พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติผิดร้ายแรง ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี แม้มีข้อกำหนดในระเบียบบริษัท
ระเบียบข้อบังคับสำหรับพนักงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลย กำหนดว่าลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับและถูกตัดสินลงโทษหรือถูกจำคุกในความผิดอาญา ถือว่าลูกจ้างผู้นั้นประพฤติผิดที่ร้ายแรง แต่จะเป็นกรณีที่ร้ายแรงอันจะเป็นเหตุให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47 หรือไม่และต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 หรือไม่ ต้องพิจารณาจากพฤติการณ์และการกระทำของลูกจ้างเป็นราย ๆ ไปหาใช่เพียงแต่พิจารณาจากข้อกำหนดในระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่
โจทก์วิวาททำร้ายร่างกายเพื่อนพนักงานโดยไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย เหตุทะเลาะวิวาทเกิดนอกบริเวณบริษัทจำเลยและจำเลยไม่ได้รับความเสียหาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวจึงยังไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรงอันจำเลยจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
โจทก์วิวาททำร้ายร่างกายเพื่อนพนักงานโดยไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย เหตุทะเลาะวิวาทเกิดนอกบริเวณบริษัทจำเลยและจำเลยไม่ได้รับความเสียหาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวจึงยังไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรงอันจำเลยจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ชกต่อย ธ.ซึ่งเป็นพนักงานด้วยกันเพราะไม่พอใจธ.เป็นเหตุให้ ธ. ได้รับอันตรายแก่กาย เหตุเกิดในบริเวณที่ทำการของจำเลยระหว่างที่ ธ. ปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้ เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นความผิดวินัยร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยแล้ว เนื่องจากจำเลยดำเนินธุรกิจด้านโรงแรมให้บริการแก่ลูกค้า การทะเลาะวิวาทหรือชกต่อยกันของพนักงานในบริเวณโรงแรมขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เช่นนี้ ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของจำเลยเป็นอย่างมากจำเลยจึงมีอำนาจปลดโจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยได้ทั้งการกระทำของโจทก์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 อีกด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย ค่าชดเชยตลอดทั้งสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวในคดีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย: ภยันตรายยังไม่หมดไป การใช้กำลังป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
ผู้ตายลากจำเลยเข้าไปในป่าข้างทางเพื่อจะข่มขืนและขู่ว่าจะฆ่าจำเลยจึงใช้มีดแทงผู้ตายที 1 แล้วทั้งจำเลยและผู้ตายต่างวิ่งออกมาจากที่เกิดเหตุห่างประมาณ 100 เมตร แล้วจึงเกิดปลุกปล้ำกัน โดยผู้ตายพยายามแย่งมีดจากจำเลยเพื่อทำร้ายจำเลยจำเลยจึงแทงผู้ตายอีกหลายที เช่นนี้ถือว่าภยันตรายยังไม่หมดไปการที่จำเลยซึ่งเป็นหญิงและอยู่ในภาวะเช่นนั้นใช้มีดแทงผู้ตายจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1763/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: การประเมินความรับผิดจากสัญญาจ้างงานหรือละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานตามหน้าที่เป็นเหตุให้รถของโจทก์ได้รับความเสียหายคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่บกพร่องต่อหน้าที่ อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถ ขอให้บังคับจำเลยตามสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(1)มิใช่คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จึงนำอายุความหนึ่งปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 448 มาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ คำฟ้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1763/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: การประเมินความรับผิดจากสัญญาจ้างงาน vs. มูลละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานตามหน้าที่ เป็นเหตุให้รถของโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นคำฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่ อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถ ขอให้บังคับจำเลยตามสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 8(1) มิใช่คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจึงนำอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องร้องค่าชดเชยก่อนเกิดข้อพิพาท: กรณีเกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 11 บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเช่น พนักงานยาสูบที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ 2530 พ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ อันหมายถึงสิ้นเดือนกันยายน 2530 ซึ่งจำเลยจะต้องดำเนินการให้พนักงานยาสูบผู้นั้นออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2530 เป็นต้นไป และทำให้พนักงานยาสูบดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนับแต่วันเลิกจ้าง หากจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ก็ต้องถือว่าพนักงานยาสูบผู้นั้นถูกโต้แย้งสิทธินับแต่วันดังกล่าว แต่ขณะที่สหภาพแรงงานโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่มีพนักงานยาสูบซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์คนใดถูกโต้แย้งสิทธิในกรณีเช่นว่านี้ ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าตามคำขอของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ: สิทธิฟ้องร้องต้องเกิดเมื่อมีการโต้แย้งสิทธิ
เมื่อพนักงานยาสูบซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอายุครบ 60ปี จำเลยจะดำเนินการเลิกจ้างทำให้พนักงานยาสูบดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง หากจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ก็ต้องถือว่าพนักงานยาสูบผู้นั้นถูกโต้แย้งสิทธินับแต่วันดังกล่าว ขณะที่สหภาพแรงงานฯ โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่มีพนักงานยาสูบซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์คนใดถูกโต้แย้งสิทธิในกรณีเช่นว่านี้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่ง
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถาทั้งหมด ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์ทั้งสองนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน โจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งโดยชอบแล้วแต่ไม่ไปนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่กำหนดเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ศาลอุทธรณ์ย่อมมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสียได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่ง ถือเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2)
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะ บางส่วนเป็นกรณีที่ต้องอยู่ในบทบังคับของการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. เพื่อให้อีกฝ่ายได้ทราบถึงข้ออุทธรณ์ซึ่งหากมีข้อคัดค้านอย่างใดก็จะได้แก้ อุทธรณ์เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่ง และโจทก์ได้ทราบคำสั่งโดยชอบแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามกรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่ง
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถาทั้งหมด ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์ทั้งสองนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน โจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งโดยชอบแล้วแต่ไม่ไปนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่กำหนดเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ศาลอุทธรณ์ย่อมมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสียได้.