คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสวก จันทร์ผ่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 371 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพิเศษที่จ่ายให้พนักงานโดยมีเงื่อนไข ไม่ถือเป็นรายจ่ายที่จ่ายเสร็จเด็ดขาดทางภาษี
เงินบำเหน็จพิเศษที่โจทก์จ่ายเข้าบัญชีของพนักงานโดยให้พนักงานโอนเงินดังกล่าวมาเป็นเงินประกันตัว แล้วฝากเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงานแต่ละคนนั้น โจทก์มีระเบียบว่า พนักงานจะเบิกเงินในบัญชีเงินฝากประจำไม่ได้จนกว่าจะออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ถ้า ทำความเสียหายโจทก์มีสิทธิหักเงินจำนวนดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายได้เงินบำเหน็จพิเศษดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จ่ายให้แก่พนักงานโดยเด็ดขาดเป็นเพียงรายจ่ายที่ต้องจ่ายในอนาคต จึงเป็นเงินสำรองตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (1) โจทก์ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์พยายามออกระเบียบและใช้วิธีการทางบัญชีเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเพื่อไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะให้ความสะดวกแก่จำเลยในการตรวจสอบบัญชี ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เสียภาษีเงินได้ไม่ครบถ้วนโดยสุจริตจึงไม่มีเหตุควรงดหรือลดเงินเพิ่ม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยฐานผลิตและมีกัญชาครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลงโทษทั้งสองกรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผลิตกัญชาโดยปลูกกัญชาจำนวน 32 ต้นเพื่อจำหน่ายกับมีกัญชาจำนวนดังกล่าวและกัญชาแห้งอีก 1 ถุงใหญ่และ 2 ถึงเล็กไว้ในครอบครอง ดังนี้ต้องถือว่ากัญชาแห้งดังกล่าวเป็นกัญชาอีกส่วนหนึ่งที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการปลูกกัญชา 32 ต้นแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยในส่วนนี้เป็นความผิดอีกกรรมหรือต่างหาก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยฐานผลิตและมีกัญชาไว้จำหน่ายแยกกระทงหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลงโทษแยกกระทงได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผลิตกัญชาโดยปลูกกัญชาจำนวน 32 ต้นเพื่อจำหน่ายกับมีกัญชาจำนวนดังกล่าวและกัญชาแห้งอีก 1 ถุง ใหญ่และ 2 ถุง เล็กไว้ในครอบครอง ดังนี้ต้องถือว่ากัญชาแห้งดังกล่าวเป็นกัญชาอีกส่วนหนึ่งที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการปลูกกัญชา 32 ต้น แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยในส่วนนี้เป็นความผิดอีกกรรมหรือต่างหาก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องคืนเงินอากรศุลกากร: ฟ้องข้ามปีขาดอายุความ
สิทธิในการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้น พ.ร.บ. ศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 10 วรรคห้า บัญญัติว่า จะต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันที่นำของเข้า และถ้า เป็นการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณน้ำหนักหรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นอกจากจะต้องเรียกร้องหรือฟ้องคดีภายใน 2 ปีแล้ว ยังจะต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องด้วย บทบัญญัติมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พุทธศักราช 2469หาได้หมายความว่าเมื่อโจทก์ทวงถามค่าอากรที่เสียเกินภายในสองปีแล้วโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกคืนได้ภายใน 10 ปีไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนภาษีอากรศุลกากร: ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับจากวันนำของเข้า
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 10 วรรคห้า มีความหมายว่าสิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้น จะต้องฟ้องเสียภายในสองปีนับแต่วันที่นำของเข้า และถ้าเป็นการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักหรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นอกจากจะต้องเรียกร้องหรือฟ้องคดีภายในสองปีแล้ว กฎหมายยังบัญญัติไว้อีกว่าจะต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องด้วย
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2521 อ้างว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งเพิ่มราคาของให้สูงขึ้น เพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากรแต่โจทก์ฟ้องคดีเรียกคืนภาษีอากรที่เสียเพิ่มขึ้นดังกล่าว เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 ดังนี้ แม้โจทก์จะได้แจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากร คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความตาม มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนภาษีอากรศุลกากร: ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันนำของเข้า และแจ้งความก่อนส่งมอบ
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 10 วรรคห้า มีความหมายว่าสิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้น จะต้องฟ้องเสียภายในสองปีนับแต่วันที่นำของเข้า และถ้าเป็นการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักหรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นอกจากจะต้องเรียกร้องหรือฟ้องคดีภายในสองปีแล้ว กฎหมายยังบัญญัติไว้อีกว่าจะต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องด้วย
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2521อ้างว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งเพิ่มราคาของให้สูงขึ้น เพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากรแต่โจทก์ฟ้องคดีเรียกคืนภาษีอากรที่เสียเพิ่มขึ้นดังกล่าว เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 ดังนี้ แม้โจทก์จะได้แจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากร คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความตาม มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึด: การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่แท้จริง แม้มีการจดทะเบียนพาณิชย์
แม้ผ้าที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดจะอยู่ในร้านขายผ้าซึ่งตามใบทะเบียนพาณิชย์มีชื่อผู้ร้องเป็นผู้ประกอบกิจการจำหน่ายผ้าก็ตามแต่พยานของผู้ร้องเจือสมข้อนำสืบของฝ่ายโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการและเป็นผู้สั่งสินค้าผ้ามาจำหน่าย ผ้าดังกล่าวจึงเป็นของจำเลย ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ถอนการยึด.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหลักฐานนอกประเด็นคดี: ศาลพิพากษาชอบแล้วหากข้อเท็จจริงเชื่อมโยงกับประเด็นที่กำหนด
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่าไม่เคยซื้อหรือให้ตัวแทนซื้ออิฐจากโจทก์ และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบว่าจำเลยทั้งสองได้สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เมื่อโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างตึกแถว จำเลยที่ 2 เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนกันในการก่อสร้าง จำเลยที่ 1ได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และศาลฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ที่รับว่าเป็นลูกจ้างของ ค. สามีจำเลยที่ 1เป็นผู้ควบคุมงาน ควบคุมอุปกรณ์ก่อสร้าง ส่วนไหนขาดก็สั่งเพิ่ม จำเลยทั้งสองได้สั่งซื้ออิฐไปจากโจทก์ตามฟ้อง ดังนี้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบและที่ศาลรับฟังมา จึงเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี ไม่เป็นการนอกประเด็น.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1296/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีภาษีอากรเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและอายุความ รวมถึงการคิดดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระค่าภาษี จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากค่าภาษีที่ค้างชำระอีก
จำเลยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ แม้จะใช้แบบพิมพ์คำร้องมิได้ใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับมาโดยมิได้สั่งให้ทำใหม่ ก็พออนุโลมว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 25 ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ สินค้าที่นำเข้ามีราคาที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรพร้อมด้วยเงินเพิ่มจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดมีเพียงว่าข้ออ้างของโจทก์ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นมีมูลที่จำเลยจะต้องรับผิดหรือไม่คดีไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้มาก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินมรดกโดยผู้จัดการมรดกที่มีเจตนาค้าขาย ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
ที่ดินที่โจทก์ขายไป เดิม สามีโจทก์กับ ป. ร่วมกันซื้อมาเพื่อจัดสรรให้แก่บุคคลทั่วไป เมื่อสามีโจทก์ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีได้เลิกการเป็นหุ้นส่วนกับ ป. โดยตกลงแบ่งที่ดินเป็นของ ป. 66 แปลง เป็นของโจทก์ 53 แปลง เมื่อโจทก์จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินทั้ง 53 แปลงมาแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการขายที่ดินนั้นต่อไปตามเจตนาเดิม ของเจ้ามรดก โดยโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ดังนี้ การค้าที่ดินของโจทก์เป็นการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรมิใช่เป็นการขายทรัพย์สินอันเป็นมรดกตามความหมายของ ป. รัษฎากรมาตรา 42(9) ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น จึงต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการขายที่ดินของโจทก์ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 11 ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าอีกด้วย.
of 38