พบผลลัพธ์ทั้งหมด 371 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินที่ได้มาเพื่อค้ากำไรไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 42(9) ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้
สามีโจทก์กับ ป. ร่วมกันซื้อที่ดินมาเพื่อจัดสรรขายให้แก่บุคคลทั่วไปอันเป็นการซื้อมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ครั้นเมื่อสามีโจทก์ตายโจทก์จดทะเบียนรับโอนมรดกในที่ดิน และโจทก์ดำเนินการขายที่ดินนั้นต่อไปตามเจตนาเดิมของเจ้ามรดก ทั้งโจทก์ก็ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ดังนี้การขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายไปในทางการค้าหากำไร ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์ถือว่าเป็นการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มิใช่เป็นการขายทรัพย์สินอันเป็นมรดกตามความหมายของมาตรา 42(9) แล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์ถือว่าเป็นการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มิใช่เป็นการขายทรัพย์สินอันเป็นมรดกตามความหมายของมาตรา 42(9) แล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินฝากก่อนและหลังคำพิพากษา: ผลกระทบต่อธนาคารและโจทก์เมื่อคำสั่งอายัดเดิมยกเลิก
การที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินฝากของจำเลยที่ 1 ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2524 นั้น เป็นคำสั่งอายัดในคดีอื่น ซึ่งจำเลยที่ 3 ในคดีนี้เป็นโจทก์ และขณะนั้นจำเลยที่ 1 มีเงินฝากประจำอยู่ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาตราด จำนวน 2,000,000 บาทแต่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารโดยยินยอมให้นำเงินฝากประจำ 1,000,000 บาทมาเป็นประกัน หลังจากที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินฝากครั้งแรกแล้วนั้น แม้จำเลยที่ 1จะมาขอเบิกเงินและธนาคารได้จ่ายให้ไป ก็เป็นการจ่ายไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอายัดในคดีนี้ ซึ่งสั่งอายัดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ทั้งยังปรากฏว่าในคดีนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาย่อมเป็นอันยกเลิกไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260 การที่ธนาคารจ่ายเงินให้แก่จำเลยไปก่อนที่จะมีคำสั่งอายัดทรัพย์ในคดีนี้ จะถือว่าเป็นความผิดของธนาคารเป็นเหตุให้โจทก์คดีนี้ต้องเสียหายหาได้ไม่.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้ตัดสินว่า เมื่อมีกฎหมายเฉพาะกำหนดเงินเพิ่มสำหรับหนี้ภาษีอากรแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พ.ร.บ.ศุลกากรและประมวลรัษฎากร บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ และของเงินภาษีที่ต้องชำระแต่มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามลำดับ ซึ่งเป็นทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงจะนำป.พ.พ.มาตรา 224ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ไม่ได้.(ที่มา-เนติฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้บางส่วนและการหักกลบลำดับหนี้
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาประนีประนอมยอมความของลูกหนี้ในวงเงิน 200,000 บาท ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่บริษัท ส.(เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้) ไปเป็นเงิน 22,500 บาทแล้ว จึงเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิไล่เบี้ยในมูลหนี้ที่ตนได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จำนวน 22,500 บาท ส่วนหนี้ที่เจ้าหนี้จะต้องรับผิดต่อบริษัท ส. ที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้นั้น เมื่อบริษัท ส. ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามจำนวนที่ลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่จริงก็ต้องหักยอดเงินที่บริษัท ส.ได้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้จำนวน 22,500 บาท ออกเสียก่อนและถือได้ว่าบริษัท ส.ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าต่อไปตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 101.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย: การขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สิน
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาประนีประนอมยอมความของลูกหนี้ในวงเงิน 200,000 บาท ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่บริษัท ส.(เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้) ไปเป็นเงิน 22,500 บาทแล้ว จึงเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิไล่เบี้ยในมูลหนี้ที่ตนได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จำนวน 22,500 บาท ส่วนหนี้ที่เจ้าหนี้จะต้องรับผิดต่อบริษัท ส. ที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้นั้น เมื่อบริษัท ส. ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามจำนวนที่ลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่จริงก็ต้องหักยอดเงินที่บริษัท ส.ได้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้จำนวน 22,500 บาท ออกเสียก่อนและถือได้ว่าบริษัท ส.ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าต่อไปตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 101.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับขนทางทะเล: ข้อจำกัดความรับผิดในใบตราส่งเป็นโมฆะ หากไม่มีการตกลงชัดเจน และการใช้กฎหมายต่างประเทศต้องยกขึ้นว่ากันตั้งแต่ต้น
จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นฎีกาว่า การที่จะพิจารณาว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาขนส่งพิพาทให้โจทก์หรือไม่เพียงใด ต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางทะเลของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากคู่สัญญาขนส่งคือผู้ส่งและผู้ขนส่งได้ตกลงไว้เช่นนั้นตามมาตรา 13 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 ข้อต่อสู้ดังกล่าวจำเลยหาได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้เพราะถือว่ามิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 249
ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีกฎหมายว่าด้วย การรับขนทางทะเลและไม่ปรากฏว่า มีจารีตประเพณีว่าด้วยการนี้จึงต้องใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3ลักษณะ 8 เรื่องรับขน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรค 3
ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เขียนไว้ด้านหลังใบตราส่งนั้นหากไม่ปรากฏว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งย่อมเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 625.(ที่มา-ส่งเสริม)
ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีกฎหมายว่าด้วย การรับขนทางทะเลและไม่ปรากฏว่า มีจารีตประเพณีว่าด้วยการนี้จึงต้องใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3ลักษณะ 8 เรื่องรับขน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรค 3
ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เขียนไว้ด้านหลังใบตราส่งนั้นหากไม่ปรากฏว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งย่อมเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 625.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ชำระบัญชี และความรับผิดในสัญญาซื้อขายหุ้นหลังเพิกถอนใบอนุญาต
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ถอนใบอนุญาตของโจทก์และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี เมื่อคณะผู้ชำระบัญชีประชุมมีมติให้ผู้ชำระบัญชี 2 คนมีอำนาจลงชื่อร่วมกันแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีได้ ผู้ชำระบัญชี 2 คนจึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องจำเลยได้
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ การที่โจทก์จัดการซื้อหุ้นตลอดจนออกเงินทดรองค่าหุ้นให้แก่จำเลยไปนั้น จำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าที่โจทก์ดำเนินกิจการดังกล่าวไปก็เพื่อประโยชน์ที่จะได้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ย หาได้กระทำให้เปล่าโดยไม่มีประโยชน์ตอบแทนไม่จำเลยจึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์
จำเลยสั่งซื้อหุ้นจำนวน 500 หุ้น แต่จำเลยได้สั่งขายหุ้นดังกล่าวไป 300 หุ้น จึงเหลือหุ้นที่จำเลยสั่งซื้อไว้และยังไม่ได้ขายอีก 200 หุ้นจำเลยต้องรับผิดใช้เงินค่าหุ้นที่เหลือจำนวนนี้แก่โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ การที่โจทก์จัดการซื้อหุ้นตลอดจนออกเงินทดรองค่าหุ้นให้แก่จำเลยไปนั้น จำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าที่โจทก์ดำเนินกิจการดังกล่าวไปก็เพื่อประโยชน์ที่จะได้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ย หาได้กระทำให้เปล่าโดยไม่มีประโยชน์ตอบแทนไม่จำเลยจึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์
จำเลยสั่งซื้อหุ้นจำนวน 500 หุ้น แต่จำเลยได้สั่งขายหุ้นดังกล่าวไป 300 หุ้น จึงเหลือหุ้นที่จำเลยสั่งซื้อไว้และยังไม่ได้ขายอีก 200 หุ้นจำเลยต้องรับผิดใช้เงินค่าหุ้นที่เหลือจำนวนนี้แก่โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีถูกต้องตามกฎหมาย แม้ส่งหมายเรียก/หนังสือแจ้งทางตู้ไปรษณีย์ และโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์ไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องมารับหนังสือที่ส่งถึงโจทก์จากตู้ที่เช่านั้น เมื่อผู้จัดการของโจทก์ได้รับหมายเรียกซึ่งจำเลยส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปจากที่ทำการไปรษณีย์นั้นแล้วถือได้ว่าเป็นการส่งหมายเรียกโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถูกต้องชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่จำต้องนำไปส่งที่สำนักงานของโจทก์
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปพบกับให้นำบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปส่งมอบเพื่อไต่สวนและตรวจสอบแต่โจทก์ไม่ยอมไปพบและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีการค้าโดยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 87(3) ประกอบด้วยมาตรา 87 ทวิ (8) กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 88
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ ในการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์พนักงานไปรษณีย์ได้เก็บคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นไว้ โดยออกหนังสือแจ้งความให้โจทก์ทราบเมือ่วันที่ 3 เมษายน 2529ต่อมาโจทก์มอบให้คนของโจทก์มารับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2529 ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30วันคือภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2529 แต่ปรากฏว่าวันที่ 10 และ11 เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องในวันที่12 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161.
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปพบกับให้นำบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปส่งมอบเพื่อไต่สวนและตรวจสอบแต่โจทก์ไม่ยอมไปพบและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีการค้าโดยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 87(3) ประกอบด้วยมาตรา 87 ทวิ (8) กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 88
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ ในการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์พนักงานไปรษณีย์ได้เก็บคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นไว้ โดยออกหนังสือแจ้งความให้โจทก์ทราบเมือ่วันที่ 3 เมษายน 2529ต่อมาโจทก์มอบให้คนของโจทก์มารับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2529 ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30วันคือภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2529 แต่ปรากฏว่าวันที่ 10 และ11 เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องในวันที่12 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานฯ การส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาล
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์ไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องมารับหนังสือที่ส่งถึงโจทก์จากตู้ที่เช่านั้น เมื่อผู้จัดการของโจทก์ได้รับหมายเรียกซึ่งจำเลยส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปจากที่ทำการไปรษณีย์นั้นแล้วถือได้ว่าเป็นการส่งหมายเรียกโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถูกต้องชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่จำต้องนำไปส่งที่สำนักงานของโจทก์
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปพบกับให้นำบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปส่งมอบเพื่อไต่สวนและตรวจสอบแต่โจทก์ไม่ยอมไปพบและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีการค้าโดยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 87 (3) ประกอบด้วยมาตรา 87 ทวิ (8) กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 88
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ ในการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์พนักงานไปรษณีย์ได้เก็บคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นไว้ โดยออกหนังสือแจ้งความให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2529 ต่อมาโจทก์มอบให้คนของโจทก์มารับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2529 ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันคือภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2529 แต่ปรากฏว่าวันที่ 10 และ11 เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องในวันที่12 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161.
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปพบกับให้นำบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปส่งมอบเพื่อไต่สวนและตรวจสอบแต่โจทก์ไม่ยอมไปพบและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีการค้าโดยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 87 (3) ประกอบด้วยมาตรา 87 ทวิ (8) กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 88
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ ในการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์พนักงานไปรษณีย์ได้เก็บคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นไว้ โดยออกหนังสือแจ้งความให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2529 ต่อมาโจทก์มอบให้คนของโจทก์มารับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2529 ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันคือภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2529 แต่ปรากฏว่าวันที่ 10 และ11 เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องในวันที่12 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายสินบนนำจับต้องควบคู่กับการลงโทษปรับ การลงโทษจำคุกอย่างเดียวไม่จำเป็นต้องจ่ายสินบน
ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 15 และพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2490 มาตรา 3 ถ้าเป็นกรณีที่มีผู้นำจับผู้กระทำผิด ให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้จ่ายสินบนแก่ผู้นำจับ และให้ศาลสั่งให้ผู้กระทำผิดใช้สินบนแก่ผู้นำจับกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าปรับด้วย นั้น ศาลจะสั่งให้ผู้กระทำผิดจ่ายสินบนนำจับก็ต่อเมื่อมีการลงโทษปรับด้วย เพราะค่าปรับเป็นเกณฑ์ในการคำนวณว่า ผู้กระทำผิดจะต้องจ่ายสินบนนำจับแก่ผู้นำจับเท่าใด ดังนั้น ในกรณีที่ศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่อย่างเดียว ศาลไม่สั่งให้จำเลยจ่ายสินบนนำจับ.