พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4630/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกปลูกอาคารในที่ดินของตนเอง ไม่กระทบสิทธิใช้ทางสาธารณะของผู้อื่น ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยปลูกสร้างอาคารใหม่ตามแนวอาคารเดิมซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลย มิใช่ปลูกสร้างลงในซอยสาธารณะ จึงมิได้เป็นการรบกวนขัดขวางแก่การที่โจทก์จะใช้ซอยสาธารณะ การใช้ทรัพย์ของจำเลยจึงมิได้ทำให้โจทก์เสียหายหรือเดือดร้อนในการที่โจทก์จะใช้ที่ดินของตนหรือทางสาธารณะ ไม่เป็นกรณีตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4630/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำทางสัญจรและการใช้สิทธิในที่ดิน การก่อสร้างอาคารบนที่ดินของตนเองไม่เป็นการรบกวนสิทธิของผู้อื่น
จำเลยปลูกสร้างอาคารใหม่ตามแนวอาคารเดิมซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลย มิใช่ปลูกสร้างลงในซอยสาธารณะ จึงมิได้เป็นการรบกวนขัดขวางแก่การที่โจทก์จะใช้ซอยสาธารณะ การใช้ทรัพย์ของจำเลยจึงมิได้ทำให้โจทก์เสียหายหรือเดือดร้อนในการที่โจทก์จะใช้ที่ดินของตนหรือทางสาธารณะ ไม่เป็นกรณีตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์เชื่อถือได้ จำเลยมีความผิดฐานบังคับใช้แรงงานและหลอกลวง
การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกคำพยานโจทก์แต่ละปากขึ้นวินิจฉัยว่าพยานโจทก์เบิกความว่าอย่างไร แล้วฟังว่าจำเลยบังคับให้โจทก์ทำงานกักขังให้ปราศจากเสรีภาพและหลอกลวงบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปให้ประกอบการงานให้แก่ตนโดยจะไม่ใช้ค่าแรงงานให้โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง เป็นการวินิจฉัยคดีโดยมีเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว และการที่ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์พยานโจทก์แล้วเชื่อตามพยานโจทก์ว่าจำเลยกระทำผิดและลงโทษจำเลยนั้น เท่ากับเป็นการวินิจฉัยแล้วว่าพยานหลักฐานจำเลยไม่อาจรับฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้หรือไม่อย่างไร คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมีข้อสำคัญที่เกี่ยวกับเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(6).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความผิดฐานกักขังและฉ้อโกง: เหตุผลเพียงพอและพยานหลักฐานโจทก์เชื่อได้
การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกคำพยานโจทก์แต่ละปากขึ้นวินิจฉัยว่าพยานโจทก์เบิกความว่าอย่างไร แล้วฟังว่าจำเลยบังคับให้โจทก์ทำงานกักขังให้ปราศจากเสรีภาพและหลอกลวงบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปให้ประกอบการงานให้แก่ตนโดยจะไม่ใช้ค่าแรงงานให้โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง เป็นการวินิจฉัยคดีโดยมีเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว และการที่ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์พยานโจทก์แล้วเชื่อตามพยานโจทก์ว่าจำเลยกระทำผิดและลงโทษจำเลยนั้น เท่ากับเป็นการวินิจฉัยแล้วว่าพยานหลักฐานจำเลยไม่อาจรับฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้หรือไม่อย่างไร คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมีข้อสำคัญที่เกี่ยวกับเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ดอกเบี้ยค่าจ้าง: ประเด็นใหม่ต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างที่จำเลยไม่ชำระและเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าของค่าจ้างที่ค้างชำระทุกเจ็ดวันนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายจากจำเลย มิได้ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีของค่าจ้างค้างชำระ ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้าง จเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีของค่าจ้างค้างจ่ายนับแต่วันค้างชำระเป็นต้นไป เว้นแต่จะนำค่าจ้างไปมอบแก่อธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเพื่อให้ลูกจ้างรับไป จึงจะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ดอกเบี้ยค่าจ้างที่ค้างชำระ ต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นก่อน หากมิได้ยกขึ้นและไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างที่จำเลยไม่ชำระและเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าของค่าจ้างที่ค้างชำระทุกเจ็ดวันนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายจากจำเลย มิได้ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีของค่าจ้างค้างชำระ ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้าง จำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ของค่าจ้างค้างจ่ายนับแต่วันค้างชำระเป็นต้นไป เว้นแต่จะนำค่าจ้างไปมอบแก่อธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเพื่อให้ลูกจ้างรับไป จึงจะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: เหตุผลเลิกจ้างสำคัญกว่ากระบวนการสอบสวนที่ไม่ถูกต้อง
แม้การสอบสวนจะไม่ชอบด้วยกำหนดเวลา ตัวคณะกรรมการหรือกรณีอื่นใดก็ตาม จะถือเป็นเหตุว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างที่แท้จริงว่าได้มีได้เกิดขึ้นหรือไม่ และการกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและมีเหตุผลเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานร่วมกระทำผิด, อำนาจสั่งคดีพนักงานสอบสวน, และสิทธิคู่ความในการดำเนินคดี
แม้พยานโจทก์จะมีพฤติการณ์เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับจำเลย เมื่อพนักงานสอบสวนได้กันไว้เป็นพยาน คำเบิกความของพยานดังกล่าวอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ แต่มีน้ำหนักน้อย มิใช่จะรับฟังไม่ได้เลยเสียทีเดียว ถ้าโจทก์มีพยานหลักฐานอื่นประกอบก็รับฟังลงโทษจำเลยได้ ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะเป็นคู่ความ จึงมีสิทธิที่จะเรียงคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ตลอดทั้งมีสิทธิเรียงคำฟ้องอุทธรณ์และคำแก้ อุทธรณ์ได้ เหตุความผิดฐานฆ่าผู้ตายเกิดที่อำเภอ ก. ถือว่าความผิดฐานใช้จ้าง วาน ให้ฆ่าผู้ตาย เกิดในท้องที่ดังกล่าวท้องที่หนึ่งด้วยและคดีได้เริ่มทำการสอบสวนตั้งแต่จับจำเลยยังไม่ได้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ก. พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจย่อมเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาเป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของข้อบังคับดังกล่าวหาทำให้อำนาจสั่งคดีของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ก. เสียไปไม่ การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานร่วมกระทำผิด คำให้การชอบด้วยกฎหมาย และอำนาจสอบสวนคดีอาญา
แม้พยานโจทก์ทั้งสองปากจะมีพฤติการณ์เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับจำเลย แต่เมื่อพนักงานสอบสวนได้กันไว้เป็นพยานค่าเบิกความของพยานดังกล่าวอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ แต่มีน้ำหนักน้อย มิใช่จะรับฟังไม่ได้เลยเสียทีเดียว และถ้าหากโจทก์มีพยานหลักฐานอื่นประกอบแล้ว ก็รับฟังลงโทษจำเลยได้
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะเป็นคู่ความ จึงมีสิทธิที่จะเรียงคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ตลอดทั้งมีสิทธิเรียงคำฟ้องอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ได้
เหตุความผิดฐานฆ่าผู้ตายเกิดที่อำเภอ ก. ถือว่าความผิดฐานใช้จ้าง วาน ให้ฆ่าผู้ตาย เกิดในท้องที่ดังกล่าวท้องที่หนึ่งด้วยและคดีได้เริ่มทำการสอบสวนตั้งแต่จับจำเลยยังไม่ได้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ก. ซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจย่อมเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 19 ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินคดีอาญา เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของข้อบังคับดังกล่าวหาทำให้อำนาจสั่งคดีของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ก. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเสียไปไม่ การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะเป็นคู่ความ จึงมีสิทธิที่จะเรียงคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ตลอดทั้งมีสิทธิเรียงคำฟ้องอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ได้
เหตุความผิดฐานฆ่าผู้ตายเกิดที่อำเภอ ก. ถือว่าความผิดฐานใช้จ้าง วาน ให้ฆ่าผู้ตาย เกิดในท้องที่ดังกล่าวท้องที่หนึ่งด้วยและคดีได้เริ่มทำการสอบสวนตั้งแต่จับจำเลยยังไม่ได้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ก. ซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจย่อมเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 19 ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินคดีอาญา เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของข้อบังคับดังกล่าวหาทำให้อำนาจสั่งคดีของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ก. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเสียไปไม่ การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่ถูกยกเลิก ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยพ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 การที่ได้มี พ.ร.ฎ.ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2528ใช้บังคับ ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยเลิกกิจการเพื่อสะสาง กิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลไปเท่านั้น มาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวให้พึงถือว่าจำเลยยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นต้องชำระบัญชี หามีผลทำให้ลูกจ้างของลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างไปในทันทีไม่ จำเลยจึงต้องบอกเลิกจ้างลูกจ้างและอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 582.