คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพจิตร วิเศษโกสิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้ากันในศาล: ผลผูกพันตามข้อตกลง เงื่อนไขการสาบาน และผลต่อคู่ความ
คู่ความท้ากันโดยตกลงเอาการสาบานของจำเลยและ ส.เป็นเงื่อนไข กล่าวคือถ้าบุคคลทั้งสองยอมสาบานโจทก์ก็ยอมรับตามข้ออ้างของจำเลยและยอมแพ้คดี แต่ถ้าบุคคลทั้งสองไม่ยอมสาบานจำเลยก็เป็นฝ่ายแพ้คดี ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับระหว่างคู่ความได้ ส่วนการสาบานตนของ ส.เป็นเพียงเงื่อนไขที่คู่กรณีกำหนดขึ้น การที่ ส.ไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการตกลงนั้น หาทำให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อจำเลยและส.ไปยังสถานที่กำหนดแล้ว แต่บุคคลทั้งสองไม่ยอมสาบาน จำเลยจึงต้องแพ้คดีตามคำท้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการยุติการสืบพยาน: ดุลพินิจและข้อจำกัดการฎีกา
อำนาจในการที่จะวินิจฉัยว่าพยานที่นำมาสืบแล้วเป็น อันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาล เมื่อศาลวินิจฉัย ว่าพยานที่นำสืบมาเพียงพอยุติได้แล้ว การที่จำเลยฎีกาว่า ยังไม่ควรยุติเพราะหากศาลเปิดโอกาสให้จำเลยสืบพยานอีก ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ก็จะกระจ่ายชัดขึ้น ทำให้การวินิจฉัยคดี จะได้รับความยุติธรรม จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาล อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการยุติการสืบพยาน: การโต้เถียงดุลพินิจศาลเป็นเหตุต้องห้ามมิให้ฎีกา
อำนาจในการที่จะวินิจฉัยว่าพยานที่นำมาสืบแล้วเป็น อันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาล เมื่อศาลวินิจฉัย ว่าพยานที่นำสืบมาเพียงพอยุติได้แล้ว การที่จำเลยฎีกาว่า ยังไม่ควรยุติเพราะหากศาลเปิดโอกาสให้จำเลยสืบพยานอีก ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ก็จะกระจ่ายชัดขึ้น ทำให้การวินิจฉัยคดี จะได้รับความยุติธรรม จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาล อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและการแก้ไขจำนวนเงินประกันโดยศาลฎีกา
คำสั่งศาลให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 253 เป็นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 228(2) ย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้โดยไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ก่อน
คดีมีทุนทรัพย์ 18,739,895.67 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 30,000 บาท ตามป.วิ.พ.มาตรา 253 ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อคำนึงถึงทุนทรัพย์ในคดีนี้แล้วเป็นจำนวนต่ำไป จึงให้โจทก์วางเงินประกันจำนวน 50,000บาท.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องค่าเสียหายชัดเจนเพียงพอหรือไม่ ศาลพิจารณาจากรายละเอียดความเสียหายที่ระบุในฟ้องและเอกสารประกอบ
ในคดีละเมิด โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายว่าสายไฟฟ้าแรงสูง สายเคเบิลโทรศัพท์ และอุปกรณ์โทรศัพท์ อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในชุมสายโทรศัพท์ของโจทก์ไหม้เสียหายเนื่องจากกระแสไฟลัดวงจร โจทก์ซ่อมแซมสายเคเบิลโทรศัพท์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จนใช้การได้ดังเดิม ปรากฏตามรายการค่าเสียหายในเอกสารท้ายฟ้องซึ่งมีรายการค่าเสียหายรวม 6 รายการ เป็นจำนวนเงินค่าเสียหายเท่ากับจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง ดังนี้ เป็นการบรรยายเกี่ยวกับความเสียหายเท่ากับจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง ดังนี้ เป็นการบรรยายเกี่ยวกับความเสียหายตลอดทั้งค่าเสียหายพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าโจทก์เสียหายอย่างไรค่าเสียหายเท่าใด ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี แต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางมีกำหนด 3 ปี คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวถือว่า มิได้เป็นการลงโทษจำเลยโดยจำคุกเกิน 5 ปีย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและฉ้อโกงประชาชนเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2511มาตรา 7,27 ฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต สาระสำคัญอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมาย จำเลยจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อใดก็เป็นความผิดสำเร็จ และถ้าการจัดหางานนั้นได้กระทำโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343ด้วย ย่อมถือว่าเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างหาก เพราะจำเลยมีเจตนาที่แยกต่างหากจากความผิดฐานแรก ดังนั้นแม้จำเลยจะได้กระทำดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511มาตรา 7,27 ฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต สาระสำคัญอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมาย จำเลยจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อใดก็เป็นความผิดสำเร็จ และถ้า การจัดหางานนั้นได้กระทำโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 ด้วย ย่อมถือว่าเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างหาก เพราะจำเลยมีเจตนาที่แยกต่างหากจากความผิดฐานแรกดังนั้นแม้จำเลยจะได้กระทำดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและฉ้อโกงประชาชนเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 มาตรา 7, 27 ฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต สาระสำคัญอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมาย จำเลยจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อใดก็เป็นความผิดสำเร็จ และถ้าการจัดหางานนั้นได้กระทำโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ด้วย ย่อมถือว่าเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างหาก เพราะจำเลยมีเจตนาที่แยกต่างหากจากความผิดฐานแรก ดังนั้นแม้จำเลยจะได้กระทำดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ขอถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุดเมื่อโจทก์ถอนฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ศาลย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ.(ที่มา-เนติ)
of 33