คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำนง นิยมวิภาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอาหาร/ค่าครองชีพไม่ถือเป็นค่าจ้างฐานคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
จำเลยจ่ายค่าอาหารให้แก่โจทก์หรือลูกจ้างอื่นซึ่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากทางสำนักงานใหญ่ไม่ได้จัดอาหารเลี้ยงดังเช่นลูกจ้างที่โรงงานสีคิ้ว การจ่ายค่าอาหารให้จึงเป็นการให้ความสงเคราะห์แก่ลูกจ้างของจำเลย อันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกว่า เป็นค่าอาหารหรือค่าครองชีพและจะจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือนหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินค่าอาหารมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอาหาร/ค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้าง: การคำนวณสินจ้างทดแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
จำเลยจ่ายค่าอาหารให้แก่โจทก์หรือลูกจ้างอื่นซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร ก็เพราะทางสำนักงานใหญ่ไม่ได้จัดอาหารเลี้ยงดัง เช่นลูกจ้างที่โรงงานอำเภอสีคิ้ว การจ่ายค่าอาหารให้จึงเป็นการให้ความสงเคราะห์แก่ลูกจ้างของจำเลย อันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง เงินจำนวนดังกล่าวมิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้นไม่ว่าจะเรียกเงินดังกล่าวว่าเป็นค่าอาหารหรือค่าครองชีพ และจะจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือนหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอาหาร/ค่าครองชีพไม่ถือเป็นค่าจ้างฐานคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
จำเลยจ่ายค่าอาหารให้แก่โจทก์หรือลูกจ้างอื่นซึ่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากทางสำนักงานใหญ่ไม่ได้จัดอาหารเลี้ยงดังเช่นลูกจ้างที่โรงงานสีคิ้ว การจ่ายค่าอาหารให้จึงเป็นการให้ความสงเคราะห์แก่ลูกจ้างของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกว่า เป็นค่าอาหารหรือค่าครองชีพและจะจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือนหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินค่าอาหารมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ลูกจ้างออกจากงานฐานประพฤติผิดวินัยร้ายแรง แม้ก่อนหน้านี้จะสั่งพักงานฐานเกษียณอายุ
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนพนักงานรถไฟซึ่งปฏิบัติงานในเขตสถานีรถไฟซึ่งโจทก์ประจำอยู่ด้วยทั้งหมดโดยมิได้ ระบุตัวผู้ถูกกล่าวหา ต่อมาจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุ (อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์) ตามระเบียบของจำเลยหลังจากนั้นคณะกรรมการรายงานผลการสอบสวนว่าโจทก์กระทำผิดโดยเรียกเก็บเงินค่ากรรมกรขนของขึ้นตู้สินค้าเกินกว่าที่ทางราชการกำหนด ดังนี้ จำเลยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุเป็นให้ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการพิจารณาถึงที่สุดได้และต่อมาเมื่อผู้ว่าการของจำเลยทราบผลการสอบสวนแล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบของจำเลยก็ย่อมมีอำนาจที่จะออกคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ลูกจ้างออกจากงานฐานประพฤติผิดวินัยร้ายแรงหลังเกษียณอายุ – อำนาจจำเลยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนพนักงานรถไฟซึ่งปฏิบัติงานในเขตสถานีรถไฟซึ่งโจทก์ประจำอยู่ด้วยทั้งหมดโดยมิได้ระบุตัวผู้ถูกกล่าวหา ต่อมาจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุ(อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์) ตามระเบียบของจำเลยหลังจากนั้นคณะกรรมการรายงานผลการสอบสวนว่าโจทก์กระทำผิดโดยเรียกเก็บเงินค่ากรรมกรขนของขึ้นตู้สินค้าเกินกว่าที่ทางราชการกำหนด ดังนี้จำเลยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุเป็นให้ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการพิจารณาถึงที่สุดได้และต่อมาเมื่อผู้ว่าการของจำเลยทราบผลการสอบสวนแล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบของจำเลยก็ย่อมมีอำนาจที่จะออกคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: คดีเงินบำเหน็จพนักงานโรงงานสุรา ไม่ใช่ข้อพิพาทจากสัญญาเช่า แต่เป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง
สัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันเป็นข้อผูกพันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่า และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เรื่อง ระเบียบว่าด้วยเวลาทำงานและวันหยุดงาน ค่าจ้าง เงินชดเชย เงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล และค่าทำศพ และบำเหน็จพนักงานและคนงานโรงงานสุรา พ.ศ. 2501 ก็มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าดังกล่าว หากแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าวมิได้มีมูลฐานมาจากสัญญาเช่า แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ข้อพิพาทเงินบำเหน็จจากข้อตกลงสภาพการจ้าง ไม่ใช่จากสัญญาเช่า
สัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันเป็นข้อผูกพันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่า และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาทำงานและวันหยุดงานค่าจ้างเงินชดเชยเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพและบำเหน็จพนักงานและคนงานโรงงานสุราพ.ศ.2501 ก็มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าดังกล่าว หากแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าวมิได้มีมูลฐานมาจากสัญญาเช่า แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษเกินคำขอในคดีลักทรัพย์ การพิจารณาความผิดตามมาตรา 335 ของประมวลกฎหมายอาญา
คำฟ้องมิได้บรรยายขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(10) การที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(10)ด้วยเป็นการไม่ถูกต้องเพราะเกินคำขอ.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานฯ มาตรา 54 ภายใน 15 วัน
คดีร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดในคดีแรงงาน เป็นคดีที่สืบเนื่องมาจากคดีแรงงาน เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้เฉพาะแต่ในข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางในคดีขัดทรัพย์ต้องเป็นไปตามมาตรา 54 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ภายใน 15 วัน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ต่อศาลแรงงานกลาง คดีจึงเป็นคดีที่สืบเนื่องมาจากคดีแรงงาน การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามวิธีที่ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54กล่าวไว้โดยเฉพาะ นั่นคือ จะกระทำได้ก็แต่เฉพาะ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้น จะอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หลังจากพ้นกำหนดให้อุทธรณ์นั้นแล้วมิได้.
of 77