พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: สัญญาจ้างแรงงาน vs. ละเมิด - การฟ้องเรียกร้องความรับผิดจากลูกจ้างที่บกพร่องต่อหน้าที่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลให้พนักงานการเงินนำค่าโดยสารเก็บเข้าตู้เซฟ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลพนักงานการเงินแทนจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ จำเลยทั้งสองไม่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นเหตุให้พนักงานการเงินยักยอกเงินค่าโดยสารของโจทก์ไป ทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองบกพร่องต่อหน้าที่อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานในการควบคุมดูแลพนักงานการเงินมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาปรับแก่คดีไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: สัญญาจ้างแรงงาน vs. ละเมิด - การฟ้องผิดหน้าที่ลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1เป็นหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลให้พนักงานการเงินนำค่าโดยสารเก็บเข้าตู้เซฟ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานการเงินมีหน้าที่ ควบคุมดูแลพนักงานการเงินแทนจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ จำเลยทั้งสองไม่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่เป็นเหตุให้พนักงานการเงินยักยอกเงินค่าโดยสารของโจทก์ไปทำให้ โจทก์เสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองบกพร่องต่อหน้าที่อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานในการควบคุมดูแลพนักงานการเงิน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาปรับแก่คดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนลูกจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นตามประกาศ มท. หากเกี่ยวข้องกับสัญญาจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 30 ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง คำว่า "หนี้อื่น" นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แม้โจทก์จะเสียเงินค่าเช่าเดือนละ 300 บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากค่าจ้างลูกจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 30ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างคำว่า "หนี้อื่น" นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฎิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยแม้โจทก์จะเสียค่าเช่าเดือนละ 300 บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฎิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่ หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่ จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากค่าจ้างลูกจ้าง: หนี้ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานไม่ใช่ 'หนี้อื่น' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 30 ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง คำว่า 'หนี้อื่น' นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แม้โจทก์จะเสียเงินค่าเช่าเดือนละ 300บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ และประเด็นอำนาจฟ้องที่ยุติแล้ว
เดิม อ.และพ. เป็นหนี้โจทก์ตามเช็คและสัญญากู้ยืมเงินการที่จำเลยทั้งสองยอมรับผิดในหนี้ดังกล่าวโดยทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยทั้งสองต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้ยืมต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เพื่อปฏิเสธไม่ยอมรับผิดตามสัญญากู้ไม่ได้
เดิมศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความ จำเลยฎีกา แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับเพราะจำเลยไม่เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ชั้นฎีกา ถือได้ว่าจำเลยไม่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยไม่อาจฎีกาในข้อนี้อีกได้.
เดิมศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความ จำเลยฎีกา แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับเพราะจำเลยไม่เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ชั้นฎีกา ถือได้ว่าจำเลยไม่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยไม่อาจฎีกาในข้อนี้อีกได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ การรับผิดในหนี้เดิมและหนี้ใหม่
เดิม อ.และพ. เป็นหนี้โจทก์ตามเช็คและสัญญากู้ยืมเงินการที่จำเลยทั้งสองยอมรับผิดในหนี้ดังกล่าวโดยทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยทั้งสองต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้ยืมต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เพื่อปฏิเสธไม่ยอมรับผิดตามสัญญากู้ไม่ได้ เดิมศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความ จำเลยฎีกา แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับเพราะจำเลยไม่เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ชั้นฎีกาถือได้ว่าจำเลยไม่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยไม่อาจฎีกาในข้อนี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ และอำนาจฟ้องคดี
เดิม อ. และ พ. เป็นหนี้โจทก์ตามเช็คและสัญญากู้ยืมเงินการที่จำเลยทั้งสองยอมรับผิดในหนี้ดังกล่าวโดยทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยทั้งสองต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้ยืมต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เพื่อปฏิเสธไม่ยอมรับผิดตามสัญญากู้ไม่ได้
เดิมศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความ จำเลยฎีกา แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับเพราะจำเลยไม่เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ชั้นฎีกา ถือได้ว่าจำเลยไม่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยไม่อาจฎีกาในข้อนี้อีกได้
เดิมศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความ จำเลยฎีกา แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับเพราะจำเลยไม่เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ชั้นฎีกา ถือได้ว่าจำเลยไม่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยไม่อาจฎีกาในข้อนี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าก่อน และข้อยกเว้นการฟ้องซ้ำตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
ชั้นแรกโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า'AQUAFRESH' ออกเสียงว่า แอควาเฟรช แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนไว้แล้ว การโต้เถียงกันในชั้นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือไม่ เมื่อโจทก์ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว โจทก์จะนำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องต่อศาลอีกไม่ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา22 แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้วเป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: อำนาจฟ้องเมื่ออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว และสิทธิในเครื่องหมายการค้า
ชั้นแรกโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"Aquafresh" ออกเสียงว่า แอควาเฟรช แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนไว้แล้ว การโต้เถียงกันในชั้นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือไม่ เมื่อโจทก์ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว โจทก์จะนำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องต่อศาลอีกไม่ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 22 แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง