พบผลลัพธ์ทั้งหมด 371 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายสินบนนำจับต้องควบคู่กับการลงโทษปรับ การลงโทษจำคุกอย่างเดียวไม่จำเป็นต้องจ่ายสินบน
ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 15 และพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2490 มาตรา 3 ถ้าเป็นกรณีที่มีผู้นำจับผู้กระทำผิด ให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้จ่ายสินบนแก่ผู้นำจับ และให้ศาลสั่งให้ผู้กระทำผิดใช้สินบนแก่ผู้นำจับกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าปรับด้วย นั้น ศาลจะสั่งให้ผู้กระทำผิดจ่ายสินบนนำจับก็ต่อเมื่อมีการลงโทษปรับด้วย เพราะค่าปรับเป็นเกณฑ์ในการคำนวณว่า ผู้กระทำผิดจะต้องจ่ายสินบนนำจับแก่ผู้นำจับเท่าใด ดังนั้น ในกรณีที่ศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่อย่างเดียว ศาลไม่สั่งให้จำเลยจ่ายสินบนนำจับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์: การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ ถือเป็นการทิ้งฟ้องตามกฎหมาย
การทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 ย่อมนำมาใช้บังคับแก่การทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้โดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246
จำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกันโดยกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ภายใน 10 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์จำเลยได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยหรือผู้แทนไม่มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้.(ที่มา-เนติ)
จำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกันโดยกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ภายใน 10 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์จำเลยได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยหรือผู้แทนไม่มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังล้มละลาย: เจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
จำเลยเป็นหนี้ผู้คัดค้านตามสัญญาซื้อขายและรับสภาพหนี้ต่อมาจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวด้วยการออกเช็คให้ไว้ ผู้คัดค้านฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว แต่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ดังนั้น ความรับผิดตามสัญญาซื้อขายหรือการที่จำเลยชำระหนี้ด้วยการออกเช็คไว้เดิม จึงเป็นอันระงับไป กลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงให้ผู้คัดค้านไปถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาที่จำเลยได้ออกเช็คไว้ด้วยก็ตาม แต่หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็มิได้มีเฉพาะรายที่ผู้คัดค้านได้ร้องทุกข์ไว้ หากมีหนี้รายอื่นรวมอยู่ด้วย จึงเห็นได้ว่าที่จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยผู้ล้มละลาย ขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังฟ้องล้มละลาย และผลกระทบต่อเจ้าหนี้รายอื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยเป็นหนี้ผู้คัดค้านตามสัญญาซื้อขายและรับสภาพหนี้ต่อมาจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวด้วยการออกเช็คให้ไว้ และผู้คัดค้านฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว แต่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ดังนั้นความรับผิดตามสัญญาซื้อขายหรือการที่จำเลยชำระหนี้ด้วยการออกเช็คไว้เดิม จึงเป็นอันระงับไป กลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงให้ผู้คัดค้านไปถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาที่จำเลยได้ออกเช็คไว้ด้วยก็ตามแต่หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็มิได้มีเฉพาะรายที่ผู้คัดค้านได้ร้องทุกข์ไว้ หากมีหนี้รายอื่นรวมอยู่ด้วยจึงเห็นได้ว่าที่จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยผู้ล้มละลาย ขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลาย เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้โดยเสมอภาค
จำเลยเป็นหนี้ผู้คัดค้านตามสัญญาซื้อขายและรับสภาพหนี้ต่อมาจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวด้วยการออกเช็คให้ไว้ ผู้คัดค้านฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว แต่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ดังนั้น ความรับผิดตามสัญญาซื้อขายหรือการที่จำเลยชำระหนี้ด้วยการออกเช็คไว้เดิม จึงเป็นอันระงับไป กลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงให้ผู้คัดค้านไปถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาที่จำเลยได้ออกเช็คไว้ด้วยก็ตาม แต่หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็มิได้มีเฉพาะรายที่ผู้คัดค้านได้ร้องทุกข์ไว้ หากมีหนี้รายอื่นรวมอยู่ด้วย จึงเห็นได้ว่าที่จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยผู้ล้มละลาย ขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ทำให้ต้องเสียภาษีอากรย้อนหลัง แม้จะสุจริต
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักร โดยได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ต่อมาจำเลยถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 55 ให้ถือว่าผู้ได้รับการส่งเสริมนั้นไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรมาแต่ต้น ฉะนั้นจำเลยจะต้องชำระภาษีอากรโดยไม่คำนึงว่า เมื่อจำเลยนำของเข้ามานั้นได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน ทำให้ต้องเสียภาษีอากรย้อนหลัง แม้จะสุจริต
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักร โดยได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ต่อมาจำเลยถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 55 ให้ถือว่าผู้ได้รับการส่งเสริมนั้นไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรมาแต่ต้น ฉะนั้นจำเลยจะต้องชำระภาษีอากรโดยไม่คำนึงว่า เมื่อจำเลยนำของเข้ามานั้นได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนทำให้ต้องเสียภาษีอากรย้อนหลัง แม้จะสุจริต
เมื่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดที่ให้แก่จำเลย เครื่องจักรที่จำเลยนำเข้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในตอนนำเข้าจึงถือว่าไม่เคยได้รับยกเว้นภาษีอากรมาแต่ต้น จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากรโดยไม่คำนึงว่าเมื่อตอนนำเข้านั้นได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานท้องถิ่น, การมอบอำนาจ, การรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย, การเว้นทางเดินหลังอาคาร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์มอบอำนาจให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนซึ่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โจทก์เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีฐานะเป็นบุคคลและเอกสารที่มอบอำนาจดังกล่าวก็ปรากฏว่าโจทก์มอบอำนาจของโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทน โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ดังนี้อำนาจของหัวหน้าเขตที่ได้กระทำแก่จำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการกระทำของโจทก์เองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 33กำหนดให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่ผู้ว่าฯและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นใดนอกจากการออกตามวาระ การที่ปลัดกรุงเทพมหานครลงนามในคำสั่งมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้ว่า ฯ ย่อมเป็นการกระทำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเมื่อจำเลยไม่สืบหักล้างว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างไรจึงต้องถือว่าคำสั่งมอบอำนาจนั้นชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การฟ้องขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร มิได้สืบเนื่องมาจากมูลความผิดทางอาญาในความผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญามารับฟังเป็นยุติในคดีแพ่งหาได้ไม่
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522ข้อ 76(4) กำหนดให้ต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกัน กว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร และมีกฎกระทรวง (พ.ศ.2498) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479 ข้อ 21 บังคับมาแต่เดิมแล้วว่า ห้องแถว ตึกแถวให้ทำกว้างไม่น้อยกว่า 350 เซนติเมตรระหว่างผนัง และต้องมีทางคนเข้าออกได้ทั้งข้างหน้ากับข้างหลัง เช่นนี้ หากปรากฏว่าเดิมมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ด้านหลังอาคารพิพาทเต็มเนื้อที่จริง ก็เป็นเรื่องที่ผู้อาศัยแต่เดิมทำผิดกฎหมายมาแต่แรกจำเลยจะอาศัยการกระทำของผู้อื่นที่ผิดกฎหมายมาสวมรอยเพื่อซ่อมแซมหรือดัดแปลงให้เหมือนของเดิมหรือผิดแผกแตกต่างไปบ้างหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว จำเลยต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมนั้นออกไป.(ที่มา-ส่งเสริม)
ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 33กำหนดให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่ผู้ว่าฯและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นใดนอกจากการออกตามวาระ การที่ปลัดกรุงเทพมหานครลงนามในคำสั่งมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้ว่า ฯ ย่อมเป็นการกระทำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเมื่อจำเลยไม่สืบหักล้างว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างไรจึงต้องถือว่าคำสั่งมอบอำนาจนั้นชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การฟ้องขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร มิได้สืบเนื่องมาจากมูลความผิดทางอาญาในความผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญามารับฟังเป็นยุติในคดีแพ่งหาได้ไม่
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522ข้อ 76(4) กำหนดให้ต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกัน กว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร และมีกฎกระทรวง (พ.ศ.2498) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479 ข้อ 21 บังคับมาแต่เดิมแล้วว่า ห้องแถว ตึกแถวให้ทำกว้างไม่น้อยกว่า 350 เซนติเมตรระหว่างผนัง และต้องมีทางคนเข้าออกได้ทั้งข้างหน้ากับข้างหลัง เช่นนี้ หากปรากฏว่าเดิมมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ด้านหลังอาคารพิพาทเต็มเนื้อที่จริง ก็เป็นเรื่องที่ผู้อาศัยแต่เดิมทำผิดกฎหมายมาแต่แรกจำเลยจะอาศัยการกระทำของผู้อื่นที่ผิดกฎหมายมาสวมรอยเพื่อซ่อมแซมหรือดัดแปลงให้เหมือนของเดิมหรือผิดแผกแตกต่างไปบ้างหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว จำเลยต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมนั้นออกไป.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: ระยะเวลาชักชวนและเตรียมการมีผลต่อการพิจารณา
จำเลยทะเลาะและโกรธผู้เสียหาย จึงไปชักชวนพรรคพวกอีก 2 คนมาฆ่าผู้เสียหายและผู้ตายโดยใช้เวลาชวนพรรคพวกเพียง 2 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลากระชั้นชิดและกะทันหัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกคบคิดตระเตรียมการฆ่ามาก่อนจึงไม่เป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน.