พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทในการมอบอำนาจฟ้องคดี และอายุความสัญญาขายลดเช็ค
ป.พ.พ. มาตรา 1144 ถึงมาตรา 1170 บัญญัติให้กรรมการบริษัทมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับบริษัทไว้หลายประการ เช่น ให้กรรมการใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในอันที่จะประกอบกิจการของบริษัทอย่างผู้ค้าขายด้วยความระมัดระวัง ให้มีอำนาจเรียกประชุมกรรมการและออกเสียงชี้ขาดปัญหาในที่ประชุม ให้มีอำนาจมอบอำนาจของตนให้ผู้จัดการ ฯลฯ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือได้ว่าผู้เป็นกรรมการของบริษัททุกคนต้องมีหน้าที่บริหารกิจการของบริษัท ฉะนั้นกรรมการบริษัทคนหนึ่งจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้จัดการและประทับตราของบริษัท แต่งตั้งให้ผู้อื่นฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164ส่วนการฟ้องผู้สั่งจ่ายซึ่งมิได้ทำสัญญาขายลดเช็คด้วย ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 24 กันยายน 2525เช็คสั่งจ่ายลงวันที่ 1 ตุลาคม 2524 ไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างเป็นประเด็นในคำให้การว่า โจทก์เคยนำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องไปฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีอื่นแล้วจึงนำมาฟ้องคดีนี้อีกไม่ได้เพราะเป็นฟ้องซ้อน แต่จำเลยที่ 2 มิได้นำสืบให้ได้ข้อเท็จจริงดังที่อ้าง ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 จึงฟังไม่ขึ้น.(ที่มา-ส่งเสริม)
การใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164ส่วนการฟ้องผู้สั่งจ่ายซึ่งมิได้ทำสัญญาขายลดเช็คด้วย ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 24 กันยายน 2525เช็คสั่งจ่ายลงวันที่ 1 ตุลาคม 2524 ไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างเป็นประเด็นในคำให้การว่า โจทก์เคยนำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องไปฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีอื่นแล้วจึงนำมาฟ้องคดีนี้อีกไม่ได้เพราะเป็นฟ้องซ้อน แต่จำเลยที่ 2 มิได้นำสืบให้ได้ข้อเท็จจริงดังที่อ้าง ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 จึงฟังไม่ขึ้น.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่มีอัตราโทษจำคุก อย่างสูงถึง 10 ปี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคแรกบัญญัติว่าก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้ ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยในเรื่องทนายเสียก่อนเริ่มพิจารณา แต่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยไม่มีทนาย และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีไปโดยที่มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการเสียให้ถูกต้อง การดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่มีอัตราโทษจำคุก อย่างสูงถึง 10 ปี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคแรกบัญญัติว่าก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้ ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยในเรื่องทนายเสียก่อนเริ่มพิจารณา แต่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยไม่มีทนาย และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีไปโดยที่มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการเสียให้ถูกต้อง การดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายซองกระสุน: ความรับผิดของผู้ขายที่ส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องและชำระหนี้ล่าช้า รวมถึงการหักกลบลบค่าเสียหาย
จำเลยส่งมอบซอง กระสุนจำนวน 4,100 ซอง ไม่ถูกต้องตามตัวอย่างโจทก์จึงแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาแม้สัญญาระบุเรื่องการจัดการแก้ไขไว้โดยมิได้ระบุให้ส่งไปให้ผู้ผลิตทำการแก้ไข แต่การแก้ไขชิ้น ส่วนของซอง กระสุนปืน เอ็ม 16 ซึ่งใช้ในราชการสงคราม พึงเป็นที่เข้าใจว่าผู้ที่จะจัดการแก้ไขซ่อมแซมได้ จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ซอง กระสุนปืนดังกล่าวโรงงานแอ็ดเวนเจอร์ไลน์ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิต การแก้ไขก็ต้องให้โรงงานผู้ผลิตเป็นผู้จัดการ การที่จำเลยจะรับไปจัดการแก้ไขเอง โดยอ้างว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยหาอาจอ้างเอาเหตุนี้มาเป็นข้อต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญาได้ไม่ หลังจากที่โจทก์แจ้งให้จำเลยรับเอาซอง กระสุนปืนไปแก้ไขจำเลยเพิกเฉยไม่แจ้งให้โรงงานผู้ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริการับไปดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องแล้วนำมาส่งมอบแก่โจทก์จนกระทั่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา และให้นำซอง กระสุนที่ถูกต้องส่งมอบแก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับจากวันที่จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าว จำเลยได้รับหนังสือวันที่ 25 มกราคม 2523ครบกำหนดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2523 จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาถือได้ว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที ดังนั้นโจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยนับแต่วันครบกำหนดส่งตามสัญญาคือวันที่ 27 มกราคม 2521 ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2523 ป.พ.พ. มาตรา 380 บัญญัติถึงเบี้ยปรับในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาโดยเรียกเอาเบี้ยปรับในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหาย ดังนั้นเบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายเมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้ว และจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อซอง กระสุนในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายอีกไม่ได้ สัญญาระหว่างโจทก์ จำเลย กำหนดให้ธนาคารฯ วางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพัน เช่นนี้เมื่อโจทก์ได้เรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็ม จำนวนแล้ว ต้องคืนหลักประกันที่ธนาคารวางไว้เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา โดยนำไปคิดหักกลบลบกับค่าเสียหายที่จำเลยพึงชดใช้ให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายซองกระสุนชำรุด: สิทธิบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และการคืนหลักประกัน
สัญญาซื้อขายของกระสุนปืน เอ็ม .16 ซึ่งผลิตโดยโรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ตามสัญญาเรื่องการจัดการแก้ไขในกรณีที่ซองกระสุนปืนดังกล่าวไม่ถูกต้องจะมิได้ระบุให้ส่งไปให้ผู้ผลิตทำการแก้ไขก็ตาม แต่การแก้ไขชิ้นส่วนของซองกระสุนปืนเอ็ม .16 อันเป็นเครื่องกระสุนปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งใช้ในราชการสงคราม จึงพึงเป็นที่เข้าใจว่าผู้ที่จะจัดการแก้ไขซ่อมแซมได้ จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ดังนี้การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้โรงงานผู้ผลิตรับเอาซองกระสุนปืนไปแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยนับแต่วันครบกำหนดส่งของตามสัญญาถึงวันครบกำหนดที่โจทก์ให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญา
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้วและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
ตามสัญญากำหนดให้ธนาคารวางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนี้ถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้ว จึงต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้จำเลย.
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้วและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
ตามสัญญากำหนดให้ธนาคารวางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนี้ถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้ว จึงต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายซองกระสุน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และการคืนหลักประกัน
สัญญาซื้อขายของกระสุนปืน เอ็ม .16 ซึ่งผลิตโดยโรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ตามสัญญาเรื่องการจัดการแก้ไขในกรณีที่ซองกระสุนปืนดังกล่าวไม่ถูกต้องจะมิได้ระบุให้ส่งไปให้ผู้ผลิตทำการแก้ไขก็ตาม แต่การแก้ไขชิ้นส่วนของซองกระสุนปืนเอ็ม .16 อันเป็นเครื่องกระสุนปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งใช้ในราชการสงคราม จึงพึงเป็นที่เข้าใจว่าผู้ที่จะจัดการแก้ไขซ่อมแซมได้ จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ดังนี้การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้โรงงานผู้ผลิตรับเอาซองกระสุนปืนไปแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยนับแต่วันครบกำหนดส่งของตามสัญญาถึงวันครบกำหนดที่โจทก์ให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญา
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้วและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
ตามสัญญากำหนดให้ธนาคารวางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนี้ถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้ว จึงต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้จำเลย.
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้วและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
ตามสัญญากำหนดให้ธนาคารวางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนี้ถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้ว จึงต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและข้อสงสัยตามกฎหมาย
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย5 ปี เป็นคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาของจำเลยที่ว่าพยานหลักฐานในคดีไม่ปรากฏว่าใครเป็นเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริง และโจทก์ก็มิได้นำสืบถึงผู้เสียหาย และเจ้าของทรัพย์ที่ถูกลัก การที่ศาลลงโทษจำเลยโดยอาศัยพยานหลักฐานแวดล้อมเป็นการฟังพยานหลักฐานที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227และเมื่อคดีมีข้อสงสัยว่า จำเลยจะได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยบรรยายฟ้องตอนต้นว่า มีคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในเคหสถานของผู้เสียหายต่อมาในฟ้องข้อ 2 โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อไปว่า มีผู้พบเห็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลย จึงกล่าวหาว่า จำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์ดังกล่าวไปหรือมิฉะนั้นจำเลยก็รับทรัพย์นั้นไว้จากคนร้ายโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อันเป็นความผิดฐานรับของโจร โดยขอให้ลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งซึ่งก็แล้วแต่ทางพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใด โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐาน ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน และสมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว.(ที่มา-เนติ)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยบรรยายฟ้องตอนต้นว่า มีคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในเคหสถานของผู้เสียหายต่อมาในฟ้องข้อ 2 โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อไปว่า มีผู้พบเห็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลย จึงกล่าวหาว่า จำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์ดังกล่าวไปหรือมิฉะนั้นจำเลยก็รับทรัพย์นั้นไว้จากคนร้ายโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อันเป็นความผิดฐานรับของโจร โดยขอให้ลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งซึ่งก็แล้วแต่ทางพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใด โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐาน ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน และสมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลภาครัฐ: สิทธิของผู้เสนอราคาเมื่อหน่วยงานรัฐไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการทำสัญญา และพิสูจน์ได้ว่าผู้เสนอราคารับทราบข้อตกลงล่าช้า
การประกวดราคาก่อสร้างอาคารเรียนของจำเลย ปรากฏว่าเมื่อเปิดซองประมูลโจทก์เป็นผู้ประมูลในราคาต่ำสุด แต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาก่อสร้างดังกล่าว จำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจำเลยมีสิทธิจะตกลงจ้างผู้ยื่นซองประกวดราคารายใดก็ได้ไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างผู้เสนอราคาต่ำเสมอไป จะจ้างผู้รับเหมารายเดียวกันหรือแยกจ้างหลายรายหรือจะไม่ตกลงจ้างทุกรายก็ได้ในเมื่อมีเหตุอันสมควร จึงยังถือไม่ได้ว่า โจทก์ผู้เสนอราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ประมูลได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2525 และโดยที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาข้อ 6 มีว่า 'ฯลฯ ผลการประกวดราคาไม่ผูกพันว่าจังหวัดจะต้องแจ้งให้ผู้ยื่นซองประกวดราคาทราบ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ยื่นซองประกวดราคาจะต้องติดต่อสอบถาม หรือดูประกาศผลการประกวดราคาเอง' ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องแจ้งผลการประกวดราคาให้โจทก์ทราบ จึงถือได้ว่าโจทก์ทราบว่าตนชนะการประกวดราคาเป็นผู้ประมูลได้ในวันที่ 6กรกฎาคม 2525
เมื่อโจทก์ทราบว่าตนประมูลได้แล้ว การมาทำสัญญาต้องบังคับตามประกาศประกวดราคาข้อ 10 ซึ่งระบุว่า 'ผู้ยื่นซองประกวดราคาได้ต้องมาทำสัญญาจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทางราชการแจ้งให้ทราบ ฯลฯ' โจทก์ได้รับจดหมายของจำเลยให้ไปทำสัญญาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2525 ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือขอทำสัญญากับจำเลยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2525 ก่อนได้รับจดหมายของจำเลย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาและทิ้งงาน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ข้อนี้เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2525 และโดยที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาข้อ 6 มีว่า 'ฯลฯ ผลการประกวดราคาไม่ผูกพันว่าจังหวัดจะต้องแจ้งให้ผู้ยื่นซองประกวดราคาทราบ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ยื่นซองประกวดราคาจะต้องติดต่อสอบถาม หรือดูประกาศผลการประกวดราคาเอง' ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องแจ้งผลการประกวดราคาให้โจทก์ทราบ จึงถือได้ว่าโจทก์ทราบว่าตนชนะการประกวดราคาเป็นผู้ประมูลได้ในวันที่ 6กรกฎาคม 2525
เมื่อโจทก์ทราบว่าตนประมูลได้แล้ว การมาทำสัญญาต้องบังคับตามประกาศประกวดราคาข้อ 10 ซึ่งระบุว่า 'ผู้ยื่นซองประกวดราคาได้ต้องมาทำสัญญาจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทางราชการแจ้งให้ทราบ ฯลฯ' โจทก์ได้รับจดหมายของจำเลยให้ไปทำสัญญาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2525 ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือขอทำสัญญากับจำเลยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2525 ก่อนได้รับจดหมายของจำเลย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาและทิ้งงาน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ข้อนี้เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ความใกล้ชิดและประโยชน์ของกองมรดกเป็นเกณฑ์สำคัญในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย และอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายตลอดมาจนผู้ตายถึงแก่กรรมเป็นเวลา 39 ปีเศษ ส่วนผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายที่เกิดกับภริยาอีกคนหนึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้ตายน้อยกว่าผู้ร้อง และทั้งผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างมีความขัดแย้งกัน หากให้ร่วมกันจัดการทรัพย์มรดกอาจเกิดความไม่สะดวก เพื่อประโยชน์แก่กองมรดก จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นและการส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต โจทก์ จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงที่สุด จำเลยฎีกาอีกไม่ได้.(ที่มา-เนติ)