พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์คดีอาญาได้เนื่องจากศาลอุทธรณ์ยกฟ้องในข้อหาเดิมที่ฟ้องไว้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,364, 365 (2) (3), 288, 289 (4), 80, 81, 90, 91 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 81 และมาตรา 365 และความผิดดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทจึงลงโทษตามมาตรา 288, 81 อันเป็นบทหนักให้จำคุก 1 ปี และรอการลงโทษไว้ 3 ปี ยกคำขออื่น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 81 ด้วย คงลงโทษในความผิดกรรมนี้ตามมาตรา 365 ให้จำคุก 6 เดือน และรอการลงโทษไว้ 3 ปี ดังนี้ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 289 (4) ประกอบด้วยมาตรา 80 โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาความผิดดังกล่าวไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: แม้แบ่งไม่ถูกต้อง แต่ยังไม่ถือละเลยหน้าที่ หากทายาทส่วนใหญ่เห็นชอบ
ผู้ร้องมิได้ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกและได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทแล้ว แม้การแบ่งทรัพย์มรดกจะไม่ถูกต้องตามส่วนที่ทายาทควรจะได้ตามกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่างหากเพราะทายาทส่วนมากเห็นว่าผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายมากกว่าผู้คัดค้าน จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะถอน ผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: แม้แบ่งไม่ถูกต้องตามส่วน แต่ไม่ถือว่าละเลยหน้าที่ หากทายาทส่วนใหญ่เห็นชอบ
ผู้ร้องมิได้ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกและได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทแล้ว แม้การแบ่งทรัพย์มรดกจะไม่ถูกต้องตามส่วนที่ทายาทควรจะได้ตามกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่างหากเพราะทายาทส่วนมากเห็นว่าผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายมากกว่าผู้คัดค้าน จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อที่ดินตามคำพิพากษาเดิมกับการบังคับคดีชั่วคราว: การคุ้มครองสิทธิก่อนมีคำพิพากษา
ผู้ร้องร้องว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องในคดีก่อนให้ผู้ร้องซื้อที่ดินซึ่งพิพาทกันในคดีนี้จากจำเลย จนศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและผู้ร้องได้ชำระราคาแก่จำเลยแล้ว ดังนี้ หากเป็นความจริงผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จำเลยจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 อันจะบังคับคดีในคดีนี้ให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิดังกล่าวของผู้ร้องมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 การที่ศาลชั้นต้นออกคำสั่งอายัดที่ดินพิพาท และมีหมายห้ามโอนไปยังเจ้าพนักงานที่ดินเป็นวิธีการชั่วคราวก่อนคำพิพากษาเพื่อคุ้มครองปกป้องผลประโยชน์ของโจทก์ให้ได้รับผลตามคำพิพากษาโดยสมบูรณตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ซึ่งมาตรา 259 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวโดยอนุโลมฉะนั้นหากได้ความตามคำร้องของผู้ร้อง คำสั่งอายัดและหมายห้ามโอนนั้นก็กระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้อง อาจต้องเพิกถอนเสีย จึงควรรับคำร้องของผู้ร้องไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไปศาลล่างมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเนื่องจากประวิงคดี และผลของการวินิจฉัยถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์โจทก์ขอเลื่อนคดีไป 3 ครั้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ประวิงคดีไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เท่ากับได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์มิใช่คนอนาถาจะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอนาถาหลังประวิงคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนถือเป็นคำวินิจฉัยถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์โจทก์ขอเลื่อนคดีไป 3 ครั้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ประวิงคดีไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ให้งดการไต่สวน และมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เท่ากับได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้อง ของ โจทก์แล้วว่าโจทก์มิใช่คนอนาถา จะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ เมื่อโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอนาถาหลังศาลวินิจฉัยสถานะทางการเงินโจทก์ คดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์โจทก์ขอเลื่อนคดีไป 3 ครั้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ประวิงคดีไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เท่ากับได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์มิใช่คนอนาถาจะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: การรับเอาทรัพย์ที่ลักมาโดยรู้ว่าเป็นของผู้อื่น และการพิจารณาโทษ
จำเลยหาบข้าวของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปไปกองไว้ด้วยตนเอง เมื่อปรากฏว่าลักษณะของฟ่อนข้าวของผู้เสียหายกับของจำเลยแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากวัสดุที่ใช้มัดข้าวของผู้เสียหายเป็นไม้ไผ่ของจำเลยเป็นหญ้าแฝก ข้าวก็เป็นคนละพันธุ์ ข้าวของผู้เสียหายที่อยู่ในลานข้าวของจำเลยก็มิได้วางไว้พื้นนาแต่มีกองข้าวของจำเลยปิดทับอยู่ ต้องรื้อกองข้าวของจำเลยออกจึกพบข้าวของผู้เสียหาย พฤติการณ์เหล่านี้แสดงว่าจำเลยรับเอาข้าวของผู้เสียหายไว้ โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ลักมาจำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้รับทั้งหมด การโอนมรดกตามพินัยกรรมและสิทธิของทายาท
พินัยกรรมมีข้อความสำคัญว่า 'ฯลฯ ข้อ 1 เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตาย บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะพึงมีต่อไปภายหน้าข้าพเจ้าขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมฉบับนี้ ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 2. ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 10197......ตั้งอยู่ตำบลวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานครพร้อมกับสิ่งปลูกสร้างข้าพเจ้าขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ ส.(โจทก์) แต่ผู้เดียว ข้อ 3. ข้าพเจ้าขอแต่งตั้งให้ ส. (โจทก์)เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมฉบับนี้และให้เป็นผู้จัดการศพของข้าพเจ้าด้วย' ข้อความในพินัยกรรมข้อ 1. หมายความว่า เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้วให้บรรดาทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่นั้นตกเป็นของโจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับพินัยกรรมแต่ผู้เดียว รวมทั้งทรัพย์สินตามที่ได้กล่าวไว้ในพินัยกรรมข้อ 2 ด้วย ดังนั้นที่ดินมรดกจึงตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรม
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประเด็นอายุความจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์และเป็นอันยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจะยกขึ้นอ้างหรือโต้แย้งในชั้นฎีกาไม่ได้
ส่วนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าหากโอนที่ดินไม่ได้ ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนนั้น ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาในชั้นฎีกาจำเลยได้โอนขายที่ดินแปลงนี้ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ฉะนั้น หากจำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ไม่ได้ ก็ไม่อาจนำที่ดินนี้ออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วน ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้นั้นได้ จึงพิพากษาแก้ให้จำเลยโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกหากไม่สามารถโอนได้ให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์เป็นจำนวน 500,000 บาท ตามส่วนของราคาที่ดินพร้อมด้วยดอกเบี้ย.
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประเด็นอายุความจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์และเป็นอันยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจะยกขึ้นอ้างหรือโต้แย้งในชั้นฎีกาไม่ได้
ส่วนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าหากโอนที่ดินไม่ได้ ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนนั้น ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาในชั้นฎีกาจำเลยได้โอนขายที่ดินแปลงนี้ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ฉะนั้น หากจำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ไม่ได้ ก็ไม่อาจนำที่ดินนี้ออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วน ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้นั้นได้ จึงพิพากษาแก้ให้จำเลยโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกหากไม่สามารถโอนได้ให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์เป็นจำนวน 500,000 บาท ตามส่วนของราคาที่ดินพร้อมด้วยดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินเฉพาะเจาะจง และสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งมรดก
ข้อความในพินัยกรรมที่ว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตายให้บรรดาทรัพย์สินที่มีอยู่และที่จะพึงมีต่อไปในภายหน้าตก เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ระบุชื่อ ในพินัยกรรม แต่ปรากฏว่าผู้ที่มีชื่อระบุให้ได้รับทรัพย์สินตามพินัยกรรมก็มีแต่โจทก์เพียงคนเดียวเท่านั้น เช่นนี้ย่อมหมายความว่า เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วให้บรรดาทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่นั้นตก เป็นของโจทก์.