พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานหย่อนสมรรถภาพจากการลาป่วยบ่อยครั้ง แม้ข้อบังคับไม่ได้ระบุเป็นเหตุเลิกจ้างโดยตรง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานขับรถ โจทก์ได้ลาป่วยในรอบปีงบประมาณ 2530 เป็นเวลาถึง 34 วัน โดยลาป่วยเป็นประจำทุกเดือนแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถตรากตรำทำงานหนักในหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถได้ทั้งจำเลยก็เคยมีหนังสือเตือนโจทก์มาแล้วถึง 2 ครั้ง แต่โจทก์ก็ยังคงลาป่วยอีก ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนทางวินัยต้องชัดเจนและเฉพาะเจาะจง การเลิกจ้างโดยอ้างซ้ำคำเตือนกว้างๆ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของนายจ้างที่ลงโทษและภาคทัณฑ์ลูกจ้างระบุว่าลูกจ้างทำผิดวินัย และมีคำเตือนว่าหากลูกจ้างกระทำผิดวินัยข้อใดอีก นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่คำสั่งดังกล่าวมิได้ระบุว่าลูกจ้างกระทำการใดที่ถือว่าเป็นการผิดวินัย ทั้งได้ระบุข้อวินัยที่อ้างว่าลูกจ้างทำผิดไว้ถึง 5 ข้อ เช่นนี้ จึงเป็นการเตือนที่กว้างเกินไป ลูกจ้างย่อมไม่อาจทราบและปรับปรุงตนเองเพื่อมิให้กระทำผิดซ้ำคำเตือนนี้ได้ นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนดังกล่าวและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47 (3) มิได้
ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือ ได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือ ได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนการลงโทษทางวินัยต้องชัดเจนเฉพาะเจาะจง การเลิกจ้างโดยอ้างผิดซ้ำคำเตือนกว้างๆ ไม่ชอบ
คำสั่งของนายจ้างที่ลงโทษและภาคทัณฑ์ลูกจ้างระบุว่าลูกจ้างทำผิดวินัย และมีคำเตือนว่าหากลูกจ้างกระทำผิดวินัยข้อใดอีก นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่คำสั่งดังกล่าวมิได้ระบุว่าลูกจ้างกระทำการใดที่ถือว่าเป็นการผิดวินัย ทั้งได้ระบุข้อวินัยที่อ้างว่าลูกจ้างทำผิดไว้ถึง 5 ข้อ เช่นนี้ จึงเป็นการเตือนที่กว้างเกินไป ลูกจ้างย่อมไม่อาจทราบและปรับปรุงตนเองเพื่อมิให้กระทำผิดซ้ำคำเตือนนี้ได้ นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนดังกล่าวและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47(3) มิได้
ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือ ได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.
ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือ ได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนทางวินัยต้องระบุการกระทำผิดชัดเจน การเลิกจ้างโดยอ้างผิดซ้ำจึงไม่ชอบ หากแต่การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็เป็นเหตุเลิกจ้างได้
คำสั่งของนายจ้างที่ลงโทษและภาคทัณฑ์ลูกจ้างระบุว่าลูกจ้างทำผิดวินัย และมีคำเตือนว่าหากลูกจ้างกระทำผิดวินัยข้อใดอีกนายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่คำสั่งดังกล่าวมิได้ระบุว่าลูกจ้างกระทำการใดที่ถือว่าเป็นการผิดวินัย ทั้งได้ระบุข้อวินัยที่อ้างว่าลูกจ้างทำผิดไว้ถึง 5 ข้อ เช่นนี้ จึงเป็นการเตือนที่กว้างเกินไป ลูกจ้างย่อมไม่อาจทราบและปรับปรุงตนเองเพื่อมิให้กระทำผิดซ้ำคำเตือนนี้ได้ นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนดังกล่าวและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) มิได้ ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีแทนกันได้ในคดีแรงงาน: การเบิกความแทนโจทก์อื่นย่อมถือว่าเป็นการนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์นั้น
แม้โจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 มิได้มาเบิกความต่อศาล แต่โจทก์ทั้งสองได้แต่งตั้งโจทก์ที่ 1 เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีกระบวนพิจารณาใดที่โจทก์ที่ 1 กระทำต่อศาลหรือต่อจำเลยจึงถือว่าโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 กระทำต่อศาลและต่อจำเลยแล้วเช่นกัน คดีนี้โจทก์ที่ 1 ได้มาเบิกความต่อศาลและเบิกความถึงฐานะของโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ว่า โจทก์ที่ 4และโจทก์ที่ 6 มีวันเข้าทำงานตำแหน่งหน้าที่ อัตราเงินเดือนและวันออกจากงานตามที่ระบุไว้ตามบัญชีท้ายฟ้อง และเบิกความว่า โจทก์ทั้งสองถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด ดังนี้จึงถือได้ว่า โจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 โดยโจทก์ที่ 1 ได้นำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นข้อพิพาทตามหน้าที่ของโจทก์ที่4 และโจทก์ที่ 6 แล้ว โดยหาต้องมาเบิกความด้วยตนเองไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานจากสำนวนคดีอาญาในคดีแพ่ง และการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตโดยไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์เบิกความในคดีแพ่งว่า โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่7 เป็นคดีอาญา ข้อหาหมิ่นประมาทและความผิดต่อเจ้าพนักงานต่อศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกับปัญหาในคดีนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและเสียค่าอ้างเอกสารครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์ไม่ได้เรียกสำนวนนั้นมาประกอบการพิจารณา แต่จำเลยได้ส่งคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวต่อศาลก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา สำนวนคดีอาญาจึงเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2) ศาลรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนนั้นประกอบการพิจารณาได้
เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า ศาลฎีกาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนอาญาแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่7 ซึ่งเป็นจำเลยรายเดียวกับจำเลยในคดีส่วนอาญา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็เป็นอย่างเดียวกันดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เป็นพนักงานโรงพยาบาลที่โจทก์เป็นผู้อำนวยการได้ทำบันทึกและให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาค และคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยไปตามที่จำเลยได้รู้เห็นในฐานะที่ทำงานร่วมโรงพยาบาลเดียวกับโจทก์หรือเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยด้วยตนเองว่าโจทก์ทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการ ซึ่งต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 ได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความจริงโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือตามวิสัยของการติชม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า ศาลฎีกาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนอาญาแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่7 ซึ่งเป็นจำเลยรายเดียวกับจำเลยในคดีส่วนอาญา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็เป็นอย่างเดียวกันดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เป็นพนักงานโรงพยาบาลที่โจทก์เป็นผู้อำนวยการได้ทำบันทึกและให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาค และคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยไปตามที่จำเลยได้รู้เห็นในฐานะที่ทำงานร่วมโรงพยาบาลเดียวกับโจทก์หรือเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยด้วยตนเองว่าโจทก์ทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการ ซึ่งต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 ได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความจริงโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือตามวิสัยของการติชม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและการพิจารณาคำพิพากษาคดีอาญาเป็นหลักฐานในคดีแพ่ง
โจทก์เบิกความในคดีแพ่งว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นคดีอาญา ข้อหาหมิ่นประมาทและความผิดต่อเจ้าพนักงานต่อศาลชั้นต้นข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกับปัญหาในคดีนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและเสียค่าอ้างเอกสารครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์ไม่ได้เรียกสำนวนนั้นมาประกอบการพิจารณาแต่จำเลยได้ส่งคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวต่อศาลก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา สำนวนคดีอาญาจึงเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)ศาลรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนนั้นประกอบการพิจารณาได้ เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า ศาลฎีกาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนอาญาแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นจำเลยรายเดียวกับจำเลยในคดีส่วนอาญา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็เป็นอย่างเดียวกัน ดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46โดยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เป็นพนักงานโรงพยาบาลที่โจทก์เป็นผู้อำนวยการได้ทำบันทึกและให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาคและคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยไปตามที่จำเลยได้รู้เห็นในฐานะที่ทำงานร่วมโรงพยาบาลเดียวกับโจทก์หรือเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยด้วยตนเองว่าโจทก์ทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการซึ่งต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 ได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความจริงโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือตามวิสัยของการติชม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจดทะเบียนราษฎร: การปฏิเสธของนายทะเบียนถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นนายทะเบียนอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติ การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 5,35 ในการจัดทำทะเบียนคนทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอ และแก้ทะเบียนคนให้ถูกต้องเมื่อมีการเพิ่มลดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าในกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้านเกี่ยวกับสัญชาติจะให้นายทะเบียนอำเภอสอบสวนพยานหลักฐานแล้วเสนอตามลำดับชั้นเพื่อให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติตามกฎกระทรวงก็ตามแต่การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะดำเนินการไป ดังนี้การที่จำเลยปฏิเสธไม่ดำเนินการจดทะเบียนราษฎรให้โจทก์มีสัญชาติไทยตามที่โจทก์ร้องขอ จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายทะเบียนในการจดทะเบียนสัญชาติและการมีอำนาจฟ้องของโจทก์
จำเลยเป็นนายทะเบียนอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 5, 35 ในการจัดทำทะเบียนคนทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอ และแก้ทะเบียนคนให้ถูกต้องเมื่อมีการเพิ่มลดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าในกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้านเกี่ยวกับสัญชาติ จะให้นายทะเบียนอำเภอสอบสวนพยานหลักฐานแล้วเสนอตามลำดับชั้น เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติตามกฎกระทรวงก็ตาม แต่การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรดังกล่าว อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะดำเนินการไป ดังนี้การที่จำเลยปฏิเสธไม่ดำเนินการจดทะเบียนราษฎรให้โจทก์มีสัญชาติไทยตามที่โจทก์ร้องขอ จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายทะเบียนและการฟ้องร้องกรณีปฏิเสธจดทะเบียนสัญชาติ
จำเลยเป็นนายทะเบียนอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 5,35 ในการจัดทำทะเบียนคนทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอ และแก้ทะเบียนคนให้ถูกต้องเมื่อมีการเพิ่มลดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าในกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้านเกี่ยวกับสัญชาติ จะให้นายทะเบียนอำเภอสอบสวนพยานหลักฐานแล้วเสนอตามลำดับชั้น เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติตามกฎกระทรวงก็ตาม แต่การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรดังกล่าว อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะดำเนินการไป ดังนี้การที่จำเลยปฏิเสธไม่ดำเนินการจดทะเบียนราษฎรให้โจทก์มีสัญชาติไทยตามที่โจทก์ร้องขอ จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย.