คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพจิตร วิเศษโกสิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีและเหตุอันควรปราณี ลดโทษอาญาได้
คดีไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุฆ่าผู้ตาย แต่จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพและนำชี้ที่เกิดเหตุ จึงทำให้พนักงานสอบสวนสามารถรวบรวมพยานหลักฐาน เช่น อาวุธปืนที่ใช้ยิงผู้ตายและรถจักรยานยนต์ที่จำเลยใช้เป็นพาหนะในการกระทำผิดได้คำรับสารภาพของจำเลยทั้งสามจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอย่างมาก นับว่าเป็นเหตุอันควรปราณีแก่จำเลยทั้งสามได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าเดิมเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ และการงดสืบพยานหลักฐาน
คำฟ้องแย้งของจำเลยเพียงแต่ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าตึก พิพาทกับจำเลยอีก 13 ปี นับแต่วันครบกำหนดสัญญาเช่าเดิม ตามที่จำเลยอ้างว่ามีข้อตกลงกันเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนด 12 ปี จำเลยจะนำสืบว่ามีข้อตกลงกับผู้ให้เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นการขอสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในประเด็นข้อนี้ แล้วศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในตึก พิพาทเช่นนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ทำให้คดีเสร็จไปเฉพาะ แต่ประเด็นบางข้อ เป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา228(3) หาใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย และต่อสู้ว่าการเช่า ตึก พิพาทมีข้อตกลงให้จำเลยออกค่าก่อสร้างโดยผู้ให้เช่าจะให้จำเลยเช่า ตึก พิพาทมีกำหนดไม่น้อยกว่า25 ปี เพียงแต่ทำสัญญาเช่าไว้มีกำหนด 12 ปีก่อน จำเลยชอบที่จะนำสืบถึงเหตุที่จำเลยมีสิทธิเช่า ต่ออีกเพราะได้ออกเงินค่าก่อสร้างเป็นการตอบ แทนเท่ากับเป็นการนำสืบหักล้างสัญญานั้นว่าไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าต่างตอบแทน: การนำสืบเพื่อหักล้างสัญญาเช่าเดิม
คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าให้จำเลย เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
จำเลยให้การต่อสู้ว่าการเช่าตึกพิพาทมีข้อตกลงให้จำเลยออกค่าก่อสร้างตึกพิพาทโดยโจทก์จะให้จำเลยเช่าตึกพิพาทมีกำหนด25 ปี เพียงแต่ทำสัญญาเช่าไว้มีกำหนด 12 ปีก่อน จำเลยมีสิทธินำสืบถึงเหตุที่จำเลยมีสิทธิเช่าต่อได้ เพราะเป็นการนำสืบหักล้างสัญญาที่ทำไว้ว่าไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์นำส่งหมายนัด – เพิกเฉยไม่ดำเนินคดี – ศาลสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว
แม้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 184 บัญญัติให้ศาลออกหมายกำหนดวันนัดสืบพยานส่งให้แก่คู่ความ แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายนัด และโจทก์ทราบคำสั่งแล้ว ก็มิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งนั้น ทั้ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 ก็ให้อำนาจศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่งหมายนัดได้ คำสั่งศาลดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 18 เมษายน 2527 โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลย หมายนัดออกวันที่ 15 มีนาคม2527 และส่งไปถึงงานเดินหมายและประกาศ กรมบังคับคดีเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2527 โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนกระทั่งวันที่ 12เมษายน 2527 จึงได้ไปติดต่อที่งานเดินหมายแต่โจทก์ไม่นำส่งทั้งที่ศาลออกหมายนัดถึงทนายจำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์นำส่งหมายนัดและการเพิกเฉยคดี ศาลจำหน่ายคดีชอบแล้ว
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 184 บัญญัติให้ศาลออกหมายกำหนดวันนัดสืบพยานส่งให้แก่คู่ความ แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายนัด และโจทก์ทราบคำสั่งแล้ว ก็มิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งนั้น ทั้ง ป.วิ.พ. มาตรา 70ก็ให้อำนาจศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่งหมายนัดได้คำสั่งศาลดังกล่าวจึงชอบแล้ว ศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 18 เมษายน 2527 โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลย หมายนัดออกวันที่ 15 มีนาคม2527 และส่งไปถึงงานเดินหมายและประกาศ กรมบังคับคดีเมื่อวันที่19 มีนาคม 2527 โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนกระทั่งวันที่ 12เมษายน 2527 จึงได้ไปติดต่อที่งานเดินหมาย แต่โจทก์ไม่นำส่งทั้งที่ศาลออกหมายนัดถึงทนายจำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่เข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร แม้จะนั่งรถที่ได้มาจากการลักทรัพย์ หากไม่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ
จำเลยที่ 2 นั่งรถยนต์แท็กซี่ซึ่งจำเลยที่ 1 กับ ส.ลักมาเพื่อจะไปเที่ยวด้วยกัน โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถเอง ดังนี้รถแท็กซี่ยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 กับ ส.จำเลยที่2 มิได้กระทำการใดอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1 กับ ส.ในการพารถแท็กซี่ไป พฤติการณ์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำผิดฐานรับของโจร.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ลักทรัพย์-วิ่งราวทรัพย์ ต้องใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวยซึ่งหน้า การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) บทหนึ่ง และเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามมาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่ง กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90 ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยอัตราโทษชั้นสูงของมาตรา 335 (7) และ 336 วรรคแรกนั้นเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 5 ปี แต่มาตรา 335 (7) มีโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จึงมีบทลงโทษหนักกว่าต้องใช้มาตรา 335(7) เป็นบทลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ลักทรัพย์-วิ่งราวทรัพย์ ต้องใช้บทที่มีโทษหนักกว่าลงโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวยซึ่งหน้า การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(7) บทหนึ่ง และเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามมาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่ง กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90 ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยอัตราโทษชั้นสูงของมาตรา 335(7)และ 336 วรรคแรกนั้นเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน5 ปี แต่มาตรา335(7) มีโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จึงมีบทลงโทษหนักกว่าต้องใช้มาตรา 335(7) เป็นบทลงโทษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ลักทรัพย์-วิ่งราวทรัพย์: เลือกใช้บทลงโทษหนักที่สุด
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวย ซึ่งหน้า เป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 335(7) บทหนึ่งและเป็นการวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 90 ความผิดตาม มาตรา 336 วรรคแรกและมาตรา 335(7) มีอัตราโทษขั้นสูงเท่ากัน แต่มาตรา 335(7) มีโทษขั้นต่ำด้วย จึงต้องใช้มาตรา 335(7) เป็นบทลงโทษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทลงโทษและกำหนดโทษในคดีเด็กและเยาวชน มิใช่การลงโทษ จึงไม่ขัดต่อการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก,279 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนัก ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277วรรคแรก ประกอบกับมาตรา 80 ลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กรณีเป็นการแก้บทลงโทษและกำหนดโทษแม้จะเป็นการแก้ไขมากแต่การที่ศาลทั้งสองเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มิใช่การลงโทษ ถือมิได้ว่าศาลทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา29.
of 33