คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพจิตร วิเศษโกสิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้ออาคาร: กฎหมายวิธีสบัญญัติมีผลย้อนหลัง เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนก่อนสั่งรื้อ
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาต และแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างโดยมิได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติท้องถิ่นเสียก่อนที่จะมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารอย่างกฎหมายเดิมพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในส่วนซึ่งบัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่ง เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ จึงมีผลย้อนหลังไปใช้บังคับถึงการปลูกสร้างอาคารของจำเลยในปี พ.ศ. 2521 ด้วย ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว กลับมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทอันเป็นการปฏิบัติข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดและฟ้องคดีนี้ภายหลังจากประกาศใช้ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ถึง 3 ปี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทคดีนี้ได้ แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันเมื่อจำเลยหลบหนีและผิดสัญญาประกัน แม้จำเลยจะเสียชีวิตในภายหลัง
จำเลยซึห่งได้รับการปล่อยชั่วคราวหลบหนีไปเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ศาลจึงมีคำสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันครั้นปี พ.ศ. 2524 จำเลยก็เข้ามอบตัวต่อทางราชการ โดยผู้ประกันทราบดีว่าจำเลยพักอยู่ที่ใด แต่ผู้ประกันก็มิได้ขวนขวายที่จะนำตัวจำเลยมาส่งศาลหรือร้องขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับจำเลยส่งศาล จนกระทั่งจำเลยถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2527 ผู้ประกันจึงมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปรับผู้ประกันหรือลดค่าปรับ ดังนี้จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะลดค่าปรับให้ผู้ประกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันเมื่อจำเลยหลบหนีและกลายเป็นผู้ก่อการร้าย ศาลยืนค่าปรับ
จำเลยซึห่งได้รับการปล่อยชั่วคราวหลบหนีไปเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ศาลจึงมีคำสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันครั้นปี พ.ศ. 2524 จำเลยก็เข้ามอบตัวต่อทางราชการ โดยผู้ประกันทราบดีว่าจำเลยพักอยู่ที่ใด แต่ผู้ประกันก็มิได้ขวนขวายที่จะนำตัวจำเลยมาส่งศาลหรือร้องขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับจำเลยส่งศาล จนกระทั่งจำเลยถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2527 ผู้ประกันจึงมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปรับผู้ประกันหรือลดค่าปรับ ดังนี้จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะลดค่าปรับให้ผู้ประกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์และผู้ขนส่งในการสูญหายของสิ่งของฝากส่ง และขอบเขตความรับผิดตามกฎหมาย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสนบาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบินจำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งถุงไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกันโจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500 แฟรงก์ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้ แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 30
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของบริษัทขนส่งและไปรษณีย์ กรณีสิ่งของสูญหาย และการรับประกันภัย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสนบาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบินจำเลยที่ 2เป็นผู้ส่งถุงไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกันโจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500แฟรงก์ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้ แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ. 2477 มาตรา 30
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดไปรษณีย์, วงเงินประกันภัย, ผู้ขนส่งหลายทอด: ความรับผิดชอบค่าเสียหายสิ่งของสูญหาย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสน บาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบิน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งถุง ไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกัน โจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500 แฟรงก์ ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 30 การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามป.พ.พ. ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะ กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: พฤติการณ์ดัดแปลงสภาพรถเพื่อซ่อนแหล่งที่มาแสดงเจตนาทราบบริเวณที่มาของทรัพย์
พฤติการณ์ที่จำเลยรับรถจักรยานยนต์ของกลางไว้จากผู้อื่นแล้วเปลี่ยนแปลงสภาพของรถจากสีแดง แล้วใช้สีน้ำเงินพ่นทับไว้ทั้งยังเปลี่ยนแปลงแฮนด์ และกระบังลมใหม่เพื่อมิให้เจ้าของเดิม จำได้แล้วนำรถไปเก็บไว้ที่ที่พักของจำเลยโดยใช้ผ้าคลุมไว้อย่างมิดชิดในลักษณะซ่อนเร้น ย่อมแสดงชัด ว่าขณะจำเลยรับรถของกลางไว้ จำเลยต้องทราบดีว่าเป็นของร้ายที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์จำเลยมีความผิดฐานรับของโจร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนสภาพหนี้และอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 กรณีสัญญารับสภาพความรับผิด
จำเลยที่ 1 เบียดบังยักยอกเงินโจทก์ไปแล้วจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญารับสภาพความรับผิดยอมผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้เงินแก่โจทก์ เป็นการเปลี่ยนสภาพแห่งหนี้ซึ่งเป็นสาระสำคัญของหนี้เดิมการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ชดใช้เงินตามหนังสือสัญญาดังกล่าว ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนสภาพหนี้และการกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยที่ 1 เบียดบังยักยอกเงินโจทก์ไปแล้วจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญารับสภาพความรับผิดยอมผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้เงินแก่โจทก์ เป็นการเปลี่ยนสภาพแห่งหนี้ซึ่งเป็นสาระสำคัญของหนี้เดิมการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ชดใช้เงินตามหนังสือสัญญาดังกล่าว ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีจำนวนทุนทรัพย์น้อยกว่าสองหมื่นบาท เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม และศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
อุทธรณ์ที่มีเนื้อหาสาระเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว ก็เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 (1) ศาลฎีกาพิจารณาข้อฎีกาต่อไปไม่ได้
of 33