พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าก่อน และข้อยกเว้นการฟ้องซ้ำตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
ชั้นแรกโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า'AQUAFRESH' ออกเสียงว่า แอควาเฟรช แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนไว้แล้ว การโต้เถียงกันในชั้นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือไม่ เมื่อโจทก์ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว โจทก์จะนำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องต่อศาลอีกไม่ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา22 แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้วเป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานและอายุความฟ้องคดีจากความเสียหายจากการขับรถของลูกจ้าง
โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดในคดีนี้รวมกับข้อหาอื่นที่ศาลแพ่ง และอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า ข้อหาที่โจทก์ฟ้องคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสองโจทก์จึงแยกข้อหาคดีนี้มาฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ขับรถของโจทก์ด้วยความประมาทชนท้ายรถโดยสารประจำทางเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เช่นนี้เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนครบกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ขับรถของโจทก์ด้วยความประมาทชนท้ายรถโดยสารประจำทางเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เช่นนี้เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนครบกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเปลี่ยนเวรงานและลงเวลาทำงาน: ไม่ถือเป็นการทุจริตหรือละทิ้งหน้าที่หากมีสิทธิได้รับค่าจ้าง
โจทก์เป็นยามรักษาความปลอดภัยของจำเลยมิได้เข้าเวรตามวันเวลาที่กำหนด แต่โจทก์ได้ตกลงแลกเปลี่ยนเวรกับผู้อื่นแล้ว และโจทก์ลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานเพื่อเบิกค่าจ้างก็โดยเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะได้รับค่าจ้างดังนี้ การกระทำของโจทก์ยังไม่ถึงกับเป็นการละทิ้งหน้าที่และลงเวลาทำงานอันเป็นเท็จโดยทุจริต ไม่เป็นการกระทำผิดร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเปลี่ยนเวรและลงเวลาทำงาน: ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่หรือทุจริต
โจทก์เป็นยามรักษาความปลอดภัยของจำเลยมิได้เข้าเวรตามวัน เวลาที่กำหนด แต่โจทก์ได้ตกลงแลกเปลี่ยนเวรกับผู้อื่นแล้ว และโจทก์ลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานเพื่อเบิกค่าจ้างก็โดยเข้าใจว่าตน มีสิทธิจะได้รับค่าจ้างดังนี้ การกระทำของโจทก์ยังไม่ถึงกับเป็นการละทิ้งหน้าที่และลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานเพื่อเบิกค่าจ้างก็โดยเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะได้ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเปลี่ยนเวรยามและการลงเวลาทำงาน: การกระทำไม่ถึงขั้นเป็นการทุจริตและร้ายแรง
โจทก์เป็นยามรักษาความปลอดภัยของจำเลยมิได้เข้าเวรตามวันเวลาที่กำหนด แต่โจทก์ได้ตกลงแลกเปลี่ยนเวรกับผู้อื่นแล้ว และโจทก์ลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานเพื่อเบิกค่าจ้างก็โดยเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะได้รับค่าจ้างดังนี้ การกระทำของโจทก์ยังไม่ถึงกับเป็นการละทิ้งหน้าที่และลงเวลาทำงานอันเป็นเท็จโดยทุจริต ไม่เป็นการกระทำผิดร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเงินทดแทนแรงงาน: การฟ้องกรมแรงงานหลังพ้น 30 วันจากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทำให้ขาดอายุความ
บ. ลูกจ้างจำเลยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นภริยาของ บ. ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสำนักงานแรงงานจังหวัดปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนคณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ทราบผลการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529 ดังนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 25 กำหนดว่าถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางหมายเรียกกรมแรงงานเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529 ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ฟ้องกรมแรงงานในวันที่ 18 กันยายน นั้นเอง ถือได้ว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเงินทดแทนแรงงาน: การนับระยะเวลาจากวันที่ทราบผลอุทธรณ์
บ.ลูกจ้างจำเลยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นภริยาของ บ. ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสำนักงานแรงงานจังหวัดปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทน โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน คณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ทราบผลการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529ดังนี้ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 25 กำหนดว่าถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางหมายเรียกกรมแรงงานเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ฟ้องกรมแรงงานในวันที่ 18 กันยายน นั้นเองถือได้ว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเงินทดแทนแรงงาน: การฟ้องกรมแรงงานต้องภายใน 30 วันนับจากวันที่ทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์
บ. ลูกจ้างจำเลยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นภริยาของ บ. ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสำนักงานแรงงานจังหวัดปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนคณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ทราบผลการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529 ดังนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 25 กำหนดว่าถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางหมายเรียกกรมแรงงานเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529 ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ฟ้องกรมแรงงานในวันที่ 18 กันยายน นั้นเอง ถือได้ว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดทรัพย์-สิทธิเรียกร้อง: ศาลต้องไต่สวนเมื่อจำเลยร่วมโต้แย้งหนี้และสิทธิ
ในชั้นบังคับคดี จำเลยร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยื่นคำร้องคัดค้านว่า ศาลแรงงานกลางมิได้ออกหมายอายัดส่งไปยังจำเลยร่วม จำเลยร่วมได้ใช้สิทธิตามข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญารับจ้างเหมาที่จำเลยร่วมเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยเป็นผู้รับจ้างที่จะหักเงินค่าจ้างตามที่โจทก์ลูกจ้างขออายัดนำไปจ่ายให้แก่ลูกจ้างของจำเลยคือโจทก์แล้ว และจำเลยร่วมได้แจ้งการใช้สิทธิดังกล่าวให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิการเรียกร้องเงินค่าจ้างทราบด้วย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้จากจำเลยร่วม เช่นนี้คำร้องคัดค้านของจำเลยร่วมดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยร่วมได้รับคำสั่งอายัดทรัพย์ปฏิเสธโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องและต่อสู้กับโจทก์อันเป็นการโต้แย้งหนี้ที่เรียกเอาแก่ตน หาใช่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ร้องเท่านั้นไม่ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องคัดค้านของจำเลยร่วมโดยมิได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 ก่อน ถือได้ว่ามิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำสั่งตามมาตรา243 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาย่อมยกคำสั่งศาลแรงงานกลาง และให้รับคำร้องคัดค้านของจำเลยร่วมไว้ดำเนินการไต่สวนแล้วพิจารณาพิพากษาต่อไปตามรูปคดี.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน ต้องนำมารวมคำนวณเงินบำเหน็จ
แม้ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า 'เงินเดือน' หรือ 'ค่าจ้าง'หมายถึงเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเป็นรายเดือนหรือรายวันเพื่อตอบแทนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส หรือประโยชน์อย่างอื่นก็ตาม เมื่อได้ความว่านายจ้างได้จ่ายค่าครองชีพให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน ซึ่งถือว่าเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง หาใช่ประโยชน์อย่างอื่นตามข้อบังคับดังกล่าวไม่ นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานในการคำนวณบำเหน็จเพื่อจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามที่ลูกจ้างมีสิทธิตามข้อบังคับด้วย.