนั้น ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาในชั้นฎีกาจำเลยได้โอนขายที่ดินแปลงนี้ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ฉะนั้น หากจำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ไม่ได้ ก็ไม่อาจนำที่ดินนี้ออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วน ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้นั้นได้ จึงพิพากษาแก้ให้จำเลยโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกหากไม่สามารถโอนได้ให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์เป็นจำนวน 500,000 บาท ตามส่วนของราคาที่ดินพร้อมด้วยดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามพินัยกรรมและผลของการโอนทรัพย์สินก่อนมีคำพิพากษา
พินัยกรรมมีข้อความสำคัญว่า 'ฯลฯ ข้อ 1 เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตาย บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะพึงมีต่อไปภายหน้าข้าพเจ้าขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมฉบับนี้ ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 2. ที่ดินตามโฉนดเลขที่10197......ตั้งอยู่ตำบลวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานครพร้อมกับสิ่งปลูกสร้างข้าพเจ้าขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ ส.(โจทก์) แต่ผู้เดียว ข้อ 3. ข้าพเจ้าขอแต่งตั้งให้ ส.(โจทก์)เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมฉบับนี้และให้เป็นผู้จัดการศพของข้าพเจ้าด้วย' ข้อความในพินัยกรรมข้อ 1. หมายความว่า เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้วให้บรรดาทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่นั้นตกเป็นของโจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับพินัยกรรมแต่ผู้เดียว รวมทั้งทรัพย์สินตามที่ได้กล่าวไว้ในพินัยกรรมข้อ 2ด้วย ดังนั้นที่ดินมรดกจึงตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรม
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประเด็นอายุความจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์และเป็นอันยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจะยกขึ้นอ้างหรือโต้แย้งในชั้นฎีกาไม่ได้
ส่วนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าหากโอนที่ดินไม่ได้ ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนนั้น ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาในชั้นฎีกาจำเลยได้โอนขายที่ดินแปลงนี้ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ฉะนั้น หากจำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ไม่ได้ ก็ไม่อาจนำที่ดินนี้ออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วน ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้นั้นได้ จึงพิพากษาแก้ให้จำเลยโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกหากไม่สามารถโอนได้ให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์เป็นจำนวน500,000 บาท ตามส่วนของราคาที่ดินพร้อมด้วยดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินเฉพาะเจาะจง และสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งมรดก
ข้อความในพินัยกรรมที่ว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตายให้บรรดาทรัพย์สินที่มีอยู่และที่จะพึงมีต่อไปในภายหน้าตก เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ระบุชื่อ ในพินัยกรรม แต่ปรากฏว่าผู้ที่มีชื่อระบุให้ได้รับทรัพย์สินตามพินัยกรรมก็มีแต่โจทก์เพียงคนเดียวเท่านั้น เช่นนี้ย่อมหมายความว่า เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วให้บรรดาทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่นั้นตก เป็นของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คขีดคร่อมเฉพาะ: ธนาคารจ่ายเงินเข้าบัญชีผู้รับเงินที่ถูกต้องตามอำนาจกรรมการ แม้ขัดกับข้อความในเช็ค ไม่ถือเป็นการละเมิด
การที่ธนาคารจำเลยนำเช็คซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะมีคำสั่งในระหว่างเส้นขีดคร่อมนั้นว่าACCOUNTPAYEEONLY ไปเข้าบัญชีของจำเลยร่วม โดยกระทำไปตามคำสั่งของจำเลยร่วมซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ มีอำนาจสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ ทั้งไม่ได้ความว่าการที่จำเลยไม่นำเงินตามเช็คดังกล่าวมาเข้าบัญชีโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายธนาคารจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์
เช็คที่มีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 แล้ว ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำว่า'โปรดจ่าย' หรือใช้ถ้อยคำว่า 'ให้ใช้เงิน' ก็ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันว่าให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คระบุชื่อผู้รับเงินขีดคร่อมเฉพาะ ธนาคารจ่ายเงินเข้าบัญชีผู้สั่งจ่ายได้ หากไม่มีเสียหายต่อผู้รับเงิน
การที่ธนาคารจำเลยนำเช็คซึ่งระบุชื่อ โจทก์ เป็นผู้รับเงินและเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ มีคำสั่งในระหว่างเส้นขีดคร่อมนั้นว่าACCOUNTPAYEEONLY ไปเข้าบัญชีของจำเลยร่วม โดยกระทำไปตามคำสั่งของจำเลยร่วมซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ มีอำนาจสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ ทั้งไม่ได้ความว่าการที่จำเลยไม่นำเงินตามเช็คดังกล่าวมาเข้าบัญชีโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหาย ธนาคารจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ เช็คที่มีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 988แล้ว ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำว่า "โปรดจ่าย" หรือใช้ถ้อยคำว่า"ให้ใช้เงิน" ก็ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันว่าให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คขีดคร่อม: ธนาคารจ่ายเงินเข้าบัญชีผู้สั่งจ่ายได้ หากผู้สั่งจ่ายมีอำนาจและไม่ทำให้โจทก์เสียหาย
การที่ธนาคารจำเลยนำเช็คซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะมีคำสั่งในระหว่างเส้นขีดคร่อมนั้นว่า ACCOUNT PAYEE ONLY ไปเข้าบัญชีของจำเลยร่วม โดยกระทำไปตามคำสั่งของจำเลยร่วมซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ มีอำนาจสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ ทั้งไม่ได้ความว่าการที่จำเลยไม่นำเงินตามเช็คดังกล่าวมาเข้าบัญชีโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายธนาคารจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์
เช็คที่มีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 แล้ว ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำว่า'โปรดจ่าย' หรือใช้ถ้อยคำว่า 'ให้ใช้เงิน' ก็ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันว่าให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าไม้พื้น: ข้อพิพาทเรื่องประเภทสินค้าและการใช้ประโยชน์ตามกฎหมายภาษีอากร
อุทธรณ์ของโจทก์โต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ภาษีการค้าไม้พื้น: ข้อจำกัดทุนทรัพย์ & การจัดประเภทสินค้า
อุทธรณ์ของโจทก์โต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์ หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพิเศษที่จ่ายให้พนักงานโดยมีเงื่อนไข ไม่ถือเป็นรายจ่ายที่จ่ายเสร็จเด็ดขาดทางภาษี
เงินบำเหน็จพิเศษที่โจทก์จ่ายเข้าบัญชีของพนักงานโดยให้พนักงานโอนเงินดังกล่าวมาเป็นเงินประกันตัว แล้วฝากเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงานแต่ละคนนั้น โจทก์มีระเบียบว่า พนักงานจะเบิกเงินในบัญชีเงินฝากประจำไม่ได้จนกว่าจะออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ถ้า ทำความเสียหายโจทก์มีสิทธิหักเงินจำนวนดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายได้เงินบำเหน็จพิเศษดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จ่ายให้แก่พนักงานโดยเด็ดขาดเป็นเพียงรายจ่ายที่ต้องจ่ายในอนาคต จึงเป็นเงินสำรองตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (1) โจทก์ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์พยายามออกระเบียบและใช้วิธีการทางบัญชีเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเพื่อไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะให้ความสะดวกแก่จำเลยในการตรวจสอบบัญชี ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เสียภาษีเงินได้ไม่ครบถ้วนโดยสุจริตจึงไม่มีเหตุควรงดหรือลดเงินเพิ่ม.
of 38