คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สาระ เสาวมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: การปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรกเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ แม้ไม่มีลายลักษณ์อักษร
โจทก์มอบเช็คพิพาทให้ธนาคารตรวจสอบบัญชีของจำเลย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2527 เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบแล้วบอกว่าไม่มีเงินจึงคืนเช็คให้โจทก์ ต่อมาวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินใหม่ เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์แสดงความจำนงขอรับเงินตามเช็คจากธนาคารในวันที่ 26 มกราคม 2527นั้นแล้ว แม้ธนาคารจะมิได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นลายลักษณ์อักษรก็ต้องถือว่าความผิดตามพ.ร.บ.เช็คฯ พ.ศ. 2497มาตรา 3 ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้แต่มาฟ้องคดีเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินคดีโจทก์จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: การปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรกเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ แม้จะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินใหม่
โจทก์มอบเช็คพิพาทให้ธนาคารตรวจสอบบัญชีของจำเลย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2527 เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบแล้วบอกว่าไม่มีเงินจึงคืนเช็คให้โจทก์ ต่อมาวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินใหม่ เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์แสดงความจำนง ขอรับเงินตามเช็คจากธนาคารในวันที่ 26 มกราคม 2527 นั้นแล้ว แม้ธนาคารจะมิได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นลายลักษณ์อักษรก็ต้องถือว่าความผิดตาม พ.ร.บ. เช็คฯ พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้แต่มาฟ้องคดีเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก & การละเมิดจากทายาท การครอบครองทรัพย์มรดกโดยไม่ยินยอม
ในระหว่างจัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นได้ ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 จำเลยและบริวารเข้าครอบครองอาคารพิพาทโดยทายาทอื่นมิได้ยินยอม ทำให้ทายาทอื่นขาดผลประโยชน์จากการใช้อาคาร จึงเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะเป็นทายาทคนหนึ่ง จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์จากทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเป็นของตนแต่ผู้เดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ และการละเมิดสิทธิในทรัพย์มรดก
ในระหว่างจัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นได้ ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 จำเลยและบริวารเข้าครอบครองอาคารพิพาทโดยทายาทอื่นมิได้ยินยอม ทำให้ทายาทอื่นขาดผลประโยชน์จากการใช้อาคาร จึงเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะเป็นทายาทคนหนึ่ง จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์จากทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเป็นของตนแต่ผู้เดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก: คำสั่งศาลที่ยังไม่ถึงที่สุด ไม่กระทบสิทธิฟ้องในคดีอื่น
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากอาคารพิพาทศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นศาลได้มีคำสั่งในคดีตั้งผู้จัดการมรดกให้เพิกถอนโจทก์ทั้งสองจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่คดียังไม่ถึงที่สุด เพราะโจทก์อุทธรณ์คำสั่งในคดีดังกล่าวอยู่ แม้จำเลยจะเป็นผู้ร้องขอให้ถอน โจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนั้นก็ตาม แต่ก็เป็นคู่ความคนละคดีกัน จำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล จะยกขึ้นใช้อ้างอิงหรือใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาแพ่ง มาตรา145(1) ก็ต่อเมื่อเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้นเมื่อคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องอุทธรณ์คดีนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความมั่นคงของรัฐ: รัฐเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียว
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113,114 และ 116 อันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร เป็นการกระทำความผิดต่อรัฐโดยตรง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด แม้ผู้ร้องจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็มิใช่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 28.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความมั่นคงของรัฐ: สิทธิของผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตาม ป.อ.มาตรา 113,114 และ 116 เป็นการกระทำผิดต่อรัฐโดยตรง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด ผู้ร้องแม้จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็มิใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(4) ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน: แม้สร้างเพื่อสาธารณประโยชน์ ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้สร้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมรุ เผาศพเป็นของโจทก์สร้างไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ให้ประชาชนใช้เผาศพร่วมกัน การบรรยายฟ้องดังกล่าวชี้ ให้เห็นว่าเมรุ เผาศพของโจทก์ใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ไม่ว่าโจทก์จะใช้ทำประโยชน์ส่วนตัวหรือให้ประชาชนใช้ร่วมกันก็ยังคงเป็นของโจทก์อยู่นั่นเอง ดังนี้โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 2(4) ประกอบมาตรา 28(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน - เมรุเผาศพสร้างเพื่อสาธารณประโยชน์ ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนเป็นของแผ่นดิน
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ว่าเมรุเผาศพเป็นของโจทก์แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องต่อไปว่า เมรุเผาศพนี้สร้างไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ให้ประชาชนใช้เผาศพร่วมกัน ก็เป็นการบรรยายให้เห็นว่าเมรุเผาศพของโจทก์นี้ใช้ประโยชน์อย่างไร หาทำให้เมรุเผาศพของโจทก์กลายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2767/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าในคดีทำร้ายร่างกาย: พิจารณาจากสถานการณ์และลักษณะการกระทำ
จำเลยกับผู้เสียหายสนิทสนมกันมานานเพราะต่างเป็นใบ้และหูหนวก วันเกิดเหตุจำเลยดื่มเบียร์จนเวียนศีรษะแล้วใช้มีดพกชนิดพับได้ ใบมีดยาวประมาณ 2 นิ้ว ซึ่งเป็นมีดขนาดเล็กแทงผู้เสียหายแม้จะแทงหลายที ที่หน้าอก ชายโครงและหน้าท้อง แต่ก็น่าจะไม่มีเจตนาเลือกแทงเพราะขณะนั้นจำเลยและผู้เสียหายกำลังกอดปล้ำกันอยู่ และรูปคดีเชื่อว่าหากจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย จำเลยย่อมจะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้โดยง่าย เพราะไม่มีใครรู้เห็นและห้ามปราม ทั้งผู้เสียหายก็ไม่อาจร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใดได้เพราะเป็นใบ้ ผู้เสียหายลุกขึ้นมาได้ทันทีหลังจากถูกแทง ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย.
of 37