คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสวก จันทร์ผ่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 371 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: ระยะเวลาชักชวนและเตรียมการมีผลต่อการพิจารณา
จำเลยทะเลาะและโกรธผู้เสียหาย จึงไปชักชวนพรรคพวกอีก 2 คนมาฆ่าผู้เสียหายและผู้ตายโดยใช้เวลาชวนพรรคพวกเพียง 2 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลากระชั้นชิดและกะทันหัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกคบคิดตระเตรียมการฆ่ามาก่อนจึงไม่เป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณา 'ไตร่ตรองไว้ก่อน' ในคดีฆ่าผู้อื่น: ระยะเวลาชวนพรรคพวกสั้น ไม่ถือว่าไตร่ตรองไว้ก่อน
จำเลยทะเลาะและโกรธผู้เสียหาย จึงไปชักชวนพรรคพวกอีก 2 คนมาฆ่าผู้เสียหายและผู้ตายโดยใช้เวลาชวนพรรคพวกเพียง 2 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลากระชั้นชิดและกะทันหัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกคบคิดตระ เตรียมการฆ่ามาก่อนจึงไม่เป็นการฆ่าโดยไตร่ตรอง ไว้ก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเมื่อจำเลยไม่ติดใจดำเนินคดี
โจทก์ทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันเวลานัดสืบพยานโจทก์ โดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ถือได้ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามบทบัญญัติมาตรา 197 วรรค 2 แห่ง ป.วิ.พ.เมื่อจำเลยมิได้ขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลชั้นต้นย่อมต้องสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ตามมาตรา 201 ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดที่ผิดระเบียบ จึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์เพราะไม่มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบอย่างใดที่จะต้องเพิกถอน ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอไต่สวนของโจทก์จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9 นาฬิกา และรอโจทก์อยู่จนถึงเวลา 9.35 นาฬิกา โจทก์และพยานโจทก์ก็ยังไม่มาศาลโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ การที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีจึงมิได้เป็นการเข้าใจผิด เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสองบัญญัติว่าเมื่อโจทก์ไม่มาศาลโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ไม่ว่าจะเป็นประการใด ถือได้ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้ขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป การที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความจึงมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดที่ผิดระเบียบ ที่ศาลยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีโดยไม่ไต่สวนคำ ร้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการไม่อนุญาตให้สืบพยานหลังยื่นบัญชีพยานเกินกำหนด
จำเลยมาศาลในวันนัดสืบพยานนัดแรก เมื่อสืบพยานโจทก์ได้ 2ปากแล้วโจทก์ขอเลื่อนไปสืบพยานที่เหลือต่อนัดหน้า จำเลยแถลงขอสืบพยานพร้อมพยานโจทก์ด้วย ถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาลเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรค 2 เพราะวันสืบพยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(10) หมายถึงวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกทั้งการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีก็เพราะศาลสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานของจำเลยด้วยเหตุที่ยื่นเกินกำหนดตามที่ระบุไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ทำให้จำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องอุทธรณ์คดีต่อไป จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้กรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207ที่จะขอพิจารณาคดีใหม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อประกันหนี้ซื้อขายหุ้น ทำให้ผู้ทรงตั๋วไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินคืน
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ โจทก์สลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่จำเลยไว้เพื่อประกันหนี้ค่าซื้อขายหุ้นที่ อ. และ พ. สั่งให้จำเลยซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และปรากฏว่า อ. และ พ. ยังเป็นหนี้ค่าซื้อขายหุ้นอยู่อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกตั๋วสัญญาใช้เงินคืนจากจำเลยหรือเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามตั๋วนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อประกันหนี้ค่าซื้อขายหุ้น สิทธิเรียกร้องเงินจากตั๋วเป็นของผู้รับประกัน
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ โจทก์สลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่จำเลยไว้เพื่อประกันหนี้ค่าซื้อหุ้นที่ อ.และพ. สั่งให้จำเลยซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และปรากฏว่า อ.และพ. ยังเป็นหนี้ค่าซื้อขายหุ้นอยู่อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกตั๋วสัญญาใช้เงินคืนจากจำเลยหรือเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามตั๋วนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อประกันหนี้ซื้อขายหุ้น และสิทธิเรียกร้องเงินตามตั๋ว
จำเลยออกตั๋ว สัญญาใช้เงินให้โจทก์ โจทก์สลักหลังจำนำตั๋ว สัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่จำเลยไว้เพื่อประกันหนี้ค่าซื้อขายหุ้นที่ อ.และพ. สั่งให้จำเลยซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และปรากฏว่า อ.และพ.ยังเป็นหนี้ค่าซื้อขายหุ้นอยู่อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกตั๋ว สัญญาใช้เงินคืนจากจำเลยหรือเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามตั๋ว นั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าและการวางประกัน โดยกรณีไม่ชำระภายในกำหนด เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันได้
ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากรให้คืนเงินอากรขาเข้า ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ หรือไม่ก็ตาม จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจนครบถ้วนเสียก่อน เว้นแต่จะได้วางประกันค่าอากรไว้ต่ออธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 40 และมาตรา 112 ซึ่งกระทำได้ 2 วิธีคือ วิธีหนึ่งวางเงินไว้เป็นประกัน อีกวิธีหนึ่งนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลังหรือธนาคารมาวางเป็นประกัน
ในการวางเงินเป็นประกัน ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้ทราบภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเงินประกันที่วางไว้คุ้มค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินแล้ว ก็ให้เก็บเงินประกันดังกล่าวเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมินได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้วตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสอง
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลัง หรือธนาคารมาวางเป็นประกันมิได้มีบทบัญญัติมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งก็ให้เรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกันได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดข้างต้นแล้ว
จำเลยนำของเข้ามาผลิต ผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศหรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือเดินทางไปเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันและรับของมาจากศุลกากรยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว การที่ศุลกากรปล่อยหรือมอบของให้จำเลยมาโดยยอมรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันก็เป็นเพียงผ่อนผันการชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตผสมหรือประกอบของที่นำเข้ามาส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับคืนอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ(ง) และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำอากรขาเข้าตามที่เจ้าหน้าที่ได้ประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะต้องติดตามทวงถามให้จำเลยชำระค่าอากรดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดีมิได้กำหนดระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ ภายในอายุความเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสียก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา
สำหรับภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89 ซึ่งคำว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้หมายความว่าเงินเพิ่มที่คิดร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระไม่ว่าจะเป็นเงินเพิ่มที่คิดก่อนหรือภายหลังนำเงินที่วางประกันหรือที่ผู้ค้ำประกันมาหักเมื่อรวมแล้วเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินเงินภาษีการค้าที่ต้องชำระ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าอากรและภาษีหลังนำเข้าสินค้า การวางประกัน และการเรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกัน
ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากรให้คืนเงินอากรขาเข้า ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ หรือไม่ก็ตาม จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจนครบถ้วนเสียก่อน เว้นแต่จะได้วางประกันค่าอากร ไว้ต่ออธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 40 และมาตรา 112 ซึ่งกระทำได้ 2 วิธี คือ วิธีหนึ่งวางเงินไว้เป็นประกัน อีกวิธีหนึ่งนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลังหรือธนาคารมาวางเป็นประกัน
ในการวางเงินเป็นประกัน ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้ทราบภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเงินประกันที่วางไว้คุ้มค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินแล้ว ก็ให้เก็บเงินประกันดังกล่าวเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมินได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้วตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสอง
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลัง หรือธนาคารมาวางเป็นประกันมิได้มีบทบัญญัติมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกันได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดข้างต้นแล้ว
จำเลยนำของเข้ามาผลิต ผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศหรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือเดินทางไปเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันและรับของมาจากศุลกากรยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว การที่ศุลกากรปล่อยหรือมอบของให้จำเลยมาโดยยอมรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันก็เป็นเพียงผ่อนผันการชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตผสม หรือประกอบของที่นำเข้ามาส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับคืนอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ(ง) และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำอากรขาเข้าตามที่เจ้าหน้าที่ได้ประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะต้องติดตามทวงถามให้จำเลยชำระค่าอากรดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดีมิได้กำหนดระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ ภายในอายุความเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสีย ก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา
สำหรับภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89 ซึ่งคำว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้หมายความว่าเงินเพิ่มที่คิดร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระไม่ว่าจะเป็นเงินเพิ่มที่คิดก่อนหรือภายหลังนำเงินที่วางประกันหรือที่ผู้ค้ำประกันมาหักเมื่อรวมแล้วเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินเงินภาษีการค้าที่ต้องชำระ
of 38