คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงไม่ฟ้องคดีแพ่งและอาญาไม่ครอบคลุมความผิดตามเช็คที่ออกชำระหนี้เดิม
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 54,600 บาท โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงกันไว้ที่สถานีตำรวจว่า จำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์โดย ออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้าสั่งจ่ายเงินตาม จำนวนหนี้แก่โจทก์ โจทก์ไม่ติดใจฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาครั้นเช็ค ถึง กำหนด จำเลยนำเงิน5,000 บาทไปชำระหนี้แก่โจทก์ และได้ ออกเช็ค พิพาทชำระหนี้ส่วนที่เหลือมอบให้โจทก์ไว้ แต่ สั่งจ่ายเงินขาดไป 1,000 บาท โดย รับรองว่าจะชำระให้โจทก์ในคราวหน้า ครั้นวันเช็ค พิพาทถึง กำหนด จำเลยนำเงินไปชำระแก่โจทก์ 2,000 บาท เป็นการชำระเงินที่ขาดอยู่ 1,000 บาทและให้ค่าเสียหายแก่โจทก์อีก 1,000 บาท ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตาม เช็ค พิพาท ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ถือ ไม่ ได้ว่าเป็นการยอมความในกรณีความผิดตาม เช็ค พิพาทซึ่ง จำเลยออกชำระหนี้แก่โจทก์แทนเช็ค ฉบับ จำนวน เงิน 54,600 บาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทหุ้นส่วน: สิทธิเรียกร้องเงินยังไม่เกิดเมื่อห้างหุ้นส่วนไม่เสร็จและไม่มีกำไร จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เช็คพิพาทจำเลยออกให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันโดยมุ่งหมายให้เป็นประกันในการคืนทุนเมื่อเสร็จการของห้างหุ้นส่วนและเมื่อมีผลกำไร แต่กลับปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จการตามกำหนดและยังไม่มีผลกำไร เช่นนี้โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็ค การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทห้างหุ้นส่วน: สิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คเกิดขึ้นเมื่อห้างหุ้นส่วนมีผลกำไรและเสร็จสิ้นการตามสัญญา
เช็คพิพาทจำเลยออกให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันโดยมุ่งหมายให้เป็นประกันในการคืนทุนเมื่อเสร็จการของห้างหุ้นส่วนและเมื่อมีผลกำไร แต่กลับปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จการตามกำหนดและยังไม่มีผลกำไรเช่นนี้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็ค การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนลงทุนค้าขายเช็คชำระหนี้: เช็คเป็นประกันคืนทุน ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์จำเลยตกลง เข้า หุ้นส่วนกันประกอบกิจการค้าขายโทรศัพท์โจทก์เป็นผู้ลงทุนด้วย เงิน จำเลยลงทุนด้วย แรง จำเลยได้ออกเช็ค สั่งจ่ายเงินเท่ากับจำนวนค่าหุ้นทั้งหมดมอบให้แก่โจทก์ไว้ต่อมาจึงเปลี่ยนเช็ค พิพาทให้โจทก์แทน ถึง กำหนดชำระเงินตาม เช็คโจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปถึง 5-6 เดือน แสดงว่าโจทก์ทราบถึงฐานะ ของจำเลยดี ว่าไม่ สามารถใช้ เงินตาม เช็ค ได้ ประกอบกับโทรศัพท์ที่ลงทุนซื้อ มาก็ยังขายไม่ได้ ดังนี้เช็ค พิพาทจึงเป็นเพียงเช็ค ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วย กันโดย มุ่งหมายให้เป็นประกันในการคืนทุนเมื่อเสร็จการของห้างหุ้นส่วนและเมื่อมีผลกำไรปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จการตาม กำหนดและยังไม่มีผลกำไรเช่นนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตาม เช็ค พิพาทการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยทนายจำเลยมีอำนาจ ทำให้สิทธิฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลงกันได้และต่างแถลงร่วมกันว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้วส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลงกันโดยจำเลยจะออกเช็คเงินสดให้โจทก์ไว้ โจทก์รับว่าเมื่อได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แล้ว โจทก์จะคืนเช็คอีก2 ฉบับที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลย และโจทก์จะถอนฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว ทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสองและมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์แล้ว จึงมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความระหว่างพิจารณาคดีอาญา: ผลผูกพันโจทก์และสิทธิในการฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลงกันได้และต่างแถลงร่วมกันว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้ว ส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลงกันโดยจำเลยจะออกเช็คเงินสดให้โจทก์ไว้ โจทก์รับว่าเมื่อได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แล้วโจทก์จะคืนเช็คอีก 2 ฉบับที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลยและโจทก์จะถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว ทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้องดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสองและมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์แล้ว จึงมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอม ย่อมผูกพันโจทก์ ทำให้สิทธิฟ้องอาญาดับไป
ระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลง กันได้ และต่าง แถลงต่อ ศาลร่วมกันว่าจำเลยได้ ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้วส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลง กันโดย จำเลยจะออกเช็ค เงินสดให้โจทก์ไว้ ทนายโจทก์แถลงว่าเมื่อได้ รับเงินตาม เช็ค ที่จำเลยออกให้แล้วโจทก์จะคืนเช็ค เดิม ที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลย และโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึง วันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ ชำระหนี้ตาม เช็ค แล้วทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่ โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสอง และมีผลผูกพันโจทก์การที่ทนายโจทก์แถลงต่อหน้าศาลว่าจะถอนฟ้องไม่ ดำเนินคดีแก่จำเลยและเมื่อโจทก์ได้ รับเงินตาม เช็ค ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ ต่อมาทนายโจทก์ได้ ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ ชำระหนี้ตาม เช็ค นั้นแล้ว โจทก์มีหน้าที่ถอนฟ้อง และมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอม ย่อมผูกพันโจทก์ สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลงกันได้และต่างแถลงร่วมกันว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้ว ส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลงกันโดยจำเลยจะออกเช็คเงินสดให้โจทก์ไว้ โจทก์รับว่าเมื่อได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แล้ว โจทก์จะคืนเช็คอีก2 ฉบับที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลย และโจทก์จะถอนฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว ทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสองและมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์แล้ว จึงมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายและความเสี่ยงต่อการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่าสแตนเล่ย์ อีกแบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอยู่ด้านบนตัวอักษรไทยอยู่ด้านล่างทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรไทยอ่านว่า สแตนเล่ย์ทั้งสองแบบอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปคล้ายใบมีดโกน ตัวอักษรสีโปร่ง แต่กรอบสีทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันอ่านว่า แสตนอัพ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม รูปร่างคล้ายไม้นวดแป้ง ตัวอักษรสีทึบ ส่วนกรอบสี่เหลี่ยมสีโปร่งเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตัวอักษรอยู่ติดกันทั้งหมด ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตัวอักษรแยกกันเป็นสองส่วน คือคำว่าแสตนกับคำว่า อัพ อยู่ห่างกัน เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะแตกต่างกันทั้งตัวอักษร สี และกรอบ คำว่า สแตนเล่ย์เป็นชื่อเฉพาะไม่มีความหมาย ส่วนคำว่าแสตนอัพ นั้น เป็นภาษาอังกฤษแปลว่ายืนขึ้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชนได้ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่าสแตนเล่ย์ อีกแบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอยู่ด้านบนตัวอักษรไทยอยู่ด้านล่างทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรไทยอ่านว่า สแตนเล่ย์ทั้งสองแบบอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปคล้ายใบมีดโกน ตัวอักษรสีโปร่ง แต่กรอบสีทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันอ่านว่า แสตนอัพ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมรูปร่างคล้ายไม้นวดแป้งตัวอักษรสีทึบ ส่วนกรอบสี่เหลี่ยมสีโปร่ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตัวอักษรอยู่ติดกันทั้งหมด ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตัวอักษรแยกกันเป็นสองส่วน คือคำว่า แสตนกับคำว่าอัพ อยู่ห่างกันเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะแตกต่างกันทั้งตัวอักษร สี และกรอบ คำว่า สแตนเล่ย์เป็นชื่อเฉพาะไม่มีความหมาย ส่วนคำว่า แสตนอัพ นั้น เป็นภาษาอังกฤษแปลว่ายืนขึ้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคือ เครื่องหมายการค้าของโจทก์
of 10