คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสวก จันทร์ผ่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 371 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระภาษีอากร, เงินเพิ่ม, และขอบเขตการเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาล
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการขอชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโดยขอผ่อนเป็น 3 งวด งวดแรกชำระเป็นเงินสด งวดที่ 2 และที่ 3 จำเลยสั่งจ่ายเช็ครวม 2 ฉบับล่วงหน้ามอบให้แก่โจทก์ การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงิน มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับ และจำเลยไม่เคยนำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับไปชำระให้แก่โจทก์เลย มูลหนี้ซึ่งเป็นค่าภาษีอากรจึงยังไม่ระงับสิ้นไปโจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้เดิมได้และเนื่องจากมูลหนี้เดิม เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร จึงอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เมื่อมีการชำระหนี้ด้วยเช็คแทนการชำระหนี้ด้วยเงินแล้วจะเป็นกี่ครั้งก็ตาม ถ้ายังไม่มีการใช้เงินตามเช็คเหล่านั้น หรือแม้จะมีการชำระเป็นบางส่วน หนี้เดิมก็ยังไม่ระงับสิ้นไป
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินค่าภาษีอากรงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ลงวันที่ล่วงหน้าไว้ในภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 เมื่อเช็คทั้งสองงวดถึงกำหนดสั่งจ่ายธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองงวดนั้น โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าภาษีอากรภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ในการชำระเงินเพิ่มนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2528 จนถึงชำระเสร็จ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรข้อ 8 วรรคสอง
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ให้อำนาจเทศบาลออกเทศบัญญัติเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาลจากภาษีการค้าที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรโดยเรียกเก็บเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษีการค้า หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงเทศบาลไม่นำเงินภาษีบำรุงเทศบาลไปชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังถือว่าผู้นั้นผิดนัด ต้องเสียเงินเพิ่มตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของพลาสติกม้วน: เศษพลาสติกหรือพลาสติกสำเร็จรูป
สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นพลาสติกที่เป็นแผ่นหรือแถบซึ่งม้วนพันอยู่รอบแกนกระดาษ ด้านข้างทั้งสองด้านรวมทั้งแกนกระดาษตัดเรียบเสมอกันเป็นพลาสติกใสไม่ยับยู่ยี่ ทุกม้วนหน้ากว้าง 8 นิ้ว หนักม้วนละ 16.5 ปอนด์ ซึ่งบางม้วนมีกระดาษปิดบอกน้ำหนัดไว้ทั้งยังมีพลาสติกพันหรือหุ้มห่อไว้อีกชั้นหนึ่งสภาพดีใช้การได้ มีสภาพแตกต่างจากเศษพลาสติกที่นำเข้ามาพร้อมกัน ถือได้ว่าเป็นพลาสติกสำเร็จรูปต้องชำระอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 39.02 ข.แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 จึงมิใช่เศษพลาสติกที่ใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับเอามาหล่อ หลอม อัด หรือผสมเป็นของสำเร็จรูปรวมทั้งการที่ต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่39.02 ก..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้า (เศษพลาสติก vs. พลาสติกสำเร็จรูป) เพื่อเสียอากรขาเข้า การพิจารณาจากสภาพสินค้าจริงเป็นหลัก
เศษพลาสติกต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 39.02 ก.ส่วนพลาสติกสำเร็จรูปต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 39.02 ข.(ซึ่งเสียภาษีมากกว่า) การที่จะพิจารณาว่าสินค้าใด เป็นเศษพลาสติกหรือเป็นพลาสติกสำเร็จรูปนั้น จะต้องพิจารณาจากสภาพอันแท้จริงของสินค้านั้นเป็นหลักสำคัญ พลาสติกที่โจทก์นำเข้าเป็นพลาสติกที่เป็นแผ่นหรือแถบ ซึ่งม้วนหรือพัน อยู่รอบแกนกระดาษ เป็นพลาสติกใสทั้งสองด้าน เรียบเสมอกันไม่ยับ ยู่ยี่ ทุกม้วนกว้าง 8 นิ้ว ที่แกนกระดาษนั้นตัดเสมอเท่ากับความกว้างของแผ่นพลาสติก หนักม้วนละ16.5 ปอนด์ บางม้วนมีกระดาษปิดบอกน้ำหนักไว้ด้วย มีจำนวนทั้งสิ้น10,000 กิโลกรัม บรรจุในกล่องกระดาษมีขาไม้รองรับ หรือบางม้วนไม่ได้บรรจุในกล่องกระดาษแต่ก็ยังมีขาไม้รองรับอยู่ พลาสติกเหล่านี้มีสภาพดีใช้การได้ ถือได้ว่าเป็นพลาสติกสำเร็จรูป จึงต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 39.02 ข.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของพลาสติกม้วน: เศษพลาสติกหรือพลาสติกสำเร็จรูป
สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นพลาสติกที่เป็นแผ่นหรือแถบซึ่งม้วนพันอยู่รอบแกนกระดาษ ด้านข้างทั้งสองด้านรวมทั้งแกนกระดาษตัดเรียบเสมอกันเป็นพลาสติกใสไม่ยับยู่ยี่ทุกม้วนหน้ากว้าง 8 นิ้ว หนักม้วนละ 16.5 ปอนด์ซึ่งบางม้วนมีกระดาษปิดบอกน้ำหนัดไว้ทั้งยังมีพลาสติกพันหรือหุ้มห่อไว้อีกชั้นหนึ่งสภาพดีใช้การได้ มีสภาพแตกต่างจากเศษพลาสติกที่นำเข้ามาพร้อมกัน ถือได้ว่าเป็นพลาสติกสำเร็จรูปต้องชำระอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 39.02 ข.แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 จึงมิใช่เศษพลาสติกที่ใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับเอามาหล่อ หลอม อัด หรือผสมเป็นของสำเร็จรูปรวมทั้งการที่ต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่39.02ก..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงและการแก้ไขโทษลดลง
คำอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่า 'จำเลยเป็นข้าราชการ มีปัญหาทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายควรศาลสูงจะได้พิจารณา จึงรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ด้วย' นั้น ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าฎีกาข้อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา จึงเป็นคำอนุญาตที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกท้องสำนวนว่าจำเลยมีเจตนาในการกระทำผิด เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานนอกไปจากที่ปรากฏในท้องสำนวน หากแต่ยกเอาถ้อยคำของพยานโจทก์และพยานจำเลยขึ้นมาประกอบเป็นข้อวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยซึ่งเป็นเรื่องจำเลยเห็นควรเชื่อตามพยานหลักฐานของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง รวมทั้งฎีกาของจำเลยที่ว่าตามพฤติการณ์แห่งคดีสมควรให้รอการลงโทษให้แก่จำเลย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง และการลดโทษโดยคำนึงถึงเหตุพิเศษ
คำอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่า 'จำเลยเป็นข้าราชการ มีปัญหาทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายควรศาลสูงจะได้พิจารณา จึงรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ด้วย' นั้น ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าฎีกาข้อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาต ให้ฎีกา จึงเป็นคำอนุญาตที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกท้องสำนวนว่าจำเลยมีเจตนาในการกระทำผิด เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานนอกไปจากที่ปรากฏในท้องสำนวน หากแต่ยกเอาถ้อยคำของพยานโจทก์และพยานจำเลยขึ้นมาประกอบเป็นข้อวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยซึ่งเป็นเรื่องจำเลยเห็นควรเชื่อตามพยานหลักฐานของจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง รวมทั้งฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีสมควรให้รอการลงโทษให้แก่จำเลย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีจากการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ใช่จ่ายให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40(8) และผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50(5)(ข)และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังนั้นเงินที่ผู้ซื้อหักไว้เป็นภาษีเพื่อนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งผู้ซื้อมอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้สุทธิจากการขายทอดตลาดที่จะนำไปจ่ายแก่เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการหักภาษีจากการขายทอดตลาด: สิทธิของเจ้าหนี้และหน้าที่ของผู้ซื้อ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษา มีสิทธิคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้กันเงินจากการขายทอดตลาดไว้เป็นค่าภาษีเงินได้
เงินรายได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรค 2 เมื่อผู้ซื้อได้จ่ายเงินตามสัญญาขายทอดตลาดและมอบเงินที่ผู้ซื้อมีหน้าที่หักไว้เป็นภาษีแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย เงินจำนวนดังกล่าวเป็นภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมถือไม่ได้ว่าเป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดที่จะนำไปจ่ายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิขอรับเงินจำนวนดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาด: สิทธิของเจ้าหนี้และหน้าที่ของผู้ซื้อ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษา มีสิทธิคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้กันเงินจากการขายทอดตลาดไว้เป็นค่าภาษีเงินได้
เงินรายได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) และผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา50(5)(ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรค 2 เมื่อผู้ซื้อได้จ่ายเงินตามสัญญาขายทอดตลาดและมอบเงินที่ผู้ซื้อมีหน้าที่หักไว้เป็นภาษีแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย เงินจำนวนดังกล่าวเป็นภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมถือไม่ได้ว่าเป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดที่จะนำไปจ่ายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิขอรับเงินจำนวนดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์: กำหนดเวลาและประเภทคำสั่ง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นเรื่องสั่งไม่รับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 ก็เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 ซึ่งผู้อุทธรณ์จะต้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งเกินกำหนดดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง
of 38