พบผลลัพธ์ทั้งหมด 371 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากบาดแผลสาหัส: พฤติการณ์การทำร้ายด้วยอาวุธอันตรายบ่งชี้เจตนา แม้ผลไม่สำเร็จ
จำเลยใช้มีดดาบปลายแหลม ด้ามยาว 23 เซนติเมตร ตัวมีดยาว 52เซนติเมตรและกว้าง 4 เซนติเมตร ฟันผู้เสียหายประมาณ 7-8 ทีมือซ้ายผู้เสียหายถูกฟันเกือบขาด บาดแผลที่แก้มยาวประมาณ5 นิ้ว บาดแผลที่หู 2 แผล (หูฉีกขาดแยกออกจากกัน) อาการสาหัสแพทย์ผ่าตัดฉุกเฉินให้ผู้เสียหายใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมงจึงแล้วเสร็จจากลักษณะบาดแผลดังกล่าวแสดงว่าจำเลยฟันผู้เสียหายอย่างแรงหลายทีหากผู้เสียหายไม่ยกมือขึ้นปิดป้องคมมีดที่จำเลยฟันมาอย่างแรง คมมีดอาจผ่านกะโหลกศีรษะเข้าไปถึงสมองทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้หรือหากผู้เสียหายไม่ได้รับการรักษาพยาบาลจากแพทย์ทันท่วงที ผู้เสียหายคงถึงแก่ความตายเนื่องจากผลแห่งการกระทำของจำเลย กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าขึ้นศาลและการถือว่าเป็นการทิ้งฟ้อง: ศาลฎีกาพิจารณาเหตุผลในการขอเลื่อนชำระค่าขึ้นศาลและพิจารณาว่าเป็นการจงใจขัดขืนหรือไม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดไว้เป็นของผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ถอนการยึด ในวันพิจารณานัดแรกศาลชั้นต้นแจ้งให้คู่ความทราบว่าตามคำร้องของผู้ร้องเป็นคดีมีทุนทรัพย์ให้เสียค่าขึ้นศาลก่อน ผู้ร้องเพียงแต่แถลงต่อศาลว่ายังไม่อาจทราบได้แน่นอนว่าที่พิพาทมีราคาเท่าใด ขอเลื่อนไปเพื่อจะไปสืบราคาปานกลางจากเจ้าพนักงานที่ดินและจะนำเงินค่าขึ้นศาลมาเสียในนัดหน้าศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีไปนัดพร้อมและนัดไต่สวนพยานผู้ร้องถึงวันนัดผู้ร้องแถลงว่าสอบราคาแล้วราคาปานกลางประมาณสองล้านบาท แต่ยังหาเงินค่าขึ้นศาลมาวางไม่ได้ขอเลื่อนคดีดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องจงใจขัดขืนไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลจึงไม่เป็นการทิ้งฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยไม่มีอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร และสิทธิในการฟ้องคดีโดยไม่ต้องอุทธรณ์
มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 เป็นบทบัญญัติให้ผู้ต้องเสียภาษีที่ยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนปีภาษี 2527 หรือในปีภาษี 2527 นั้น โดยให้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม2529 หากผู้ใดยื่นคำขอเสียภาษีภายในเวลาดังกล่าวและได้ชำระภาษีอากรภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดนั้นแล้วก็เป็นอันได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวนการประเมินหรือคำสั่งให้เสียภาษีอากรตลอดจนได้รับยกเว้นความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร แต่ความตอนท้ายของมาตรา 30 แห่งหพระราชกำหนดดังกล่าวก็บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ผู้ใดที่ยังไม่เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่หถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ถ้าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่ได้รับการผ่อนผันสำหรับเงินได้หรือรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการหประเมินหรือสั่งให้เสียไว้นั้น
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2524 ก่อนวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ แต่เพิ่งทำการประเมินและส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบภายหลังจากที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับแล้ว และอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่อนผันให้เสียภาษีได้อยู่ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินนั้นโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในระยะเวลาที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 บัญญัติไว้โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนและการประเมินภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์สำหรับปีภาษี พ.ศ.2524 จึงเป็นการประเมินที่ไม่มีอำนาจ จึงไม่มีผลบังคับ
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 30 โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2524 ก่อนวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ แต่เพิ่งทำการประเมินและส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบภายหลังจากที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับแล้ว และอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่อนผันให้เสียภาษีได้อยู่ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินนั้นโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในระยะเวลาที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 บัญญัติไว้โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนและการประเมินภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์สำหรับปีภาษี พ.ศ.2524 จึงเป็นการประเมินที่ไม่มีอำนาจ จึงไม่มีผลบังคับ
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 30 โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยไม่มีอำนาจและการผ่อนผันภาษีตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 เป็นบทบัญญัติให้ผู้ต้องเสียภาษีที่ยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนปีภาษี 2527 หรือในปีภาษี 2527 นั้น โดยให้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม 2529 หากผู้ใดยื่นคำขอเสียภาษีภายในเวลาดังกล่าวและได้ชำระภาษีอากรภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดนั้นแล้ว ก็เป็นอันได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวนการประเมินหรือคำสั่งให้เสียภาษีอากรตลอดจนได้รับยกเว้นความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร แต่ความตอนท้ายของมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวก็บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ผู้ใดที่ยังไม่เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ถ้าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่ได้รับการผ่อนผันสำหรับเงินได้หรือรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียไว้นั้น
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2524 ก่อนวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ แต่เพิ่งทำการประเมินและส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบภายหลังจากที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับแล้ว และอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่อนผันให้เสียภาษีได้อยู่ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินนั้นโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในระยะเวลาที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 บัญญัติไว้โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนและการประเมินภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์สำหรับปีภาษี พ.ศ.2524 จึงเป็นการประเมินที่ไม่มีอำนาจ จึงไม่มีผลบังคับ
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 30 โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2524 ก่อนวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ แต่เพิ่งทำการประเมินและส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบภายหลังจากที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับแล้ว และอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่อนผันให้เสียภาษีได้อยู่ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินนั้นโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในระยะเวลาที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 บัญญัติไว้โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนและการประเมินภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์สำหรับปีภาษี พ.ศ.2524 จึงเป็นการประเมินที่ไม่มีอำนาจ จึงไม่มีผลบังคับ
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 30 โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอนาจารและฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาจากพยานหลักฐานแวดล้อมและคำรับสารภาพ
แม้โจทก์จะไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นคนทำร้ายผู้ตายโดยตรงแต่โจทก์มีพยานแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับเหตุที่เกิดขึ้นอย่างมาก และเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจับจำเลยมาได้ จำเลยก็ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวนโดยละเอียดว่าได้ทำร้ายและกระทำอนาจารผู้ตายจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำอนาจารแก่ผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้ายและจับผู้ตายคว่ำหน้ากดศีรษะลงไปในโคลน แล้วกระทำชำเราผู้ตายทางทวารหนักเป็นเหตุให้ดินโคลนเข้าไปในปาก ท่อทางเดินหายใจ และหลอดลมทำให้ผู้ตายขาดอากาศถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมเล็งเห็นอยู่แล้วว่าจะเป็นผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและกระทำอนาจารเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างที่ปรับราคาได้ตามสัญญาจ้าง และผลกระทบต่อการบังคับคดี
สัญญาจ้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้รับจ้างมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าค่าจ้างที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ตามสูตรสัญญาแบบปรับราคาได้ท้ายสัญญาจ้างดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องการรับค่าจ้างดังกล่าวโดยระบุว่าเป็นสิทธิเรียกร้องทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ที่จะพึงเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างให้เป็นของผู้คัดค้านที่ 2 จึงต้องหมายความรวมถึงค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินดังกล่าวที่ตกเป็นของผู้คัดค้านที่ 2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ และผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีสิทธิที่จะไม่ส่งเงินจำนวนนั้นตามที่กรมบังคับคดีขออายัดมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญา และผลกระทบต่อการบังคับคดี การอายัดเงินของผู้รับจ้างที่โอนสิทธิแล้ว
สัญญาจ้างระหว่างผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้รับจ้างมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าค่าจ้างที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ตามสูตรสัญญาแบบปรับราคาได้ท้ายสัญญาจ้างดังนั้นเมื่อจำเลยที่1โอนสิทธิเรียกร้องการรับค่าจ้างดังกล่าวโดยระบุว่าเป็นสิทธิเรียกร้องทั้งหมดของจำเลยที่1ที่จะพึงเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างให้เป็นของผู้คัดค้านที่2จึงต้องหมายความรวมถึงค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ด้วยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินดังกล่าวที่ตกเป็นของผู้คัดค้านที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้และผู้คัดค้านที่1ก็มีสิทธิที่จะไม่ส่งเงินจำนวนนั้นตามที่กรมบังคับคดีขออายัดมาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญา และผลกระทบต่อการบังคับคดี สิทธิเรียกร้องทั้งหมดรวมถึงค่าจ้างที่ปรับราคาได้ย่อมโอนไปยังผู้รับโอน
สัญญาจ้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับจ้างมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า ค่าจ้างที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ตามสูตรสัญญาแบบปรับราคาได้ท้ายสัญญาจ้าง ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องการรับค่าจ้างดังกล่าวโดยระบุว่าเป็นสิทธิเรียกร้องทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ที่จะพึงเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างให้เป็นของผู้คัดค้านที่ 2 จึงต้องหมายความรวมถึงค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินดังกล่าวที่ตกเป็นของผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ และผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีสิทธิที่จะไม่ส่งเงินจำนวนนั้นตามที่กรมบังคับคดีขออายัดมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาชำระภาษีสรรพากร: กรณีผู้ยื่นภาษีล่าช้าหลังกำหนด และผลกระทบต่อการได้รับการยกเว้นภาษี
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 มีความประสงค์ที่จะขยายเวลาชำระภาษีอากร โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือมิได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย หรือหักไว้ไม่ครบถ้วน ได้มายื่นชำระภาษีอากรหรือเสียภาษีอากรเพิ่มเติม หรือนำส่งภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มใด ๆ ทั้งสิ้น จากข้อความที่ว่า ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น แสดงอยู่ในตัวว่าในขณะที่กระทรวงการคลังออกแถลงการณ์ ได้ล่วงเลยกำหนดเวลาชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรมาแล้ว แต่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยังมิได้ ยื่นแบบแสดงรายการ หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือ มิได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย โดยระบุว่าการขยายเวลานั้นไม่รวมถึงภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งที่ถึงกำหนดเวลาเสียหรือนำส่งตามปกติในหรือหลังวันที่ที่ลงในแถลงการณ์ แสดงว่าแถลงการณ์กระทรวงการคลังที่ขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2525 นั้นไม่รวมถึงการเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี 2524 ที่ต้องยื่นรายการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2525 ดังนี้การที่โจทก์ขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2524 แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2525 ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์เพิ่งมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2525 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับประโยชน์จากแถลงการณ์กระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว และไม่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระภาษีอากรตามแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ไม่ครอบคลุมกรณีที่ผู้เสียภาษียื่นรายการล่าช้าเกินกำหนด
แถลงการณ์กระทรวงการคลังเรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติมลงวันที่26กุมภาพันธ์2525มีความประสงค์ที่จะขยายเวลาชำระภาษีอากรโดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือมิได้หักภาษีไว้ณที่จ่ายหรือหักไว้ไม่ครบถ้วนได้มายื่นชำระภาษีอากรหรือเสียภาษีอากรเพิ่มเติมหรือนำส่งภาษีให้ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มใดๆทั้งสิ้นจากข้อความที่ว่าไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้นแสดงอยู่ในตัวว่าในขณะที่กระทรวงการคลังออกแถลงการณ์ได้ล่วงเลยกำหนดเวลาชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรมาแล้วแต่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือมิได้หักภาษีไว้ณที่จ่ายโดยระบุว่าการขยายเวลานั้นไม่รวมถึงภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งที่ถึงกำหนดเวลาเสียหรือนำส่งตามปกติในหรือหลังวันที่ที่ลงในแถลงการณ์แสดงว่าแถลงการณ์กระทรวงการคลังที่ขยายเวลาออกไปถึงวันที่31พฤษภาคม2525นั้นไม่รวมถึงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี2524ที่ต้องยื่นรายการภายในวันที่31มีนาคม2525ดังนี้การที่โจทก์ขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเมื่อวันที่10มีนาคม2524แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในวันที่31มีนาคม2525ตามมาตรา56แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์เพิ่งมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เมื่อวันที่28พฤษภาคม2525ซึ่งล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้โจทก์จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับประโยชน์จากแถลงการณ์กระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา42(9).