คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำนง นิยมวิภาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าสินไหมทดแทนจากละเมิด, ข้อจำกัดการฎีกา, และขอบเขตความรับผิดชอบในกรณีบาดเจ็บ/เสียชีวิต
ในคดีฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการละเมิด โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ปรากฏว่าโจทก์ที่ 15 ที่ 17 ที่ 19 และที่ 21 แต่ละคนเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248
จำเลยอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์เคยสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ในข้อดังกล่าวมาแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยหาอาจฎีกาต่อไปได้ไม่
การทนทุกข์ทรมานบังเกิดขึ้นจากสภาพร่างกายและจิตใจผิดปกติหรือเสื่อมสุขภาพอนามัย ทำให้หย่อนสมรรถภาพในการศึกษาและในการประกอบอาชีพหรือทำให้ทางทำมาหาได้ลดน้อยลงกว่าปกติและการมีรอยแผลเป็นติดตัวหรือกรณีของโจทก์ที่ 9 ได้รับบาดเจ็บข้อเท้าขวาพิการทำให้เส้นประสาทขาขาดและขาลีบซึ่งพอถือได้ว่ามีรอยแผลเป็นติดตัวนั้น เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่เป็นตัวเงิน และไม่ซ้ำซ้อนกับค่าสินไหมทดแทนในกรณีอื่น ทั้งการทนทุกข์ทรมานหรือเสื่อมสุขภาพอนามัยและการมีรอยแผลเป็นติดตัวเป็นผลโดยตรงแห่งการละเมิดของจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยผู้กระทำละเมิดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา444 และ 446
การได้รับบาดเจ็บจนเป็นเหตุให้ต้องพักการศึกษาเล่าเรียนไม่มีกฎหมายในเรื่องละเมิดให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การทะเลาะวิวาทส่วนตัวไม่ถึงขั้นร้ายแรง
ลูกจ้างมีเรื่องด่าและทำร้ายภริยาของลูกจ้างในสถานที่ทำการของนายจ้าง การที่ลูกจ้างไม่ยอมเชื่อฟังและแสดงกิริยาไม่เคารพผู้บังคับบัญชาก็เนื่องจากการทะเลาะกับภริยาอันเป็นเรื่องส่วนตัวที่เกิดจากความหึงหวงเพราะภริยาไม่กลับบ้านและลูกจ้างไม่พอใจที่มีผู้อื่นมาห้ามปราม การกระทำดังนี้ยังไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และไม่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ส่วนการที่ผู้บังคับบัญชาห้ามปรามลูกจ้างนั้นก็ไม่ใช่เป็นคำสั่งที่มีกิจจะลักษณะแต่อย่างใด คงมีความประสงค์เพียงให้ลูกจ้างกับภริยาเลิกทะเลาะวิวาทกันเท่านั้นการที่ลูกจ้างไม่เชื่อฟังจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันจะเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทะเลาะกับภริยาในที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการประพฤติชั่วร้ายแรง หรือจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
ลูกจ้างมีเรื่องด่าและทำร้ายภริยาของลูกจ้างในสถานที่ทำการของนายจ้าง การที่ลูกจ้างไม่ยอมเชื่อฟังและแสดงกิริยาไม่เคารพผู้บังคับบัญชาก็เนื่องจากการทะเลาะกับภริยาอันเป็นเรื่องส่วนตัวที่เกิดจากความหึงหวงเพราะภริยาไม่กลับบ้านและลูกจ้างไม่พอใจที่มีผู้อื่นมาห้ามปราม การกระทำดังนี้ยังไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และไม่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ส่วนการที่ผู้บังคับบัญชาห้ามปรามลูกจ้างนั้นก็ไม่ใช่เป็นคำสั่งที่มีกิจจะลักษณะแต่อย่างใด คงมีความประสงค์เพียงให้ลูกจ้างกับภริยาเลิกทะเลาะวิวาทกันเท่านั้นการที่ลูกจ้างไม่เชื่อฟังจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันจะเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำร้ายคู่สมรสในที่ทำงาน ไม่ถึงขั้นร้ายแรงพอที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีเรื่องด่าและทำร้ายภริยาของตนในสถานที่ทำการของนายจ้าง การที่ลูกจ้างไม่ยอมเชื่อฟังและแสดงกิริยาไม่เคารพผู้บังคับบัญชาก็เนื่องจากการทะเลาะกับภริยาอันเป็นเรื่องส่วนตัวยังไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และไม่เป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ส่วนการที่ผู้บังคับบัญชาห้ามปรามลูกจ้างนั้น ก็ไม่เป็นคำสั่งที่มีกิจจะลักษณะแต่อย่างใด คงมีความประสงค์เพียงให้ลูกจ้างกับภริยาเลิกทะเลาะวิวาทกันเท่านั้น การที่ลูกจ้างไม่เชื่อฟังจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันจะเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางเรื่องการงดสืบพยาน เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงบันทึกคำแถลงของคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณารวบรัด ฝ่าฝืนมาตรา 31 และ 39 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อนุญาตอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีแรงงาน และยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ให้คืนเงินประกัน
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงบันทึกคำแถลงของคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณารวบรัด ฝ่าฝืนมาตรา 31 และ 39 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด: การขยายอายุความเมื่อศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีอำนาจพิจารณา และการฟ้องคดีใหม่ต่อศาลที่มีอำนาจ
โจทก์รู้ถึงการละเมิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 และได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดรายนี้ต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2528 ภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2529 เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง จึงเป็นกรณีอายุความฟ้องร้องดังกล่าวได้สิ้นไปในระหว่างพิจารณาของศาลแพ่ง ต้องขยายอายุความนั้นออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษาของศาลแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การขยายอายุความเมื่อศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์รู้ถึงการละเมิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 และได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดรายนี้ต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน2528 ภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 ศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2529เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง จึงเป็นกรณีอายุความฟ้องร้องดังกล่าวได้สิ้นไปในระหว่างพิจารณาของศาลแพ่งต้องขยายอายุความนั้นออกไปถึงหกเดือน ภายหลังคำพิพากษาของศาลแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องในคดีละเมิด: การขยายอายุความเมื่อคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล
โจทก์รู้ถึงการละเมิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 และได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดรายนี้ต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2528ภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2529 เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง จึงเป็นกรณีอายุความฟ้องร้องดังกล่าวได้สิ้นไปในระหว่างพิจารณาของศาลแพ่ง ต้องขยายอายุความนั้นออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษาของศาลแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญาชดใช้ทุนรัฐบาล ศาลใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายตามความเสียหายที่แท้จริง
เบี้ยปรับถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายจำนวนหนึ่ง อันอาจมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ทั้งคู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญาเพื่อให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามนั้น ฉะนั้นศาลจึงอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญานั้นลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 77