พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงเดิม ศาลถือว่าการรังวัดตามข้อตกลงถูกต้องแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ ส. กับ ก. เป็นเจ้าของรวมที่ดินพิพาทบุคคลทั้งสามตกลงแบ่งแยกที่ดินดังกล่าว ต่อมาจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของ ก.แต่ไม่ยอมไปจัดการแบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลง ขอให้ศาลบังคับจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาท หากไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย เช่นนี้ การที่ศาลพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยแสดงว่าให้แบ่งตามความตกลงตามฟ้องมิใช่แบ่งตามลำดับและวิธีการในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ดังนั้น การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยึดถือส่วนในโฉนดและความตกลงตามแผนที่แบ่งกรรมสิทธิ์รวม จึงเป็นการถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเบิกเกินบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ โดยไม่จำเป็นต้องบรรยายสถานะสมาชิกตลาดหลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเบิกเกินบัญชีที่โจทก์ออกแทนจำเลยไปในการซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องถึงวันเวลาที่จำเลยทำสัญญากับโจทก์ วิธีการสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ตามสำเนาหนังสือสัญญาและสำเนาบัญชียอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระท้ายฟ้องซึ่งเป็นการแสดงถึงวันที่จำเลยแต่งตั้งโจทก์ให้เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ โจทก์ทำการเป็นนายหน้าและจ่ายเงินแทนจำเลย รวมทั้งข้อตกลงที่โจทก์จำเลยจะตัดทอนบัญชีอันเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ที่โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำเลย เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าโจทก์มีสิทธิซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยโจทก์เป็นสมาชิกในตลาดหลักทรัพย์เพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแพ่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องสัญญาเบิกเกินบัญชีและอำนาจฟ้องของบริษัทหลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเบิกเกินบัญชีที่โจทก์ออกแทนจำเลยไปในการซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องถึงวันเวลาที่จำเลยทำสัญญากับโจทก์ วิธีการสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ตามสำเนาหนังสือสัญญาและสำเนาบัญชียอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระท้ายฟ้องซึ่งเป็นการแสดงถึงวันที่จำเลยแต่งตั้งโจทก์ให้เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ โจทก์ทำการเป็นนายหน้าและจ่ายเงินแทนจำเลย รวมทั้งข้อตกลงที่โจทก์จำเลยจะตัดทอนบัญชีอันเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ที่โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำเลย เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าโจทก์มีสิทธิซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยโจทก์เป็นสมาชิกในตลาดหลักทรัพย์เพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแพ่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา จึงไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าร่วม การทำร้ายร่างกายชุลมุน และขอบเขตความรับผิดชอบของตัวการ
จำเลยที่ 2 และที่ 3 รุม ชก ต่อยผู้ตายในขณะเกิดเหตุชุลมุนระหว่างพวกจำเลยที่ 1 กับพวกผู้ตาย แล้วจำเลยที่ 1 หยิบมีดที่ตก อยู่ บนพื้นแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจคาดคะเนได้ล่วงหน้าว่าจำเลยที่ 1 จะใช้มีดแทงผู้ตาย ทั้งไม่อาจเล็งเห็นได้ว่าผู้ตายจะถูกทำร้ายจนถึงแก่ความตาย และการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ขัดขวางห้ามปรามจำเลยที่ 1 ก็มิใช่เป็นข้อบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาฆ่าผู้ตาย ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการฆ่าผู้ตายคงรับผิดเฉพาะ เป็นตัวการทำร้ายผู้ตายตามมาตรา 290 เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าร่วมกันทำร้าย: การประเมินความรับผิดของตัวการร่วมเมื่อไม่ได้คาดการณ์เหตุ
จำเลยที่ 2 และที่ 3 รุมชกต่อยผู้ตายในขณะเกิดเหตุชุลมุนระหว่างพวกจำเลยที่ 1 กับพวกผู้ตาย แล้วจำเลยที่ 1 หยิบมีดที่ตกอยู่บนพื้นแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย โดยจำเลยที่ 2 และที่3 ไม่อาจคาดคะเนได้ล่วงหน้าว่าจำเลยที่ 1 จะใช้มีดแทงผู้ตาย ทั้งไม่อาจเล็งเห็นได้ว่าผู้ตายจะถูกทำร้ายจนถึงแก่ความตาย และการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ขัดขวางห้ามปรามจำเลยที่ 1 ก็มิใช่เป็นข้อบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาฆ่าผู้ตาย ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการฆ่าผู้ตายคงรับผิดเฉพาะเป็นตัวการทำร้ายผู้ตายตามมาตรา 290 เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318-2319/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเกี่ยวกับสัญชาติ: การแจ้งชื่อในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพไม่ทำให้สัญชาติไทยสิ้นสุด
โจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย แม้บิดามารดาของโจทก์จะไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งชื่อโจทก์เข้าในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพก็ไม่ทำให้โจทก์ต้องสูญเสียสัญชาติไทยและกลายเป็นคนสัญชาติญวน
ก่อนฟ้องโจทก์และมารดาได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าว เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ก่อนฟ้องโจทก์และมารดาได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าว เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318-2319/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยไม่สูญเสียแม้ชื่อปรากฏในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ การโต้แย้งสิทธิทำให้มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย แม้บิดามารดาของโจทก์จะไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งชื่อโจทก์เข้าในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพก็ไม่ทำให้โจทก์ต้องสูญเสียสัญชาติไทยและกลายเป็นคนสัญชาติญวน
ก่อนฟ้องโจทก์และมารดาได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าว เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
ก่อนฟ้องโจทก์และมารดาได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าว เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292-2293/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษา จำเลยฎีกาไม่ได้อุทธรณ์เรื่องข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกา
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1, ที่ 2 และที่ 4 ใช้ค่าเสียหายจำนวน 37,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 แล้วพิพากษาแก้เป็นว่าไม่บังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้อง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้ คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานจำเลยที่ขอส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นทำให้จำเลยเสียเปรียบไม่มีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มภาคภูมิ และศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินไป เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการส่งประเด็นและการกำหนดค่าเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง.
ฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานจำเลยที่ขอส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นทำให้จำเลยเสียเปรียบไม่มีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มภาคภูมิ และศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินไป เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการส่งประเด็นและการกำหนดค่าเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292-2293/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาหลังโจทก์ถอนฟ้องจำเลยบางส่วน ถือเป็นคดีต้องห้ามฎีกา
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1, ที่ 2 และที่ 4 ใช้ค่าเสียหายจำนวน 37,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 แล้ว พิพากษาแก้เป็นว่าไม่บังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้อง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้ คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานจำเลยที่ขอส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นทำให้จำเลยเสียเปรียบไม่มีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มภาคภูมิ และศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินไป เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการส่งประเด็นและการกำหนดค่าเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง.
ฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานจำเลยที่ขอส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นทำให้จำเลยเสียเปรียบไม่มีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มภาคภูมิ และศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินไป เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการส่งประเด็นและการกำหนดค่าเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการเสริมถนนและไม่แก้ไขป้ายความสูงสะพาน
น. ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลัง คอนเทนเนอร์ของบริษัท ช. ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตรมาตามถนนราชปรารภมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้ สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า 5 เมตรแต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตรน. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดู ว่ารถจะแล่นลอดใต้ สะพานไปได้หรือไม่ แล้ว น. ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อท.บอกให้หยุด น. ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อย ของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยว ชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่า สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น. เชื่อ ว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้เช่น สะพานลอย6 สะพานที่ น. ขับลอด ผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ช. การที่ น. มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้าย ซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้าย และช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบกพ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้ สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตรได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.