พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการเสริมถนนและไม่แก้ไขป้ายความสูงสะพาน
น. ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลัง คอนเทนเนอร์ของบริษัท ช. ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตรมาตามถนนราชปรารภมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้ สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า 5 เมตรแต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตรน. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดู ว่ารถจะแล่นลอดใต้ สะพานไปได้หรือไม่ แล้ว น. ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อท.บอกให้หยุด น. ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อย ของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยว ชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่า สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น. เชื่อ ว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้เช่น สะพานลอย6 สะพานที่ น. ขับลอด ผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ช. การที่ น. มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้าย ซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้าย และช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบกพ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้ สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตรได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐในการดูแลรักษาความปลอดภัยทางถนน และการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่
น.ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลังคอนเทนเนอร์ของบริษัท ช.ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตรมาตามถนนราชปรารถมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า5 เมตร แต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตร น. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดูว่ารถจะแล่นลอดใต้สะพานไปได้หรือไม่แล้ว น.ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อ ท.บอกให้หยุด น.ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อยของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยวชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่าสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น.เชื่อว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้ เช่น สะพานลอย 6 สะพานที่ น.ขับลอดผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ข.
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและการฉ้อฉล: ความรับผิดชอบของทนาย
โจทก์ฎีกาว่า วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม โจทก์ไม่ได้มาศาล ทนายโจทก์กับจำเลยคบคิดกันฉ้อฉลทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยกที่ดินพร้อมบ้านซึ่งเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ให้แก่ จ. อันเป็นการขัดกับเจตนาแท้จริงของโจทก์ ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้ฉ้อฉลโจทก์อย่างไร ส่วนข้อกล่าวอ้างของโจทก์ที่ว่า ทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยไม่ตรงตามเจตนาอันแท้จริงของโจทก์นั้น แม้จะฟังว่าเป็นความจริงก็เป็นความผิดของทนายโจทก์เอง หาใช่เป็นการฉ้อฉลของฝ่ายจำเลยไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความขัดเจตนา-ฉ้อฉล: ความรับผิดชอบของทนาย ไม่ใช่จำเลย
โจทก์ฎีกาว่า วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม โจทก์ไม่ได้มาศาล ทนายโจทก์กับจำเลยคบคิดกันฉ้อฉลทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยกที่ดินพร้อมบ้านซึ่งเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ให้แก่ จ. อันเป็นการขัดกับเจตนาแท้จริงของโจทก์ ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้ฉ้อฉลโจทก์อย่างไร ส่วนข้อกล่าวอ้างของโจทก์ที่ว่า ทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยไม่ตรงตามเจตนาอันแท้จริงของโจทก์นั้น แม้จะฟังว่าเป็นความจริงก็เป็นความผิดของทนายโจทก์เอง หาใช่เป็นการฉ้อฉลของฝ่ายจำเลยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความหมาย 'ของมีค่า' ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 และความรับผิดของผู้ขนส่ง
คำว่า 'ของมีค่า' ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตร ฯลฯ เครื่องรับโทรทัศน์เป็นเพียงทรัพย์สินตามธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'ของมีค่า' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 620: เครื่องรับโทรทัศน์ไม่เข้าข่าย
คำว่า 'ของมีค่า' ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 620 หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตร ฯลฯ เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นเพียงทรัพย์สินตามธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115-2116/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขัดทรัพย์: ผู้มีส่วนได้เสียต้องดำเนินการภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดที่ดินของจำเลยเพื่อบังคับคดี ผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ดิน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องที่ 1 ไม่มีส่วนได้เสีย ให้ยกคำร้อง ต่อมาผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวอีกโดยอ้างเหตุเดิม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องที่ 1 วางหลักทรัพย์ประกันความเสียหาย ผู้ร้องที่ 1 ก็ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นตามคำสั่งเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 หลังจากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2527 โดยไม่ปรากฏว่าได้แจ้งให้ผู้ร้องที่ 1 ทราบ เช่นนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องครั้งแรกของผู้ร้องที่ 1 โดยผู้ร้องที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวถึงที่สุดผู้ร้องที่ 1 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 (2) เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับอนุญาตจากศาลให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้แล้วจึงไม่ต้องแจ้งวันขายทอดตลาดให้แก่ผู้ร้องที่ 1 ทราบ
ผู้ร้องที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2527 หลังจากมีการขายทอดตลาดทรัพย์นั้นแล้ว ผู้ร้องที่ 2 จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้
ผู้ร้องที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2527 หลังจากมีการขายทอดตลาดทรัพย์นั้นแล้ว ผู้ร้องที่ 2 จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113-2114/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินเช่า: การครอบครองโดยอาศัยสิทธิการเช่าของผู้อื่น ไม่ถือเป็นการครอบครองโดยตนเองและไม่สามารถอ้างสิทธิยันเจ้าของที่ดินได้
ที่ดินที่ ส. เช่าและให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นบุตรปลูกบ้านอยู่ เป็นที่ดินซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือ แม้ที่ดินเฉพาะตรงที่จำเลยที่ 2 ปลูกบ้านอยู่นี้จะเป็นที่ดินนอกโฉนดของโจทก์แต่ก็เป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง และ ส.ก็ยอมรับสิทธิของ ม.ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินแทนโจทก์โดยการทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจาก ม.ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ปลูกบ้านอยู่ก็โดยอาศัยสิทธิการเช่าของ ส.จึงไม่อาจอ้างสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทส่วนนี้ยันโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113-2114/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินเช่า: การครอบครองโดยอาศัยสิทธิเช่าของผู้อื่น ไม่อาจอ้างสิทธิครอบครองยันเจ้าของที่ดินได้
ที่ดินที่ ส. เช่าและให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นบุตรปลูกบ้านอยู่ เป็นที่ดินซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือแม้ที่ดินเฉพาะตรงที่จำเลยที่ 2 ปลูกบ้านอยู่นี้จะเป็นที่ดินนอกโฉนดของโจทก์แต่ก็เป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง และ ส.ก็ยอมรับสิทธิของ ม.ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินแทนโจทก์โดยการทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจาก ม.ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ปลูกบ้านอยู่ก็โดยอาศัยสิทธิการเช่าของ ส.จึงไม่อาจอ้างสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทส่วนนี้ยันโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2112/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำหลังมีคำพิพากษา – บทบัญญัติมาตรา 296 ทวิ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนครัวที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนให้โจทก์รื้อถอนได้โดยค่าใช้จ่ายเป็นของจำเลย ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่10) พ.ศ. 2527 ออกใช้บังคับซึ่งมาตรา 12 ให้เพิ่มเติมบทมาตรา 296 ทวิ เป็นว่า'ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ดังกล่าว' ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการรื้อถอนครัวของจำเลยที่รุกล้ำออกไปได้ จะให้โจทก์รื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่.