พบผลลัพธ์ทั้งหมด 371 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4361/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดสัญญาและผลของการยินยอมของเจ้าของสัญญา การยินยอมทำให้ไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยก่อสร้างผิดสัญญาและแบบแปลนท้ายสัญญาจำเลยให้การว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างผิดสัญญาหากจะมีการผิดเงื่อนไขและแบบแปลนบ้างก็โดยความเห็นชอบของโจทก์และตัวแทนของโจทก์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยก่อสร้างผิดสัญญาหรือไม่ย่อมคลุมถึงปัญหาว่าโจทก์และตัวแทนโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยก่อสร้างผิดจากแบบแปลนหรือไม่ด้วย จึงเป็นประเด็นในคดีจำเลยมีสิทธินำสืบและศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คูเมืองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้มีการครอบครองนาน ก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์
คูเมืองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(3) แม้จะมีสภาพเป็นที่ตกกล้า ทำนาหรือปลูกอาคารห้องแถวร้านค้า เป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ใดจะครอบครองช้านานเพียงใด ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ ดังนั้น จำเลยจะยกระยะเวลาครอบครองขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน: คูเมืองเป็นที่ราชพัสดุ แม้มีการครอบครองทำประโยชน์ ก็ไม่มีสิทธิในที่ดิน
คูเมืองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) แม้จะมีสภาพเป็นที่ตกกล้า ทำนาหรือปลูกอาคารห้องแถวร้านค้า เป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินผู้ใดจะครอบครองช้านานเพียงใด ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ดังนั้น จำเลยจะยกระยะเวลาครอบครองขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260-4262/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดสาขาธุรกิจเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
นับตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 19 กันยายน2519 เรื่อง กำหนดกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5(7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 และประกาศกระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 19 กันยายน 2519เรื่องกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาต ฯ ใช้บังคับ บริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุนจะต้องยื่นคำขอรับอนุญาตภายใน 60 วัน และจะมีสาขาไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังถ้าบริษัทใดมีสาขาอยู่แล้วและประสงค์จะมีสาขานั้นต่อไปก็ให้ยื่นคำขอรับอนุญาตไปพร้อมกันด้วย บริษัทจำเลยที่ 2 เปิดสาขาหลังจากวันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับแล้วโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงมีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ข้อ 5(7),16
การที่โจทก์ร่วมและผู้มีชื่อเป็นผู้ช่วยผู้จัดการและผู้จัดการสาขาของบริษัทจำเลยที่ 2 หลงเชื่อในคำหลอกลวงของจำเลยจึงได้ร่วมกันเปิดกิจการสาขาของบริษัทจำเลยที่ 2 และชักชวนให้ประชาชนนำเงินมาฝากบริษัทจำเลยที่ 2 ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วม ผู้มีชื่อ และประชาชนผู้นำเงินมาฝากมีส่วนร่วมกระทำความผิดและไม่ใช่ผู้เสียหาย
จำเลยฎีกาว่า การที่ผู้เสียหายนำเงินมาฝากเพราะเชื่อถือในบริษัทจำเลยที่ 2 จึงหาใช่มูลกรณีอันจะเป็นความผิดทางอาญาไม่ และบริษัทจำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจด้วยความบริสุทธิ์ มิได้หลอกลวงประชาชน จึงไม่มีความผิดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินคนละ 5 ปีฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 5(7),16 ย่อมสำเร็จเมื่อจำเลยเปิดสาขาประกอบธุรกิจเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นคนละกรรมต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขเฉพาะการปรับบทเรียงกระทงให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
การที่โจทก์ร่วมและผู้มีชื่อเป็นผู้ช่วยผู้จัดการและผู้จัดการสาขาของบริษัทจำเลยที่ 2 หลงเชื่อในคำหลอกลวงของจำเลยจึงได้ร่วมกันเปิดกิจการสาขาของบริษัทจำเลยที่ 2 และชักชวนให้ประชาชนนำเงินมาฝากบริษัทจำเลยที่ 2 ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วม ผู้มีชื่อ และประชาชนผู้นำเงินมาฝากมีส่วนร่วมกระทำความผิดและไม่ใช่ผู้เสียหาย
จำเลยฎีกาว่า การที่ผู้เสียหายนำเงินมาฝากเพราะเชื่อถือในบริษัทจำเลยที่ 2 จึงหาใช่มูลกรณีอันจะเป็นความผิดทางอาญาไม่ และบริษัทจำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจด้วยความบริสุทธิ์ มิได้หลอกลวงประชาชน จึงไม่มีความผิดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินคนละ 5 ปีฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 5(7),16 ย่อมสำเร็จเมื่อจำเลยเปิดสาขาประกอบธุรกิจเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นคนละกรรมต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขเฉพาะการปรับบทเรียงกระทงให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260-4262/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดสาขาธุรกิจเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: ศาลฎีกาแก้ไขการลงโทษกระทงความผิด
นับตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 19 กันยายน 2519 เรื่อง กำหนดกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 และประกาศกระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 19 กันยายน 2519 เรื่องกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาต ฯ ใช้บังคับ บริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุนจะต้องยื่นคำขอรับอนุญาตภายใน 60 วัน และจะมีสาขาไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังถ้าบริษัทใดมีสาขาอยู่แล้วและประสงค์จะมีสาขานั้นต่อไปก็ให้ยื่นคำขอรับอนุญาตไปพร้อมกันด้วย บริษัทจำเลยที่ 2 เปิดสาขาหลังจากวันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับแล้วโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงมีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ข้อ 5 (7), 16
การที่โจทก์ร่วมและผู้มีชื่อเป็นผู้ช่วยผู้จัดการและผู้จัดการสาขาของบริษัทจำเลยที่ 2 หลงเชื่อในคำหลอกลวงของจำเลยจึงได้ร่วมกันเปิดกิจการสาขาของบริษัทจำเลยที่ 2 และชักชวนให้ประชาชนนำเงินมาฝากบริษัทจำเลยที่ 2 ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วม ผู้มีชื่อ และประชาชนผู้นำเงินมาฝากมีส่วนร่วมกระทำความผิดและไม่ใช่ผู้เสียหาย
จำเลยฎีกาว่า การที่ผู้เสียหายนำเงินมาฝากเพราะเชื่อถือในบริษัทจำเลยที่ 2 จึงหาใช่มูลกรณีอันจะเป็นความผิดทางอาญาไม่ และบริษัทจำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจด้วยความบริสุทธิ์ มิได้หลอกลวงประชาชนจึงไม่มีความผิดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินคนละ 5 ปีฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 5 (7), 16 ย่อมสำเร็จเมื่อจำเลยเปิดสาขาประกอบธุรกิจเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นคนละกรรมต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขเฉพาะการปรับบทเรียงกระทงให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
การที่โจทก์ร่วมและผู้มีชื่อเป็นผู้ช่วยผู้จัดการและผู้จัดการสาขาของบริษัทจำเลยที่ 2 หลงเชื่อในคำหลอกลวงของจำเลยจึงได้ร่วมกันเปิดกิจการสาขาของบริษัทจำเลยที่ 2 และชักชวนให้ประชาชนนำเงินมาฝากบริษัทจำเลยที่ 2 ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วม ผู้มีชื่อ และประชาชนผู้นำเงินมาฝากมีส่วนร่วมกระทำความผิดและไม่ใช่ผู้เสียหาย
จำเลยฎีกาว่า การที่ผู้เสียหายนำเงินมาฝากเพราะเชื่อถือในบริษัทจำเลยที่ 2 จึงหาใช่มูลกรณีอันจะเป็นความผิดทางอาญาไม่ และบริษัทจำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจด้วยความบริสุทธิ์ มิได้หลอกลวงประชาชนจึงไม่มีความผิดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินคนละ 5 ปีฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 5 (7), 16 ย่อมสำเร็จเมื่อจำเลยเปิดสาขาประกอบธุรกิจเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นคนละกรรมต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขเฉพาะการปรับบทเรียงกระทงให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่ง ผลของกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2527
จำเลยทราบนัดชี้ สองสถานแล้ว แต่ไม่มาศาลตามนัด ศาลชี้ สองสถานโดยกำหนดให้ภาระการพิสูจน์ตก จำเลย และนัดสืบพยานจำเลยพร้อมกับนัดฟังคำพิพากษา เช่นนี้ถือว่าจำเลยทราบวันนัดแล้ว โดยไม่ต้องแจ้งจำเลยอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในวันนัดสืบพยานจำเลย หากทนายจำเลยติดว่าความในคดีที่ศาลอื่น จำเลยชอบที่จะแจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำขอเลื่อนคดีเสียในวันนัดหรือก่อนวันนัด จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายนั้นไม่มีเหตุผลที่จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณา – ผลกระทบจากกฎหมายใหม่ – การแจ้งเหตุขัดข้อง – การพิจารณาคดีใหม่
จำเลยทราบนัดชี้สองสถานแล้ว แต่ไม่มาศาลตามนัด ศาลได้ชี้สองสถานไปโดยกำหนดให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์และนำสืบพยานก่อน และนัดสืบพยานจำเลยพร้อมกับนัดฟังคำพิพากษา เช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดทั้งสองแล้วโดยศาลไม่ต้องแจ้งนัดแก่จำเลยอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา
ในวันนัดสืบพยานจำเลย หากทนายจำเลยติดว่าความในคดีที่ศาลอื่น จำเลยชอบที่จะแจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำขอเลื่อนคดีเสียในวันนัดหรือก่อนวันนัด แต่ก็หาได้กระทำไม่ จึงถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ทั้งการที่ไม่ทราบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง มีการแก้ไขใหม่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะใช้เป็นเหตุเพื่อให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้
ในวันนัดสืบพยานจำเลย หากทนายจำเลยติดว่าความในคดีที่ศาลอื่น จำเลยชอบที่จะแจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำขอเลื่อนคดีเสียในวันนัดหรือก่อนวันนัด แต่ก็หาได้กระทำไม่ จึงถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ทั้งการที่ไม่ทราบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง มีการแก้ไขใหม่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะใช้เป็นเหตุเพื่อให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดพิจารณาจากไม่มาศาลตามนัด แม้จะทราบวันนัดแล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องแจ้งนัดซ้ำ
จำเลยทราบนัดชี้สองสถานแล้ว แต่ไม่มาศาลตามนัด ศาลได้ชี้สองสถานไปโดยกำหนดให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์และนำสืบพยานก่อน และนัดสืบพยานจำเลยพร้อมกับนัดฟังคำพิพากษา เช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดทั้งสองแล้วโดยศาลไม่ต้องแจ้งนัดแก่จำเลยอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา
ในวันนัดสืบพยานจำเลย หากทนายจำเลยติดว่าความในคดีที่ศาลอื่น จำเลยชอบที่จะแจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำขอเลื่อนคดีเสียในวันนัดหรือก่อนวันนัด แต่ก็หาได้กระทำไม่ จึงถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ทั้งการที่ไม่ทราบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง มีการแก้ไขใหม่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะใช้เป็นเหตุเพื่อให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้.
ในวันนัดสืบพยานจำเลย หากทนายจำเลยติดว่าความในคดีที่ศาลอื่น จำเลยชอบที่จะแจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำขอเลื่อนคดีเสียในวันนัดหรือก่อนวันนัด แต่ก็หาได้กระทำไม่ จึงถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ทั้งการที่ไม่ทราบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง มีการแก้ไขใหม่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะใช้เป็นเหตุเพื่อให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและการยกเว้นความรับผิดในสัญญาเช่า กรณีความเสียหายจากภัยธรรมชาติ
โกดังเก็บสินค้าที่โจทก์เช่าจากจำเลยมีสภาพมั่นคงแข็งแรงการที่ฝนตกพายุแรงพัดกระเบื้องหลังคาเผยอออกหลุด 1 แผ่นจนกระทั่งน้ำฝนรั่วเข้าไปในโกดังเก็บสินค้าทำให้สินค้าเสียหายมิใช่เกิดจากความเสื่อมสภาพของกระเบื้องหลังคาและตะปูขอเกี่ยวหลุดตามสภาพ แต่เกิดจากภัยพิบัติที่ไม่อาจจะป้องกันได้แม้จะได้ระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นแก่สินค้าของโจทก์และโกดังเก็บสินค้าก็อยู่ในความควบคุมดูแลของโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมชำระค่าปรับทางภาษีอากร ถือเป็นการยอมรับความเท็จในการสำแดงพิกัดอัตราศุลกากร ฟ้องร้องเรียกคืนไม่ได้
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมา กรม ศุลกากรจำเลยที่ 1มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 99และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากร จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ถ้า โจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากร ถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตามโจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ.