พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4283/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตข้อตกลงสภาพการจ้าง: การทำร้ายร่างกายพนักงานนอกบริษัทถือเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงได้
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายต่อพนักงานของบริษัท ฯ บริษัทจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย โดยมิได้ระบุว่าต้องเป็นการกระทำเฉพาะภายในบริษัท ฯ ดังนั้น แม้โจทก์จะตบหน้า ส. ซึ่งเป็นพนักงานด้วยกันภายนอกบริษัท ฯ ก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวแล้ว การที่บริษัทจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4283/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตข้อตกลงสภาพการจ้าง: การเลิกจ้างเนื่องจากทำร้ายร่างกายพนักงาน แม้นอกสถานที่ทำงาน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายต่อพนักงานของบริษัท ฯ บริษัทจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย โดยมิได้ระบุว่าต้องเป็นการกระทำเฉพาะภายในบริษัทฯดังนั้น แม้โจทก์จะตบหน้า ส. ซึ่งเป็นพนักงานด้วยกันภายนอกบริษัท ฯ ก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวแล้ว การที่บริษัทจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองของผู้รับช่วงสิทธิจากการชำระหนี้ค้ำประกัน: การเฉลี่ยหนี้และการบังคับจำนอง
ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ส่วนหนึ่งตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์โดยมีการจำนองที่ดินเป็นประกันแม้ว่าผู้ร้องจะชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไปแล้วและได้รับช่วงสิทธิจำนองจากโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าว แต่ยังมีหนี้ส่วนอื่นที่จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ โจทก์ย่อมจะขอให้บังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ได้เพราะจำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์ซึ่งจำนองหมดทุกสิ่ง แม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าเฉลี่ยหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ผู้จำนองในฐานะเจ้าหนี้จำนองในลำดับชั้นเดียวกันกับโจทก์ผู้รับจำนอง ผู้ร้องมีสิทธิเข้าเฉลี่ยหนี้ได้ภายหลังจากโจทก์ผู้รับจำนองได้รับชำระหนี้จำนองครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนอง: การรับช่วงสิทธิจำนองเฉพาะส่วน และลำดับสิทธิเมื่อมีหนี้คงเหลือ
ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ส่วนหนึ่งตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์โดยมีการจำนองที่ดินเป็นประกันแม้ว่าผู้ร้องจะชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไปแล้วและได้รับช่วงสิทธิจำนองจากโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าว แต่ยังมีหนี้ส่วนอื่นที่จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ โจทก์ย่อมจะขอให้บังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ได้เพราะจำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์ซึ่งจำนองหมดทุกสิ่ง แม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าเฉลี่ยหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ผู้จำนองในฐานะเจ้าหนี้จำนองในลำดับชั้นเดียวกันกับโจทก์ผู้รับจำนอง ผู้ร้องมีสิทธิเข้าเฉลี่ยหนี้ได้ภายหลังจากโจทก์ผู้รับจำนองได้รับชำระหนี้จำนองครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4213-4214/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงพนักงานส่งเสริมการขายถือเป็นค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและดอกเบี้ย
โจทก์เป็นพนักงานส่งเสริมการขาย ต้องออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดทุกเดือน เดือนละประมาณ 19 วันในการออกปฏิบัติหน้าที่ในต่างจังหวัดจำเลยจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงอันได้แก่ค่าโรงแรมและค่าอาหารให้แก่โจทก์ วันละ 240 บาท ซึ่งเป็นจำนวนแน่นอนและเป็นการเหมาจ่าย ดังนี้ เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2530 ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่ค้างชำระแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2525 ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 5 ปี จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แล้ว
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2530 ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่ค้างชำระแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2525 ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 5 ปี จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท: สิทธิของผู้ก่อสร้าง vs. สิทธิของลูกจ้างที่ได้รับสวัสดิการ
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างอยู่อาศัยเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องพิพาทศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน ในระหว่างการปิดคำบังคับ ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทโดยเป็นผู้ก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างในที่ดินริมคูสาธารณะ จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านพิพาทซึ่งเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทกับโจทก์โดยตรง เมื่อผู้ร้องกับโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้างกันจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 อันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานเมื่อข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์บ้านไม่ได้เป็นคดีแรงงาน
โจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องขับไล่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างออกจากห้องพักคนงาน ซึ่งโจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยอันเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาทในชั้นบังคับคดีผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทโดยเป็นผู้ก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างในที่ดินริมคูสาธารณะจึงมีสิทธิในบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ เมื่อผู้ร้องกับโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้างกัน กรณีของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานอันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องในคดีแรงงานของผู้ที่อ้างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับคดี
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างอยู่อาศัยเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องพิพาทศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน ในระหว่างการปิดคำบังคับ ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทโดยเป็นผู้ก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างในที่ดินริมคูสาธารณะ จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านพิพาทซึ่งเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทกับโจทก์โดยตรง เมื่อผู้ร้องกับโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้างกันจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 อันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างรัฐวิสาหกิจภายใต้มติคณะรัฐมนตรี: ผลบังคับเมื่อมติออกหลังข้อตกลง
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินที่แตกต่างไปจากทางราชการอยู่ก่อนแล้วก็ให้เป็นไปตามเดิม แต่ถ้าจะกำหนดให้มีการจ่ายเงินสวัสดิการหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์นอกเหนือไปจากที่มีอยู่ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีนั้น ดังนี้ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า จำเลยจะจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรเพิ่มให้แก่พนักงาน เมื่อพนักงานช่วยกันปฏิบัติหน้าที่จนมีผลให้ลดการรั่วไหลของน้ำเพิ่มขึ้นนับจากวันทำข้อตกลงกันและข้อตกลงนั้นมีผลใช้บังคับก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติดังกล่าวแล้วผลการดำเนินงานจะเป็นไปเช่นข้อตกลงก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติข้างต้น จำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินหรือปฏิบัติไปตามข้อตกลงเลยและเมื่อกระทรวงการคลังไม่อนุญาตให้จ่ายเงินตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวตามที่จำเลยได้ขอไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเช่นว่านั้นจึงไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างที่ขัดแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีเรื่องสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ: ข้อตกลงไม่มีผลบังคับ
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินที่แตกต่างไปจากทางราชการอยู่ก่อนแล้วก็ให้เป็นไปตามเดิม แต่ถ้าจะกำหนดให้มีการจ่ายเงินสวัสดิการหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์นอกเหนือไปจากที่มีอยู่ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีนั้น ดังนี้ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า จำเลยจะจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรเพิ่มให้แก่พนักงาน เมื่อพนักงานช่วยกันปฏิบัติหน้าที่จนมีผลให้ลดการรั่วไหลของน้ำเพิ่มขึ้นนับจากวันทำข้อตกลงกันและข้อตกลงนั้นมีผลใช้บังคับก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติดังกล่าว แล้วผลการดำเนินงานจะเป็นไปเช่นข้อตกลงก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติข้างต้น จำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินหรือปฏิบัติไปตามข้อตกลงเลยและเมื่อกระทรวงการคลังไม่อนุญาตให้จ่ายเงินตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวตามที่จำเลยได้ขอไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเช่นว่านั้นจึงไม่มีผลบังคับ